ฟูจิตสึโชว์กรณีศึกษาบริษัทแอร์บัส มอบข้อมูลห่วงโซ่คุณค่าเทคโนโลยีอันชาญฉลาดอย่าง RFID

จันทร์ ๒๘ มีนาคม ๒๐๑๖ ๑๖:๒๕
ฟูจิตสึเผยกรณีศึกษาจาก บริษัทแอร์บัส เอส เอ เอส (Airbus S.A.S.) ซึ่งเป็นผู้นำด้านการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้งานในภาคส่วนการผลิตในโครงการริเริ่มที่ทำให้เห็นมอบข้อมูลห่วงโซ่คุณค่า (Value chain initiative) ซึ่งสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจของบริษัทฯ เป็นอย่างมาก การนำเทคโนโลยีการระบุข้อมูลแบบอัตโนมัติ (Automated Identification Technology - AIT) จากฟูจิตสึมาใช้นั้น ทำให้บริษัทแอร์บัสสามารถแปลงกระบวนการอุตสาหกรรมและชิ้นส่วนอากาศยานทางกายภาพเป็นระบบดิจิตอล พร้อมกับช่วยกระชับวงจรการผลิตเครื่องบินแบบเต็มรูปแบบจากเดิมผลิตในบริษัทเป็นการขยายการปฏิบัติการระหว่างหน่วยงาน ซึ่งทำให้บริษัทฯ มีความเข้าใจธุรกิจสำคัญๆ อย่างลึกซึ้งในขณะที่ปฏิบัติงานด้วย"

"เทคโนโลยีอันชาญฉลาดอย่าง RFID* ช่วยให้เราเชื่อมต่อกับชิ้นส่วนเครื่องบิน และช่วยสร้าง Internet of Things ให้กับแอร์บัส ซึ่งตรงจุดนี้เองที่ฟูจิตสึเข้ามาช่วยเราติดตามได้ทั้งกระบวนการการสร้างและให้บริการเครื่องบินโดยสารสมัยใหม่ถือเป็นธุรกิจที่มีความซับซ้อน ท้าทาย และมีต้นทุนที่สูง บริษัทแอร์บัสเหมือนกับธุรกิจอื่นทั่วไปตรงที่มีการใช้ระบบไอทีเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติการด้านการผลิต " Mr. Carlo K. Nizam (นายคาร์โล เค.ไนแซม ) Head of Value Chain Visibility and RFID กล่าว

แต่อย่างไรก็ดีในอดีตการนำข้อมูลเข้ามาในระบบนั้นมักจะต้องอาศัยกระบวนการทางเอกสารเป็นหลัก และการปฏิบัติการขององค์กรที่มีความซับซ้อนขึ้นส่งผลให้การจัดการกับข้อมูลเหล่านี้ก็ทวีความยากและกลายเป็นสิ่งที่ท้าทายมากขึ้นตามไปด้วย เมื่อ 40 ปีที่แล้วแอร์บัสผลิตเครื่องบิน 10 ลำต่อปี ในปี 2015 บริษัทฯ จะมีการผลิตได้ถึง 629 ลำ และจะก้าวถึง 1,000 ลำในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ในปี 2012 แอร์บัสมีการติดตามชิ้นส่วนประกอบเครื่องบินถึง 1.2 ล้านชิ้นต่อปี และจะเพิ่มขึ้นอีก 5 เท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ภายในปี 2017 โดยชิ้นส่วนประกอบของเครื่องบินนี้มีวงจร ชีวิตยาวนานหลาย 10 ปี เริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบไปถึงการผลิต การซ่อมแซมและการกำจัดทิ้งชิ้นส่วนทุกชิ้นต้องมีการจัดการอย่างละเอียดรอบคอบ นอกจากนี้ความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในวงการการบิน

ดังนั้นการติดตามกระบวนการทำงานให้ได้ทุกขั้นตอนนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมาก การจัดการและการติดตามชิ้นส่วนถือเป็นความท้าทายที่มีความซับซ้อน และไม่สามารถมีข้อผิดพลาดได้รวมถึงการบำรุงรักษา เครื่องบินต้องปราศจากความผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง โดยตลอดอายุการทำงานของเครื่องบินลำหนึ่งนั้นจะมีข้อมูลสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในส่วนของการผลิตก็มีความท้าทายเช่นกัน โดยแอร์บัสนั้นได้กระจายการผลิตไปตามภูมิภาคต่างๆ อาทิเช่น เครื่องบิน A380 ทำมาจากส่วนประกอบชิ้นย่อยๆ มาประกอบกันอย่างส่วนหน้า ลำตัว ปีก และส่วนหาง ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้ทำมาจากโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน สเปนและอังกฤษ โดยต้นทุนของการประกอบเครื่องบิน 1 ลำตกอยู่ที่ 428 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการจัดเก็บสินค้าก็เป็นส่วนที่มีค่าใช้จ่ายสูงอีกประการหนึ่งปรับกระบวนการทำงานสู่ระบบดิจิตอลเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายดังกล่าว

การมีห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต่อการดำเนินการทางธุรกิจประเภทนี้แอร์บัสมีการใช้งานเทคโนโลยีระบุข้อมูล ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency Identification - RFID) ในวงจรการผลิตทั้งวงจร ทั้งนี้ เพื่อได้เห็นภาพการผลิตอัตโนมัติแบบเรียลไทม์พร้อมกับกระชับกระบวนการทำงานและลดของเสีย และช่วยให้มีการผนึกข้อมูล เช่น เลขชิ้นส่วน เลขเครื่อง วันที่ผลิตและแม้แต่ประวัติการผลิตเข้ากับชิ้นส่วนประกอบเครื่องบินทุกชิ้น ทั้งในรูปแบบดิจิตอลและอิเล็กทรอนิกส์เครื่องบินรุ่นต่อไปของแอร์บัสอย่างรุ่น A350 XWB สร้างขึ้นมาจากส่วนประกอบกว่า 2,000 ชิ้น ซึ่งมีแท็ก RFID ติดมาด้วยทุกชิ้น แอร์บัสได้ขยายให้มีการใช้ชิ้นส่วน RFID แบบถาวร เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายบอกรายละเอียดกับชิ้นส่วนทุกชิ้นที่ติดตามได้ของเครื่องบินทุกลำในตระกูลเครื่องบินของบริษัท และในปี 2014

แอร์บัสได้เปิดตัวโครงการที่จะแทนที่ป้ายชื่อแบบเดิมที่ติดไว้กับส่วนประกอบทุกส่วนที่ผลิตในบริษัท เปลี่ยนมาเป็นป้ายชื่อที่มีRFID อันเป็นมาตรฐานใหม่ โดยนาย Carlo K. Nizam กล่าวไว้ว่า "แอร์บัสมองการดำเนินงานนี้เหมือนกับการสร้างเครื่องบินลำหนึ่งในยุค 80 เราสร้างเครื่องบินพาณิชย์ Fly-by-wire รุ่น A320 และสิ่งที่เราทำตอนนี้เหมือนที่เราสร้างเครื่องบินรุ่นนั้นในตอนนั้น ตอนนี้เรากำลังสร้างห่วงโซ่คุณค่าแบบ Fly-by-wire ซึ่งก็คือห่วงโซ่คุณค่าในรูปแบบดิจิตอลนั่นเอง"

แท็ก RFID ที่ใช้ติดส่วนประกอบเครื่องบินจะต้องมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นสูงในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยง แต่จะต้องมีน้ำหนักเบา โดยแท็กของฟูจิตสึนั้นผ่านเกณฑ์การพิจารณาในเรื่องของการทนทานต่อสภาวะที่มีความเสี่ยงในทุกๆ ด้าน ส่งผลให้แอร์บัสเลือกฟูจิตสึเป็นผู้จัดหา "ฉลาก RFID" และยังเป็นผู้ให้

บริการโซลูชั่นการเข้ารหัสและการพิมพ์ข้อมูล RFID ด้วย โดยฟูจิตสึได้รับการคัดเลือกจากการที่บริษัทฯ มีจุดแข็งในด้านเทคโนโลยีอุปกรณ์กึ่งตัวนำ มีความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบ และการผลิต RFID พร้อมกับความสามารถในการให้บริการกับลูกค้าทั่วโลกเพิ่มผลผลิต ประหยัดเวลาในอดีตการตรวจสอบที่นั่งและชิ้นส่วนพร้อมกับบันทึกหมายเลขเครื่องและจุดติดตั้งนั้นต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง ยิ่งไปกว่านั้นข้อมูลจะต้องมีการพิมพ์เข้าระบบด้วยมือ และต้องมีการตรวจสอบอ้างอิงเพื่อหาความคลาดเคลื่อน แต่ด้วยเทคโนโลยี RFID

กระบวนการนี้จะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ส่งผลให้มีประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น และความผิดพลาดที่เกิดจากการพิมพ์ข้อมูลเข้าระบบด้วยมือก็ลดลง นอกจากนี้ ข้อมูลก็สามารถแชร์และตรวจสอบได้ทันที ท้ายสุดเทคโนโลยีนี้ทำให้เครื่องบินมีชั่วโมงบินที่เพิ่มขึ้นในแง่ของการผลิตยิ่งเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยี RFID มากขึ้น

ส่วนประกอบทุกชิ้นได้รับการจัดการและติดตาม ผ่านสายการผลิต เนื่องจากแอร์บัสสามารถระบุสถานที่การจัดเก็บส่วนประกอบทุกประเภทและสถานะได้ จึงสามารถทำการปรับปรุงการควบคุมชิ้นส่วนให้ดียิ่งขึ้น ย่นระยะเวลาการจัดหาอุปกรณ์ล่วงหน้า และขจัดการซื้อชิ้นส่วนซ้ำซ้อน นอกจากนี้ยังมีการลดจำนวนงานค้างและความล่าช้า โดยไม่จำเป็นลงอย่างมาก โดยประโยชน์ที่เห็นชัดนั้นมาในรูปแบบของผลิตผลที่เพิ่มขึ้นและระยะเวลาการผลิตที่ลดลง ซึ่งหมายถึง ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าและมีเงินสดหมุนเวียนดีขึ้น ข้อมูลที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นหมายถึงกระบวนการประกอบสินค้า นั้นมีปัญหาและความผิดพลาดที่น้อยลง โดยมีการคาดการณ์ว่าเทคโนโลยี RFID จะช่วยลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้าก็ลดลงถึง 20%

นอกจากนี้ RFID ยังก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่จับต้องได้อีกมากมายเช่นกัน กล่าวคือ ในปัจจุบันแอร์บัสสามารถมองเห็นภาพห่วงโซ่คุณค่าของตนเองได้ในแบบเรียลไทม์ โดยข้อมูลนี้ก่อให้เกิดความเข้าใจภาพการผลิตในแบบลึกซึ้ง ซึ่งจะสร้างประโยชน์กับธุรกิจในอนาคตอย่างที่ Nizam ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า "เมื่อสิ่งต่างๆ เชื่อมต่อกันมักจะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นเสมอ เราสามารถรู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหนและเมื่อไหร่ได้โดยอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ ในรูปแบบข้อมูลดิจิตอล"

การปรับใช้โซลูชั่น RFID และเซ็นเซอร์กับอุตสาหกรรมประเภทอื่นในการส่งเสริมการใช้งาน RFID ในวงการการบิน ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานโดยสมาคมการขนส่งทางอากาศแห่งสหรัฐอเมริกา(Air Transport Association of America - ATA) ซึ่งเป็นผู้นำการริเริ่มการจัดทำมาตรฐานรูปแบบข้อมูล RFID โดยฟูจิตสึได้เข้าร่วมคณะทำงานนี้ตั้งแต่ปี 2007 และมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดตั้งมาตรฐาน RFID ที่มีชื่อว่า ATA Spec 2000

โซลูชั่น RFID และเซ็นเซอร์ของฟูจิตสึเป็นโซลูชั่นที่สนับสนุนห่วงโซ่อุปทานในวงการการบิน ฟูจิตสึเป็นผู้ผลิตแท็ก RFID และอุปกรณ์ด้านไอทีที่ใช้ในวงการการบิน รวมถึงเครื่องอ่านที่ใช้อ่านคลื่นความถี่ RFID ที่มีความแตกต่างในแต่ละประเทศ และมิดเดิลแวร์ที่ใช้ในการคงสภาพข้อมูลให้สมบูรณ์ ฟูจิตสึ คือแหล่งรวมโซลูชั่นหนึ่งเดียวที่ครอบคลุมทุกอย่าง ตั้งแต่การพัฒนาระบบที่สรรค์สร้างให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าไปจนถึงการบำรุงรักษา นอกจากนี้ การสนับสนุนธุรกิจทั่วโลกของฟูจิตสึยังช่วยหนุนโครงสร้างพื้นฐานระบบข้อมูลแบบกระจาย และจากผลงานอันดีของฟูจิตสึในวงการการบิน จึงทำให้ฟูจิตสึได้ร่วมมือกับพันธมิตรและลูกค้าในอุตสาหกรรมใหญ่ๆทั่วโลก และมีการให้บริการโซลูชั่น RFID และเซ็นเซอร์ กับอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๑ พ.ค. เฮลท์สเคป (Healthscape)' นำร่องส่ง 'MADE BY SILVER' ชวนสัมผัสผลิตภัณฑ์เพื่อไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มซิลเวอร์เจน 20 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็ม
๒๑ พ.ค. HENG เสนอขายหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2567 จำนวน 2 ชุด อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.25% และ 5.50% เปิดจองซื้อ 23-24 และ 27 พ.ค. 67 เดินหน้าเสริมแกร่งธุรกิจ
๒๑ พ.ค. กลุ่มบริษัทศรีตรัง ลุยติดตั้ง EV Charger ในโรงงานทั่วประเทศ สนับสนุนพนักงานใช้พลังงานสะอาด ร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอกย้ำจุดยืน Green Rubber
๒๑ พ.ค. Bitkub Chain และ The Sandbox ร่วมยกระดับวงการ Metaverse ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๒๑ พ.ค. AJA โชว์แกร่ง!! งบโค้งแรกพลิกมีกำไรพุ่งเกือบ 452% ชูกลยุทธ์ปี 67 กระจายลงทุนในธุรกิจหลากหลาย-สร้างฐานการเติบโตยั่งยืน
๒๑ พ.ค. KJL โชว์นวัตกรรมในงาน SUBCON Thailand 2024 เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า
๒๑ พ.ค. ITEL อวดกำไร Q1/67 โต 113% กำไรสุทธิ 123 ล้านบาท ล่าสุด ก.ล.ต. ไฟเขียวนับหนึ่งไฟลิ่ง บ.ย่อย BLUE เรียบร้อยแล้ว
๒๑ พ.ค. โอยิกะ ผู้นำด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีแบตเตอรี่จากสิงคโปร์ ชูนวัตกรรมพลังงานสะอาด มุ่งขยายธุรกิจตู้สลับแบตเตอรี่สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
๒๑ พ.ค. ดื่มด่ำกับรสชาติของเนื้อโกเบจากโอซาก้า ที่ห้องอาหารฮากิ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
๒๑ พ.ค. W9 เผยไทยเผชิญฝุ่นพิษล้อมเมืองติดอันดับโลก เปิด 5 กลุ่มเสี่ยงรับฝุ่นพิษ ภัยเงียบสะสม แนะวิธีรับมือเชิงเวลเนส