มหาดไทยร่วมกับสสส. ปั้น 76 จังหวัดเป็นเมืองปั่นได้ เมืองปั่นดี

พฤหัส ๑๙ พฤศจิกายน ๒๐๑๕ ๑๓:๔๓
กระทรวงมหาดไทยร่วมกับสสส. จับมือ เปิดโครงการ "เมืองปั่นได้ เมืองปั่นดี" ชูยุทธศาสตร์ 3 ส. สวน เส้นทาง สนาม พัฒนา 76 จังหวัดเป็นเมืองจักรยาน ปลุกกระแสคนไทยใช้จักรยานเป็นวิถีชีวิตประจำวัน ห่างไกลโรคNCDs

อาจารย์ ณรงค์ เทียมเมฆ ผู้ทรงคุณวุฒิแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยร่วมกับสสส.จัดทำโครงการความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการใช้จักรยานในวิถีชีวิตประจำวัน ภายใต้โครงการเมืองปั่นได้ เมืองปั่นดี ในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ

โครงการเมืองปั่นได้ เมืองปั่นดี คือการร่วมพัฒนายุทธศาสตร์ 3 ส.กับทุกจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ 1 สวนสาธารณะ 1 เส้นทางสัญจร และ 1 สนามกีฬา หรือ สนามบิน ในพื้นที่ของแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ โดย สวนสาธารณะ คือการสร้างทางจักรยานในสวน ซึ่งทุกจังหวัดมีสวนสาธารณะขนาดต่างๆ กระจายอยู่ทั่ว และผลการสำรวจพบว่าร้อยละ 60 มีความพร้อมในการพัฒนาพื้นที่จักรยาน

ด้านเส้นทางสัญจรภายในเมือง คือการพัฒนาเส้นทางจักรยานบนเส้นทางหลักที่เชื่อมโยงสถานที่สำคัญของเมือง ระบบขนส่งสาธารณะและเส้นทางที่มีผู้ใช้สัญจรเป็นประจำ โดยใช้วิธีปรับแบ่งพื้นผิวจราจร ขีดสีตีเส้น และกำหนดมาตรการดูแลตามกฎหมาย เช่นการจำกัดความเร็วไม่เกิน 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งปัจจุบัน

ทุกจังหวัดมีแผนเรื่องทางจักรยานแล้ว และสนามกีฬา คือการสนับสนุนให้มีการขี่จักรยานโดยรอบสนามกีฬาหรือ สนามบิน ด้วยการจัดพื้นที่โดยรอบและมีระบบบริหารจัดการที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่

อาจารย์ ณรงค์ กล่าวว่าในปัจจุบันคนไทยมีการใช้จักรยานทั้งเพื่อการเดินทางในวิถีชีวิต และเพื่อการนันทนาการได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยตลาดจักรยานมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สามารถเติบโตจากมูลค่ารวม 3,000 ล้านบาทต่อปี เป็น 5,000 ล้านบาทในปี 2556 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สอดคล้องกับข้อมูลสถิติของสสส. พบว่ามีผู้มีศักยภาพที่จะใช้จักรยานมากถึง 60 ล้านคนทั่วประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการรณรงค์ให้คนกลุ่มนี้เปลี่ยนพฤติกรรมและหันมาใช้การเดินทางในชีวิตประจำวันด้วยจักรยานมากยิ่งขึ้น โดยมีแผนการส่งเสริมให้มีเส้นทางจักรยานที่ปลอดภัยซึ่งถือเป็นหัวใจของเรื่องนี้ เพราะหากไม่ปลอดภัยก็จะไม่มีผู้ใช้จักรยานจริงเกิดขึ้นในวิถีชีวิต รวมถึงการสร้างเสริมทัศนคติที่ดีต่อการใช้ถนนร่วมกันในสังคม

ทั้งนี้โครงการเมืองปั่นได้ เมืองปั่นดี ระยะที่ 1 มีจำนวน 17 จังหวัดเข้าร่วม ได้แก่ จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำพูน จังหวัดน่าน จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดอุดรธานีจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดชัยนาท จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดราชบุรี จังหวัดจันทบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดกระบี่ จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา

อาจารย์ ณรงค์ กล่าวว่า โครงการเมืองปั่นได้ เมืองปั่นดี นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการใช้จักรยาน ในชีวิตประจำวันแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันให้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนใน 4 ด้าน ได้แก่

ด้านสุขภาพ การปั่นจักรยานเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที จะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ช่วยให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตและการหายใจดีขึ้น ทำให้หัวใจและปอดทำงานได้ดี ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) 6 โรคหลัก ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ และโรคอ้วนลงพุง ซึ่งพบว่าคนไทยมีความเสี่ยงเกิดโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยข้อมูลจากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ

พ.ศ. 2553 พบว่าคนไทยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญถึงร้อยละ 71 ของการเสียชีวิต และยังมีแนวโน้มการเป็นโรคเพิ่มมากถึง 3.3 ล้านคนโดยประมาณ 6.3 แสนคน เป็นผู้ป่วยรายใหม่ที่พบในปี 2554

ด้านสังคม การใช้จักรยานในการเดินทางระยะสั้น หรือประมาณ 1-5 กิโลเมตร จะช่วยคืนความเป็นชุมชนกลับมา โดยการศึกษาในหลายประเทศ ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา พบความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างปริมาณการเดินและใช้จักรยานของประชาชนกับความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ-สังคม

ความเป็นประชาธิปไตย และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ด้วยการจัดผังเมือง ออกแบบ และพัฒนาเมืองที่ส่งเสริมระบบดังกล่าว ขณะที่การใช้จักรยานเชื่อมโยงกับการใช้ระบบขนส่งสาธารณะจะช่วยลดการใช้รถยนต์ ลดการนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศ

ด้านเศรษฐกิจ พบว่า ค่าใช้จ่ายครัวเรือนในการเดินทางและยานพาหนะคิดเป็นร้อยละ 19 ดังนั้นหากใช้จักรยานแทนการใช้รถยนต์เพียงสัปดาห์ละ 1 วัน คนไทยจะประหยัดค่าน้ำมันได้เฉลี่ย 5,200 บาท/คัน/ปี นอกจากนั้นยังพบว่า มีผู้ขี่จักรยานเพื่อการท่องเที่ยวราว 260,000 คน โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 500-1,000 บาทต่อคนต่อวัน สร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยวภายในประเทศ ประมาณ 900 ล้านบาท

ด้านสิ่งแวดล้อม การใช้จักรยานระยะสั้นช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่ง ซึ่งเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยเพิ่มขึ้นในอัตราสูงมากจนเป็นอันดับที่ 21 ของโลกในปี 2554 จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมาจากภาคขนส่งมากถึงร้อยละ 27

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ พ.ค. สุรีย์พร คลินิก เปิดตัวตึกสูงที่สุดแห่งวงการคลินิกสถาบันเสริมความงาม ฉลอง 20 ปีความสำเร็จพร้อมยกระดับชูเทคโนโลยีล้ำสมัย Volformer
๑๗ พ.ค. ปตท.สผ. จัดงานประชุม SSHE Forum 2024 ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน
๑๗ พ.ค. บมจ. เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) แนะนำ ชุดล็อคประตูกลอนแม่เหล็กไฟฟ้า จากแบรนด์ HIP
๑๗ พ.ค. ซัมซุง อัปเกรดประสบการณ์การชมทุกมหกรรมกีฬา ด้วยนวัตกรรม AI TV สุดล้ำ ชัดทุกแมตซ์เหมือนเชียร์ติดขอบสนาม
๑๗ พ.ค. ไทยพาณิชย์ปักหมุดผู้นำดิจิทัลแบงก์ นำ AI เสริมแกร่ง 360 องศา เปิด 3 นวัตกรรม AI ครั้งแรก! สร้างปรากฏการณ์ใหม่กลุ่มสินเชื่อรายย่อย และ Digital
๑๗ พ.ค. หัวใจเต้นช้า โรคหัวใจที่มักถูกมองข้าม
๑๗ พ.ค. DDD โชว์งบ Q1/67 กวาดกำไรทะยาน 317% YoY พร้อมลุยขยายตลาดสินค้าไลฟ์สไตล์ อัพผลงานปีนี้โตสวย
๑๗ พ.ค. PCC เปิดงบ Q1/67 รายได้โต 14.25% ยอดขายสินค้าหม้อแปลงไฟฟ้า - อุปกรณ์ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพิ่มขึ้น มั่นใจรายได้ปีนี้โต 10%
๑๗ พ.ค. บางจากฯ สานต่อพันธกิจสนับสนุนด้านกีฬาอย่างเป็นมิตรต่อโลก ร่วมจัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง Olympic Day 2024 Together, For A Better
๑๗ พ.ค. บัตรเครดิต ttb ช้อปคุ้ม อิ่มครบ ได้มากกว่า รับ Magic Gift Voucher รวมมูลค่าสูงสุด 1,500 บาท ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั้ง 5