ITD หนุนเอกชนพัฒนาสินค้าลดการกีดกันจาก ตปท.

ศุกร์ ๐๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๖ ๑๑:๑๘
นายพงษ์เทพ ประสพโชคชัย รองผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา(มหาชน) ได้เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเรื่อง "กลยุทธ์การค้าและการลงทุนตลาดประเทศคู่ค้าเจรจาอาเซียน" เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 ที่โรงแรมเดอะแลนด์มาร์ค กรุงเทพฯ

หลังจากเปิดงานคณะวิจัยจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นำโดย ดร.เณศรา สุขพาณิช ได้อภิปรายว่าในปัจจุบันที่มาตรการทางด้านภาษีได้เริ่มหมดไปจากข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศที่กำหนดให้ไม่ให้มีการเก็บภาษีนำเข้า แต่ทว่าแต่ละประเทศกลับมีมาตรการในการกีดกันสินค้าจากต่างประเทศซึ่งไม่ใช่ภาษีหรือ NTMs ซึ่งมาตรการเหล่านี้ได้ส่งผลต่อสินค้าต่างๆ อาทิเช่น ข้าว ผลไม้ ปศุสัตว์ และประมง ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศไทย ทั้งนี้ประเทศต่างๆ จะมีข้อกำหนดที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยส่วนมากจะอ้างอิงถึงความปลอดภัยด้านอาหารและความกังวลเรื่องโรคติดต่อ ก่อให้เกิดต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหากเอกชนต้องการส่งออกสินค้าไปยังประเทศนั้นๆ นอกจากนี้ประเทศไทยกลับไม่ได้ใช้มาตรการทั้งหมด ที่กล่าวมาล้วนทำให้สินค้าของประเทศไทยได้รับโรคติดต่อจากต่างประเทศ จึงทำให้สินค้าจากประเทศไทยส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ยาก มีเพียงสินค้าจำพวกประมงเท่านั้นที่ไม่ค่อยประสบกับปัญหาดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามสินค้าประมงกลับพบกับข้อกำหนดแปลกๆ ที่กล่าวได้ว่าไม่สมเหตุสมผล

นางสาวลัดดาวัลย์ ศัลยกะลิน นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ กรมการค้าต่างประเทศได้อภิปรายถึงแนวทางในการรับมือกับมาตรการการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีหรือ NTMs โดยเรียกวิธีการนี้ว่า 4 ต. คือ 1. ติดตามมาตรการการกีดกันที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 2. เติมเต็มความต้องการของประเทศคู่ค้า 3. เตรียมพร้อมรองรับความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 4. ต่อยอดมาตรฐานให้สูงขึ้นตลอดเวลา เพื่อสามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงของมาตรการการกีดกันที่เกิดขึ้นตลอดเวลาได้ นอกจากนี้และรัฐบาลยังจำเป็น ที่จะต้องให้การสนับสนุนทั้งข้อมูลและการประชาสัมพันธ์แก่ต่างประเทศให้สินค้าของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับ

รศ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติได้อภิปรายว่าการพัฒนาคุณภาพสินค้าจะเป็นกุญแจสำคัญในการก้าวข้ามมาตรการกีดกันของต่างประเทศ โดยเชื่อว่าทุกฝ่ายทั้งเอกชน หน่วยธุรกิจ รัฐบาลและสังคมจะต้องร่วมมือกันในการพัฒนาคุณภาพสินค้า อีกทั้งยังกล่าวถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยโดยยกตัวอย่างจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่ได้ทำการวิจัยและนำความรู้ที่ได้ไปช่วยพัฒนาคุณภาพสินค้าให้แก่ชุมชน

ดร.เณศรา สุขพาณิช ได้อภิปรายว่าเอกชนจำเป็นที่จะต้องสร้างมาตรฐานของตัวเองให้สูงขึ้น สร้างเครือข่ายเพื่อความรวดเร็วในการทำงาน ศึกษาตลาดทำให้สามารถผลิตสินค้าได้ตรงต่อความต้องการ และเพิ่มความปลอดภัยในอาหารเพื่อเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารที่ผลิตภายในประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๘ Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง