“ปุ้ย พิมลวรรณ” เตือน ” โรคแพ้ภูมิตัวเอง “ อันตราย!!! รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ศุกร์ ๐๔ ธันวาคม ๒๐๑๕ ๑๖:๑๑
ถ้าหากพูดถึง" โรคแพ้ภูมิตัวเอง " คงเป็นอีกหนึ่งโรคที่หลายคนยังสงสัย ว่าต่างจากโรคภูมิแพ้หรือมีความคล้ายกันเกี่ยวกับอาการหรือไม่ " ปุ้ย-พิมลวรรณ หุ่นทองคำ" พิธีกรรายการ "สวัสดีคุณหมอ" ทาง ช่องเพลินทีวี มีคำตอบที่เป็นข้อมูลดีๆจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญมาไขข้อข้องใจ ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุและปัจจัยการเกิดโรค ขั้นตอนการรักษา ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่มีความอันตรายมากรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ และหากตรวจพบเร็วก็สามารถรักษาหายได้เช่นกัน

โดย " ปุ้ย พิมลวรรณ หุ่นทองคำ" เผยว่า " โรคแพ้ภูมิตัวเอง บางคนอาจจะเรียกได้หลายชื่อบางคนเรียกว่าภูมิต้านทานเล่นงานตัวเอง บางคนเรียกว่าแพ้ภูมิตัวเอง ภาษาฝรั่งเรียกว่าออโต้อีมูนดีซีส ในแง่ของความหมายคือว่าภูมิต้านทานแทนที่จะคอยไปจับกินเชื้อโรค แทนที่จะไปจัดการสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายเรา แต่เค้าไม่กลับทำงานแบบนั้น บางส่วนกลับสับสนแล้วย้อนกลับมาเล่นงานตัวคนไข้เอง ในแง่ของสาเหตุก่อนหน้านี้เคยเชื่อว่าเป็นโรคที่ไม่มีสาเหตุแน่ชัด ในช่วงการติดตามข้อมูลทางการแพทย์ใหม่ๆที่ผ่านมาเริ่มมีหลักฐานมากขึ้นว่า มักจะสัมพันธ์อยู่ ประมาณ 3 – 4 สาเหตุที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละคนมีปัจจัยกระตุ้นที่แตกต่างกัน เช่นบางคนถูกกระตุ้นจากการติดเชื้อ บางคนถูกกระตุ้นจากสารเคมี บางคนถูกกระตุ้นจากความเครียด คราวนี้เองทุกวันนี้เราจะบอกยากว่ามาจากสาเหตุอะไร แต่สิ่งนึงที่เค้าจะมีอาการคล้ายๆกันอยู่ ยกตัวอย่างเช่นถ้าภูมิต้านทานเค้าสับสนเค้าสร้างสารเคมีมาสร้างความอักเสบที่ร่างกาย ถ้าการอักเสบไปเล่นงานที่ผิวหนังจะเกิดผื่นคันเรื้อรังเรียกว่าสะเก็ดเงิน บางคนกลายเป็นตุ่มน้ำพองใสเป็นเชื้อโรค บางคนไปเล่นงานที่ข้อต่อกลายเป็นปวดข้อ ข้ออักเสบ บางครั้งอักเสบไปเล่นงานไทรอยด์กลายเป็นไทรอยด์เป็นพิษ ไปเล่นงานลงไตกลายเป็นไตวาย เพราะฉะนั้นมันเป็นอีกหนึ่งโรค ที่มันสามารถเกิดอาการได้ทั้งระบบตั้งแต่สมอง ผิวหนัง หลอดเลือด ข้อต่อ จนไปถึงไต อาการที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่มีตั้งแต่ปวดข้อเรื้อรัง มีผมร่วงไม่ทราบสาเหตุ บางคนผืนคัน มีแผลร้อนในในปากเรื้อรัง ความอันตรายมีอันตรายมาก ความรุนแรงตั้งแต่ใช้ชีวิตประจำวันได้ถึงเสียชีวิตได้เลย ถ้าตรวจเจอเร็วรักษาเร็วโอกาสหายได้ ขณะเดียวกันถ้าเข้าใจถึงที่มาที่ไปในการเกิดโรคหลายๆครั้งก็ป้องกันได้เช่นเดียวกัน วิธีการรักษาก็จะเป็นรูปแบบของการใช้ยาเช่นปวดข้อก็ใช้ยาแก้ปวด ถ้ามีผื่นขึ้นใช้ยาแก้แพ้แก้คันใช้ครีมทา ถ้าในแง่ภูมิต้านทานที่ทำงานหนักมากๆหรือสับสนอาจจะใช้พวกยากดภูมิต้านทาน เป็นการรักษาแขนงหลัก ส่วนใหญ่ต้องพึ่งยาตลอดชีวิต นอกจากนี้ยังมีทางอื่นมาใช้ร่วมกับการรักษา เช่นถ้าสงสัยว่าอาการมาจากสารพิษก็เลือกการรักษาโดยคีเรชั่นบำบัดซึ่งมีคุณสมบัติในการจับสารพิษโลหะหนักออกเข้ามาร่วมด้วย การอักเสบบางครั้งถ้าไม่อยากให้คนไข้ใช้ยาเยอะเกินไป เราอาจจะเลือกสารอาหารบำบัดอย่างพวกโอเมก้า 3 สมุนไพรเข้ามาช่วยระงับการอักเสบเพิ่มขึ้น รวมไปถึงอีกเทคนิคนึงซึ่งมีการทำวัคซีนภูมิแพ้จากเลือดของคนไข้เอง "

ติดตามข้อมูลความรู้ของโรคต่างๆ ได้ในรายการ "สวัสดีคุณหมอ " ทางช่องเพลินทีวี ทุกวันเวลา 7.00/16.30น.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๐๓ พ.ค. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๐๓ พ.ค. รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๐๓ พ.ค. กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว