วธ. จัดเสวนา "เซ็กส์ในสื่อโฆษณา" ระดมหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหาแนวทางแก้ไขปัญหาการนำภาพลักษณ์ทางเพศที่ไม่เหมาะสมมาใช้ในสื่อโฆษณา

อังคาร ๒๒ กันยายน ๒๐๑๕ ๑๖:๐๕
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2558 ที่โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพฯ ศ.ดร อภินันท์ โปษยานนท์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวในการเปิดเสวนา "เซ็กส์ในสื่อโฆษณา" ว่า ปัจจุบันสื่อโฆษณาและกิจกรรมส่งเสริมการตลาดจำนวนไม่น้อยได้นำเอาภาพลักษณ์ทางเพศมาเป็นแกนหลักในการโน้มน้าวผู้บริโภคจนไม่อาจแน่ใจได้ว่าการที่ผู้บริโภคเลือกใช้สินค้านั้นเป็นความต้องการในการใช้ประโยชน์ที่แท้จริงของสินค้าหรือเพราะคาดหวังในแรงดึงดูดทางเพศ ขณะเดียวกันยังได้มีการร้องเรียนจากประชาชนจำนวนมากผ่าน 1765 สายด่วนวัฒนธรรม เกี่ยวกับปัญหาผู้ประกอบการดำเนินการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการในลักษณะดังกล่าวจำนวนมากโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมที่ตามมา กระทรวงวัฒนธรรม จึงได้ดำเนินการจัดการเสวนา "เซ็กส์ในสื่อโฆษณา" ขึ้น เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการนำเอาภาพลักษณ์ทางเพศที่ไม่เหมาะสมมาใช้ในสื่อโฆษณา โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแสวงหาทางออกในการกำหนดมาตรการหรือแนวทางในการประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการตลาดอย่างจริงจัง

"ประเด็นเซ็กส์ในสื่อโฆษณาไม่ได้เกิดขึ้นมาใหม่ เนื่องจากมีการผลิตสื่อโดยใช้ภาพลักษณ์ทางเพศหรือสรีระของผู้หญิงมานำเสนออย่างต่อเนื่องจนทำให้สังคมเกิดความเคยชิน เพราะปัจจุบันสื่อต่างๆก้าวกระโดดรวดเร็วมาก โดยเฉพาะโทรทัศน์ระบบเคเบิ้ล ดิจิตอล รวมถึงระบบผ่านมือถือ ซึ่งมีผลกระทบต่อเยาวชนและประชาชนในวงกว้าง ดังนั้น การมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมเสวนาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และที่สำคัญการตีความในด้านเนื้อหาต่างๆ โดยตระหนักถึงคุณค่า คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรมนั้นจะทำให้สังคมเกิดภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างมาก" ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าว

นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง ประธานคณะกรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การสื่อความหมายของคนรับสารมีความเข้าใจต่างกันขึ้นอยู่กับบริบท ประสบการณ์ และวัย ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจะทำให้การตีความหมายแต่งต่างกัน ยกตัวอย่าง เด็กคนนึงดูแล้วน่าเกลียด เด็กคนนึง อยากดูต่อ เด็กคนนึงดูต่อยังเกิดความรู้สึก เป็นต้น ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับการตีความหมายของแต่ละบุคคล ทั้งนี้สื่อโฆษณาในปัจจุบันนั้นมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังอยู่แล้ว ซึ่งถ้าเป็นสื่อวิทยุและโทรทัศน์จะมีสำนักงานคณะกรรมกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติกำกับดูแล และมีสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นตัวกลาง แต่ปัจจุบันสื่อที่น่าเป็นห่วงคือสื่อออนไลน์เนื่องจากภาพที่ปรากฎไม่ใช่แค่ภาพโป๊แบบมีศิลปะแต่เป็นภาพโป๊ลักษณะแบบอนาจารซึ่งเป็นอันตรายสำหรับเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตามกระทรวงวัฒนธรรมควรเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหันมาแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน