สพฉ. แนะนำวิธีการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวขณะออกกำลังกาย ระบุผู้ป่วยกว่าร้อยละ 33 ไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า ย้ำต้องออกกำลังกายอย่างพอดี ไม่หักโหม

จันทร์ ๑๔ กันยายน ๒๐๑๕ ๑๖:๒๐
ช่วงนี้กระแสการออกกำลังกายกำลังมาแรงโดยเฉพาะการปั่นจักรยาน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี แต่การออกกำลังกายต้องออกอย่างเหมาะสม เพราะหากออกกำลังกายหักโหมเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดโดยโรคหัวใจล้มเหลว

นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า โรคหัวใจล้มเหลว คือโรคที่หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 33 จะไม่มีอาการเตือน หรือบ่งบอกว่าจะเป็นโรค หรืออาจมีอาการเล็กน้อย คือ แน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมาทับไว้ที่กลางหน้าอก ซึ่งมักจะมีอาการนานเกิด 1 นาทีขึ้นไป ร่วมกับปวดร้าวขึ้นไปที่กรามหรือไหล่ โดยเฉพาะไหล่ซ้าย นอกจากนี้บางรายอาจไม่มีอาการแน่นหน้าอก แต่จะมีอาการเหนื่อย มีเหงื่อแตก ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม หมดสติ

ทั้งนี้การออกกำลังกายหนักๆ หรือการปั่นจักรยานจะทำให้หัวใจทำงานมากขึ้นและอาจมีการเต้นไม่สม่ำเสนอ ความดันเพิ่ม และเกิดการอุดตันในหลอดเลือด ซึ่งการป้องกันคือเมื่อเริ่มมีอาการ หรือรู้สึกผิดปกติให้พัก และต้องหมั่นไปพบแพทย์ ที่สำคัญต้องลดปัจจัยเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่อว่า ส่วนการช่วยเหลือ หากเพื่อนที่ปั่นจักรยาน หรืออกกำลังกายมาด้วยกัน อยู่ดีๆ ล้มลง เริ่มแรกคือต้องพามาอยู่ในที่ที่ปลอดภัย เลี่ยงทางเดินหรือทางรถ หลังจากนั้นให้โทรสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเรียกคนมาช่วย และเริ่มทำการช่วยฟื้นคืนชีพ หรือ CPR ซึ่งการช่วยเหลือจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากช่วยเหลือร่วมกับการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจชนิดอัตโนมัติ หรือ เออีดี ที่ขณะนี้ สพฉ. ได้รณรงค์ให้มีการติดตั้งในพื้นที่สาธารณะเพิ่มขึ้นแล้ว

โดยการกดนวดหัวใจ ให้จัดผู้ป่วยนอนหงายบนพื้นแข็งโดยผู้ช่วยเหลือนั่งคุกเข่าอยู่ทางด้านข้างของผู้ป่วย วางส้นมือลงไปตามแนวกึ่งกลางของหน้าอกหรือกึ่งกลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้างของผู้ป่วยแล้วนำมืออีกข้างมาประกบ ประสานนิ้วและทำการล๊อคนิ้ว กระดกข้อมือขึ้นลง โดยให้ส้นมือสัมผัสกับหน้าอกเท่านั้น โน้มตัวมาให้แนวแขนตั้งฉากกับหน้าอกของผู้ป่วย แขนตรงและตึง ออกแรงกดลงไปโดยใช้แรงจากหัวไหล่ จุดหมุนอยู่ตรงสะโพก กดให้หน้าอกยุบลงไปอย่างน้อย 5 เซนติเมตร โดยให้ส้นมือสัมผัสกับหน้าอกผู้ป่วยตลอดการนวดหัวใจ ส้นมือไม่หลุดออกจากหน้าอกผู้ป่วยด้วยความเร็ว 100 ครั้งต่อหน้าที และทำไปเรื่อยๆ จนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐ พ.ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หารือแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาเกลือ จังหวัดสมุทรสาคร
๑๐ พ.ค. ทีทีบี มุ่งจุดประกายการ ให้ คืนสู่สังคม ผ่านงาน The Hall of Giving ปี 2567 ชูกิจกรรมอาสา Upcycle สร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
๑๐ พ.ค. มบส.ปลื้มคนแห่ร่วมงานเทศกาลดนตรียิ่งใหญ่ ฝั่งธนเฟส 2คับคั่ง ชี้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ
๑๐ พ.ค. คู่รักห้ามพลาด! สุดยอดมหกรรมเวดดิ้งแฟร์แห่งปี SabuyWedding Festival 2024 ชวนช้อปสบาย ครบ จบ ไม่ฮาร์ดเซลล์ วันที่ 25 - 26 พฤษภาคมนี้ ที่รอยัล พารากอน
๑๐ พ.ค. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 41 นครพนม จัดพิธีมอบชุดเครื่องมือทำมาหากิน ให้กลุ่มแม่บ้านตำบลพะทาย
๑๐ พ.ค. เชื่อมโยงการใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ด้วย WASABI SERIES ดีไซน์จากแนวคิด City / Art / Craft / Earth สู่ Eco Living
๑๐ พ.ค. บ้านหมอละออง กรุ๊ป จัด โครงการยาเพื่อนยาก ครั้งที่ 14 เฉพาะกิจ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยพายุฤดูร้อน จ.นครสวรรค์
๑๐ พ.ค. พาราไดซ์ พาร์ค ผนึก กรุงเทพมหานคร ร่วมสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ในงานตลาดนัดชุมชน BKK
๑๐ พ.ค. บทสรุปงานมหกรรมฟินเทคสุดยิ่งใหญ่ของเอเชีย Money20/20 Asia ครั้งแรกที่กรุงเทพฯ
๑๐ พ.ค. เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนช้อปสินค้าเกษตรแปรรูปคุณภาพดี กับ งาน ไร่ข้าวโพด มหาสนุก ตั้งแต่ 16-22