นิด้าโพล : “ความเชื่อมั่นในกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ”

จันทร์ ๑๒ ตุลาคม ๒๐๑๕ ๐๙:๐๓
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ความเชื่อมั่นในกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 – 9 ตุลาคม 2558 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาค สุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงการรู้จักหรือเคยได้ยินชื่อกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ชุดปัจจุบันทั้ง 21 คน ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.04 ระบุว่า ไม่รู้จักและไม่เคยได้ยินชื่อใครเลย ซึ่งมีสัดส่วนเท่ากันกับผู้ที่ระบุว่า รู้จักหรือเคยได้ยินชื่อประมาณ 1 – 5 คน ร้อยละ 6.55 ระบุว่า รู้จักหรือเคยได้ยินชื่อประมาณ 6 – 10 คน ร้อยละ 2.16 ระบุว่า รู้จักหรือเคย ได้ยินชื่อประมาณ 11 – 15 คน ร้อยละ 1.04 ระบุว่า รู้จักหรือเคยได้ยินชื่อประมาณ 16 – 20 คน ร้อยละ 2.00 ระบุว่า รู้จักหรือเคยได้ยินชื่อ ทุกคน และร้อยละ 0.16 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันว่าจะสามารถร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนได้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 15.51 ระบุว่า มีความเชื่อมั่นมาก ร้อยละ 33.89 ระบุว่า ค่อนข้างมีความเชื่อมั่น ร้อยละ 20.94 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเชื่อมั่น ร้อยละ 11.19 ระบุว่า ไม่มีความเชื่อมั่นเลย และร้อยละ 18.47 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ซึ่งในจำนวนผู้ที่ระบุว่า เชื่อมั่นมาก – ค่อนข้างมีความเชื่อมั่น ให้เหตุผลว่า กรรมการชุดดังกล่าวประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ การทำงานในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น ด้านกฎหมาย ด้านการเมือง มีความเข้าใจในระบบการเมืองไทยเป็นอย่างดี และได้ทราบถึงปัญหาจากการร่างรัฐธรรมนูญในครั้งที่แล้วนำมาปรับปรุงและแก้ไข น่าจะช่วยให้สรุปได้ลงตัวและตรงจุดมากยิ่งขึ้น

ส่วนผู้ที่ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเชื่อมั่น – ไม่เชื่อมั่นเลย ให้เหตุผลว่ากรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้มาจากการคัดเลือกของรัฐบาลและ คสช. ซึ่งไม่มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งเชื่อว่าเนื้อหาของรัฐธรรมนูญบางส่วนจะเป็นการเขียนขึ้นมาเพื่อเอื้อประโยชน์แก่พรรคพวกตนเอง และยังไม่มั่นใจว่าจะมีการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่บางส่วนมองว่าเป็นเกมส์การเมืองเพื่อยืดระยะเวลาอำนาจของรัฐบาล

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.71 มีภูมิลำเนาอยู่ กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.42 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.15 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.57 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.15 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ร้อยละ 54.20 เป็นเพศชาย ร้อยละ 45.64 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.16 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 6.00 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 17.03 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.42 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 38.37 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 12.87 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 2.32 ไม่ระบุอายุ

ตัวอย่างร้อยละ 92.97 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.68 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.80 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และ ร้อยละ 2.56 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 19.82 สถานภาพโสด ร้อยละ 74.50 สถานภาพสมรส ร้อยละ 2.56 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 3.12 ไม่ระบุสถานภาพสมรส ตัวอย่างร้อยละ 28.38 ระบุว่าจบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.70 ระบุว่าจบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.11 ระบุว่าจบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.18 ระบุว่าจบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.60 สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.04 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 11.67 ประกอบอาชีพ ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.15 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 25.34 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.99 ประกอบอาชีพ เกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.15 ประกอบอาชีพ รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 15.35 ประกอบอาชีพ พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.16 ประกอบอาชีพ นักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 3.20 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่าง ร้อยละ 14.63 ระบุว่าไม่มีรายได้ ร้อยละ 25.02 มีรายได้ไม่เกิน 10,000 ร้อยละ 27.34 มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 ร้อยละ 12.07 มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 ร้อยละ 6.24 มีรายได้ต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 7.75 มีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 40,001 ขึ้นไป และร้อยละ 6.95 ไม่ระบุรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง