กรมควบคุมโรค จับมือ สตช. และ สคบ. ร่วมหาแนวทางการดำเนินคดีกรณีการใช้ศิลปิน ดารา และผู้มีชื่อเสียงโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

พฤหัส ๑๕ ตุลาคม ๒๐๑๕ ๑๕:๔๙
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2558 ที่กรมควบคุมโรค นายแพทย์อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมพลตำรวจเอกพงศพัศ พงษ์เจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และนายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร่วมประชุมหารือแนวทางการดำเนินคดีกรณีการใช้ศิลปิน ดารา และผู้มีชื่อเสียงโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551

จากกรณีดังกล่าว ตามมาตรา 32 พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 บัญญัติไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแสดงชื่อ หรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งมีหลักเกณฑ์พิจารณาความผิด 2 กรณี ดังนี้ กรณีที่ 1 "โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์" ซึ่งการโพสต์รูปเพื่อประโยชน์ทางการค้าต่อธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ถือว่าเข้าข่ายมีความผิดตามกฎหมายนี้อยู่แล้ว แม้ว่าจะไม้ได้รับค่าจ้างในการโฆษณาก็ตาม ส่วนกรณี 2 "การแสดงชื่อ หรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรืออ้อม"

ในกรณีนี้ก็อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำอันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม เพราะตนเองเป็นบุคคลสาธารณะที่เด็ก เยาวชน และบุคคลทั้งไปนิยมชมชอบและพร้อมที่จะปฏิบัติตาม จึงย่อมเป็นความผิดเช่นกัน

นายแพทย์อัษฎางค์ กล่าวอีกว่า ในการปรึกษาหารือครั้งนี้ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมให้ความร่วมมือกับกรมควบคุมโรคในการดำเนินการต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ และในวันนี้ กรมควบคุมโรค ได้ยื่นหนังสือขอความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อตรวจสอบข้อมูลประกอบเชิงลึกของศิลปิน ดารา และผู้มีชื่อเสียงตามเรื่องร้องเรียนดังกล่าว ที่มีความเชื่อมโยงกับธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงความเชื่อมโยงของผลประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งขอสนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร่วมเป็นคณะทำงานในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงตามเรื่องร้องเรียนและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551

ด้านนายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กล่าวเสริมว่า สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการ มีดังนี้ 1.รวบรวมหลักฐานจากสื่อออนไลน์ที่ลงภาพในลักษณะที่เข้าข่ายความผิด ทั้งพยานหลักฐาน พยานบุคคล รวมถึงการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ปากคำ ทั้งผู้ร้องเรียน ผู้ถูกร้องเรียน และศิลปิน ดารา 2.นำเรื่องเข้าคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายจากหลายภาคส่วน เพื่อพิจารณาดำเนินการและให้ความคิดเห็นในเรื่องนี้ 3.นำสำนวนร้องทุกข์กล่าวโทษเข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีต่อ หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โทร 02 590 3342 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรคโทร 1422

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๔๙ ไอแบงก์ ลงนาม MOU สินเชื่อสวัสดิการแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำ สำนักงานศาลยุติธรรม กว่า 16,000 คน ทั่วประเทศ
๑๐:๕๔ รวม 4 วิธีที่ช่วยปรับให้รถที่ขับอยู่นุ่มนวลขึ้นเหมือนได้คันใหม่
๑๐:๔๘ ซีพีแรม เปิดตัว FTEC (Food Technology Exchange Center) ศูนย์ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีอาหาร
๑๐:๑๔ iQIYI (อ้ายฉีอี้) เดินหน้ารุกตลาดยกระดับวงการ จัดงาน iQIYI 2025 World Conference เปิดตัวพรีเมียมไลน์อัพกว่า 400
๑๐:๑๓ บล.เกียรตินาคินภัทร แนะ 5 หุ้นนอกคุณภาพ นำโดย Netflix และ Mastercard คว้าโอกาสท่ามกลางตลาดผันผวน
๑๐:๓๖ อบอุ่นมาก! จิม ทอมป์สัน x ซี-นุนิว เสิร์ฟความฟินขั้นสุดกับ Exclusive Lucky Fan Dinner ค่ำคืนสุดพิเศษที่เหล่า ซนซน
๑๐:๕๓ เวียตเจ็ทเสริมฝูงบิน เดินหน้ารุกตลาดญี่ปุ่น ขยายเส้นทางระหว่างประเทศ หนุนแผนเติบโตปี 2568
๑๐:๕๖ เบทาโกร ได้รับการยกระดับ CAC ในระดับสูงสุด ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล ซื่อสัตย์ และโปร่งใส
๐๙:๓๖ เฮ้าส์ สามย่าน จัดสองเทศกาลภาพยนตร์คุณภาพ กับ MOVIEMOV Italian Film Festival 2025 และ European Union Film Festival
๐๙:๑๑ จากไอดอลสู่หมอผี! ซอฮยอนฟาดหนัก เสิร์ฟความเดือด Holy Night: Demon Hunters คนต่อยผี 8 พ.ค.นี้