ETDA - ICANN ลงนาม MoU เปิดพรมแดนความรู้อินเทอร์เน็ตโลก

พฤหัส ๒๙ ตุลาคม ๒๐๑๕ ๑๐:๐๐
ความร่วมมือนี้มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกัน และแปลเอกสารที่สำคัญของ ICANN ให้เป็นภาษาไทย เพื่อให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบอินเทอร์เน็ตโลก

ICANN (Internet Corporation for Assigned Names and Numbers) (องค์กรความร่วมมือด้านการจัดสรรชื่อและหมายเลขทางอินเทอร์เน็ต) ซึ่งบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานหลักทางอินเทอร์เน็ตของโลก ได้ลงนามบันทึกความตกลง (Memorandum of Understanding: MoU) กับ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแปลเอกสารที่สำคัญของ ICANN ให้เป็นภาษาไทย ซึ่งจัดขึ้นในการประชุม ICANN ครั้งที่ 54 ณ เมืองดับลิน สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2558 ระหว่าง Fadi Chehade CEO และประธานของ ICANN (ICANN President and Chief Executive Officer) และ สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ ETDA

"การลงนาม MoU ครั้งนี้เป็นอีกก้าวหนึ่งของ ICANN ในความพยายามเข้าถึงกระแสโลกาภิวัตน์ (globalization efforts) เมื่อเราทำงานกับชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อที่จะช่วยให้เอาชนะอุปสรรคทางด้านภาษาในพื้นที่ซึ่งไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และให้ความมั่นใจว่าภาษาใด ๆ ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมกับ ICANN และกระบวนการในการพัฒนานโยบายของเรา" Fadi กล่าว

"ความร่วมมือครั้งนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัลภายในปี 2560 โดยจะช่วยลดช่องว่างทางดิจิทัล (digital divide) ในส่วนที่จะเกิดจากอุปสรรคในด้านภาษาให้ลดน้อยลง และช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับคนของเราในการเข้าไปมีส่วนร่วมกับประเด็นระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้นโดยไร้อุปสรรคด้านภาษา ซึ่ง ETDA เชื่อว่าความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในจุดเปลี่ยน (game changer) สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคตสำหรับประเทศไทย" สุรางคณา กล่าว

Kuek Yu-Chuang รองประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ ICANN Asia Pacific (Vice President and Managing Director for ICANN Asia Pacific) เสริมว่า "ETDA เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับ ICANN Asia Pacific อีกทั้งยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญเพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (multi-stakeholder) กับนโยบายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย และจัดเวทีระดับชาติว่าด้วยการอภิบาลอินเทอร์เน็ต (Thailand Internet Governance Forum) รวมทั้งการนำผู้เชี่ยวชาญมาเวิร์กชอปเพื่อเตรียมจัดตั้งคณะกรรมการสร้างป้ายชื่อโดเมน (Thai Label Generation Panel) ซึ่งความสัมพันธ์อันดีนี้จะเข้มแข็งและเหนียวแน่นยิ่งขึ้นจาก MoU นี้"

"คนไทยจะได้มีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในการกำกับดูแลหรืออภิบาลอินเทอร์เน็ต ETDA จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ multi-stakeholder ต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ความร่วมมือระหว่าง ICANN และ ETDA จะช่วยให้คนไทยติดตามความเคลื่อนไหวของโลกซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา" วรรณวิทย์ อาขุบุตร รองผู้อำนวยการ ETDA รวมทั้งเป็นสมาชิกและรองประธาน ICANN Government Advisory Committee กล่าว

Christina Rodriguez ผู้อำนวยการ ICANN Language Services Department กล่าวว่า "ความร่วมมือนี้จะช่วยให้พวกเราเข้าถึงผู้ใช้งานนอกเหนือจากผู้ที่ใช้ภาษาอย่างเป็นทางการของ ICANN ซึ่งมีอยู่ 6 ภาษาตามสหประชาชาติ (6 official UN languages) และภาษาโปรตุเกส โดยเพิ่งจะมีการเซ็น MoU กับทางญี่ปุ่น เมื่อการประชุม ICANN ครั้งที่ 53 ที่บัวโนสไอเรส และตอนนี้ เราได้เป็นพันธมิตรกับประเทศไทยแล้ว เราหวังว่าพันธมิตรที่มากขึ้นจะทำให้งานของเราก้าวไปข้างหน้า"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๓๖ เรนวูด ปาร์ค เดินหน้าพัฒนากีฬากอล์ฟไทย ล่าสุดจับมือ 'คล็อด ฮาร์มอน' ผู้ฝึกสอนนักกอล์ฟชั้นแนวหน้าระดับโลก
๑๑:๑๖ เบตเตอร์ กรุ๊ป ผนึกกำลัง สถาบันยานยนต์ ร่วมพัฒนาการจัดการ ซากยานยนต์ไฟฟ้า มุ่งสู่มาตรฐานระดับสากล
๑๐:๑๐ ผถห. EFORL โหวตผ่านทุกวาระ
๑๐:๑๖ ระเบิดศักยภาพงานพิมพ์ยุคดิจิทัล! แคนนอน จัดทัพพรินเตอร์เกรดอุตสาหกรรม โชว์เทคโนโลยีและโซลูชันสุดไฮเทคใน Drupa
๑๐:๑๐ Ocean Park Hong Kong โลกแห่งความสุขเปี่ยมรอยยิ้มสำหรับทุกคน
๑๐:๓๘ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ เผยโฉมเรือ 'แชงกรี-ลา ฮอไรซัน ครูซ' ใหม่ พร้อมเปิดประสบการณ์ล่องเรือชมแม่น้ำเจ้าพระยาสุดหรู
๑๐:๓๘ โรบินสันไลฟ์สไตล์ ในเครือเซ็นทรัล รีเทล ชวนช้อปสนั่นรับเปิดเทอมกับแคมเปญ ROBINSON LIFESTYLE BACK TO SCHOOL
๑๐:๔๗ มองอย่างเข้าใจ ไสยศาสตร์ในวิถีเมือง ตัวช่วยรับมือโลกป่วนและความเปลี่ยวเหงา
๑๐:๐๐ สัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งปารีส พร้อมบรรยากาศโอลิมปิกเกมส์ กับบัตรเครดิตอิออน รอยัล ออร์คิด พลัส วีซ่า แพลทินัม
๑๐:๕๔ ผถห.SAFEอนุมัติปันผลอีก 0.15 บ./หุ้น รวมทั้งปีจ่าย 0.805 บ.