จีอี เฮลธ์แคร์ รุกตลาดไทย เดินหน้าเปิดตัว ระบบอัลตราซาวด์แบบอัตโนมัติที่ช่วย เพิ่มความแม่นยำในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในผู้หญิงที่มีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูง

จันทร์ ๐๕ ตุลาคม ๒๐๑๕ ๑๕:๕๑
ภาวะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูงพบมากในผู้หญิงเอเชียและสามารถเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม 4-6 เท่าการอัลตราซาวด์เต้านมช่วยให้การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมสำหรับผู้หญิงที่อยู่ในภาวะที่มีภาวะความเสี่ยงจากความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูง มีความเที่ยงตรงเพิ่มขึ้น 35%

จีอี เฮลธ์แคร์ เปิดตัวระบบอัลตราซาวด์เต้านมแบบอัตโนมัติที่มีความสามารถในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้อย่างเฉพาะเจาะจงมากขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อเสริมประสิทธิภาพการเอ็กซเรย์เต้านม (การทำแมมโมแกรม) ให้กับผู้หญิงที่มีภาวะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูงและยังไม่เคยได้รับการตรวจวินิจฉัยแบบละเอียดมาก่อน เทคโนโลยีการถ่ายภาพเต้านมของจีอีที่เปิดตัวในครั้งนี้จะช่วยให้แพทย์ตรวจพบมะเร็งเต้านมในผู้หญิงที่มีภาวะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูงได้เพิ่มขึ้น 35.7% เมื่อเทียบกับการทำแมมโมแกรมเพียงอย่างเดียว1เนื่องจากอัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับปรุงและเลือกใช้วิธีการตรวจคัดกรองแบบเฉพาะเจาะจงและเชื่อถือได้ การเอ็กซเรย์เต้านมหรือการทำแมมโมแกรมเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบันในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในผู้หญิง แต่ไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกันกับผู้หญิงทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีภาวะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูง

นายกฤษดา เพียรเพิ่มภัทร ผู้จัดการประจำประเทศไทย จีอี เฮลธ์แคร์กล่าวว่า "มีงานวิจัยจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการทำอัลตราซาวด์เพื่อตรวจคัดกรองผู้หญิงที่มีภาวะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 40% ของผู้หญิงทั้งหมด" และกล่าวเสริมว่า "การทำแมมโมแกรมยังคงเป็นมาตรฐานที่ใช้ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามวิธีนี้จะได้ผลน้อยลงเมื่อใช้ตรวจผู้หญิงที่มีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูง ดังนั้นการเสริมประสิทธิภาพให้กับการทำแมมโมแกรมด้วยระบบอัลตราซาวด์เต้านมแบบอัตโนมัติ จะช่วยให้แพทย์ค้นพบก้อนเนื้อที่ไม่สามารถมองเห็นจากการทำแมมโมแกรมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ได้เร็วยิ่งขึ้น"

ผู้หญิงเอเชียมักมีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูงกว่าผู้หญิงในภูมิภาคอื่น2 ผลการศึกษาสำคัญจากหลายสถาบันระบุว่าภาวะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมที่สูงไม่เพียงแต่เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมขึ้น 4-6 เท่า แต่ยังเป็นสาเหตุให้การตรวจพบมะเร็งด้วยวิธีทำแมมโมแกรมทำได้ยากยิ่งขึ้น

โดยหนึ่งในผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ New England Journal of Medicine เผยว่า ประสิทธิภาพการทำแมมโมแกรมที่ใช้ตรวจคัดกรองผู้หญิงที่มีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูงจะลดลง 36 ถึง 38 เปอร์เซ็นต์ เพราะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อจะบดบังก้อนเนื้อไว้ (Boyd, et al, NEJM 2007:356:227-36M) และยิ่งมีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูงมากขึ้นเท่าไร ความแม่นยำในการตรวจคัดกรองด้วยการทำแมมโมแกรมก็ยิ่งลดลงเท่านั้น

ระบบอัลตราซาวด์แบบอัตโนมัตินี้ช่วยยกระดับการให้การรักษาผู้ป่วยด้วยเทคโนโลยีอัลตราซาวด์สามมิติที่สามารถถ่ายภาพเต้านมผู้หญิงที่มีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูงได้อย่างสะดวกและรวดเร็วภายในเวลาประมาณ 15 นาที และยังมีคุณสมบัติใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับร่างกายของผู้หญิงและให้ภาพที่มีความแม่นยำชัดเจนมากขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๒๒ สารคดี และละครไทยพีบีเอส คว้า 7 รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 15 ประจำปี 2566
๑๑:๐๔ อิ่มหนำไปกับเมนูติ่มซำเลิศรสประจำฤดูกาลที่ห้องอาหารจีน แชงพาเลซ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ
๑๑:๑๕ ผู้บริหารบางจากฯ แสดงทรรศนะการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (ESG) ด้านพลังงานด้วย SAF มุ่งขยายเครือข่ายธุรกิจพันธุ์ดีพร้อม เชิญชวน ทอดไม่ทิ้ง และ ไม่ทอดซ้ำ ทำ
๑๑:๕๓ วว. กระตุ้นการบริโภค เสริมแกร่งธุรกิจ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันระดับสากล เชิญชวนผู้ประกอบการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเชิงพาณิชย์
๑๑:๐๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ชวนช้อปของดีของเด็ดทั่วไทยในงานตลาดส่งสุข SMEs ของดีทั่วไทย พร้อมกิจกรรมนวดแก้โรค นวดหน้า ตรวจสุขภาพ ฟรี!! สายช้อปสายสุขภาพห้ามพลาด 22-26
๑๑:๑๑ CHANGAN ฉลองความสำเร็จ DEEPAL S07 คว้าแชมป์ที่ 1 รถยนต์ไฟฟ้า ที่มียอดจดทะเบียนในเดือนเมษายน 67 สูงสุดเติบโตเพิ่มขึ้นถึง
๑๑:๓๒ TK Park ชวนคุยกันเรื่องสมุทรปราการ แหล่งวิถีชีวิตชาวมอญ เมืองหน้าด่านของกรุงเทพฯ
๑๑:๕๔ PRAPAT ฟอร์มเด่น Q1/67 รายได้-กำไรสุทธิโต
๑๑:๕๒ SPA โตต่อเนื่อง ไตรมาส 1 ปี 67 กำไรสุทธิ 73.97ลบ. โต 47% ลุยขยายสาขาทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองท่องเที่ยว เตรียมยื่นย้ายไป
๑๑:๑๖ ก่อนปลูกผมควรรู้! รวมข้อดี ข้อเสียของการปลูกผมแต่ละวิธี