กสทช.เดินสายทำความเข้าใจปิดสวิตซ์แอนะล็อก

พุธ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๐๑๕ ๑๓:๕๔
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิเสรีภาพ เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการยุติการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบแอนะล็อก และจัดทำข้อเสนอการคุ้มครองผู้บริโภค ณ โรงแรมแทนเจอรีน วิลล์ อำเภอฝาง จ.เชียงใหม่ โดยกล่าวถึงความคืบหน้าการเปลี่ยนผ่านการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินจากระบบแอนะล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญประการหนึ่งของ กสทช. การขยายโครงข่ายสัญญาณภาคพื้นดินในขณะนี้ครอบคลุมร้อยละแปดสิบของครัวเรือนตามแผนการเปลี่ยนผ่านฯ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถรับชมทีวีดิจิตอลที่ได้รับอนุญาตแล้วทั้ง 28 ช่องรายการ แต่อย่างไรก็ตามประชาชนอีกส่วนหนึ่งยังไม่สามารถรับชมได้เนื่องจากสัญญาณทีวีดิจิตอลยังไม่ครอบคลุมถึง รวมทั้งยังมีปัญหาของจุดอับสัญญาณและการรับชมของประชาชนในบางพื้นที่

"การยุติการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบแอนะล็อก หรือ ทีวีแอนะล็อก ทั้ง 6 ช่องนั้น จะเริ่มต้นพื้นที่แรกในสามจังหวัดในปลายปี 2558 ประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ ที่อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอไชยปราการ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่เกาะสมุย และเกาะพงัน โดยจะเปลี่ยนการรับส่งสัญญาณให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวสามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้ทันทีในวันที่ 1 ธันวาคม 2558 ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นขั้นตอนในการเตรียมความพร้อมกับประชาชนในพื้นที่ก่อนที่จะปิดสัญญาณทีวีแอนะล็อก (Analog Switch Off : ASO) เพื่อตรวจสอบปัญหาและเตรียมแนวทางแก้ไขโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน" สุภิญญา กล่าว

ทั้งนี้ยังกล่าวว่า การยุติสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินของทีวีแอนะล็อกในครั้งนี้จะกระทบต่อการรับชมของประชาชนในอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอไชยปราการ น้อยมาก เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่รับชมรายการของทีวีแอนะล็อกผ่านช่องทางของทีวีดาวเทียมอยู่แล้ว และจะยังสามารถรับชมทีวีแอนะล็อกผ่านทีวีดาวเทียมได้เช่นเดิม ดังนั้นการส่งสัญญาณทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินจึงเป็นทางเลือกที่จะทำให้ประชาชนรับชม "ฟรีทีวี" ได้เพิ่มเติม

ด้าน รศ.ดร.วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า ข้อมูลเบื้องต้นจากการเก็บตัวอย่างแบบสอบถามกว่า 4,445 ชุด ในสามอำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายร้อยละ 54 และเพศหญิงร้อยละ 46 ซึ่งมีการศึกษาในระดับประถมศึกษาร้อยละ 66.6 และมีอาชีพเกษตรกรรมสูงถึงร้อยละ 41.7 เดิมรับชมทีวีดาวเทียมร้อยละ 78.7 หากสัญญาณทีวีดิจิตอลมาถึงจะเปลี่ยนมารับชมฯ ร้อยละ 93.3 แต่พบประเด็นที่ยังเป็นอุปสรรคสำคัญ เช่น ประชาชนยังไม่รู้จักทีวีดิจิตอลหรือยังขาดความเข้าใจร้อยละ 66.2 และไม่รู้ว่าจะมีการยุติการรับส่งสัญญาณทีวีแอนะล็อกในพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ร้อยละ 76 นอกจากนี้ ยังมีความคาดหวังที่จะได้รับกล่องรับสัญญาณดิจิตอลฟรี ให้สัญญาณมีความชัดเจนและครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น และให้ กสทช. ควบคุมโฆษณาให้มีน้อยลง โดยส่วนตัวมีความเห็นว่าปัจจัยที่ทำให้ประชาชนไม่เข้าใจเกี่ยวกับทีวีดิจิตอลเนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณทีวีดิจิตอลในพื้นที่ ทำให้ไม่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับทีวีดิจิตอล เพราะการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลง บุคคลจำเป็นจะต้องมีประสบการณ์ตรงจึงจะสร้างความเข้าใจได้สูงกว่า แต่อย่างไรก็ตาม กสทช.ยังจำเป็นที่จะต้องสื่อสารและให้ข้อมูลกับประชาชนในพื้นที่โดยตรงอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการกับประชาชนและผู้บริโภคในพื้นที่อำเภอฝางครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงาน กสทช. กับคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการดำเนินการสร้างความเข้าใจและศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับการยุติโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกต่อผู้บริโภค (จังหวัดเชียงใหม่)...

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น