สัญญา โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง

อังคาร ๐๕ เมษายน ๒๐๑๖ ๑๖:๓๙
บริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ จำกัด (สำนักงานใหญ่: เขตมินะโตะ เมืองโตเกียว, ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร: นายชุนอิชิ มิยานากะ, ต่อไปนี้จะเรียกว่า "เอ็มเฮชไอ") และ บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (สำนักงานใหญ่ : เขตชิโยะดะ เมืองโตเกียว, ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ: นายโทชิอากิ ฮิกาชิฮาระ, ต่อไปนี้จะเรียกว่า "ฮิตาชิ") และ บริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น (สำนักงานใหญ่ : เขตชูโอ เมืองโตเกียว, ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร: นายคุนิฮารุ นากามูระ, ต่อไปนี้จะเรียกว่า "ซูมิโตโม") ได้ชนะการประมูลงานสัญญาของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการเป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างระบบไฟฟ้าและระบบเครื่องกล รวมถึงการจัดหาตู้รถไฟฟ้า ในลักษณะการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ ในโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน ระบบรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) โดยมีมูลค่าสัญญาประมาณ 32,,399 ล้านบาท (110,000 ล้านเยน) และการก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายในเวลา 4 ปี เอ็มเฮชไอจะรับผิดชอบงาออกแบบและจัดหาระบบที่นอกเหนือจากตู้รถไฟฟ้า ฮิตาชิจะรับผิดชอบในการออกแบบและผลิตตู้รถไฟฟ้า ส่วนซูมิโตโมจะรับผิดชอบงานธุรการและงานติดตั้งระบบ

ปัจจุบัน ประชากรไทยส่วนใหญ่นิยมเดินทางด้วยรถยนต์ ซึ่งทำให้ปัญหาการจราจรติดขัดและปัญหามลพิษทางอากาศที่ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น ดังนั้นความต้องการสาธารณูปโภคด้านขนส่งที่สามารถขนถ่ายได้ครั้งละจำนวนมากและมีมลพิษต่ำจึงมีสูงขึ้น ระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เป็นหนึ่งในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ของรัฐบาลไทย โดยเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย เส้นทางรถไฟสายเหนือที่มีระยะทาง 26.4 กิโลเมตร และเส้นทางรถไฟสายตะวันตกที่มีระยะทาง 14.6 กิโลเมตร โดยเส้นทางรถไฟจะก่อสร้างเป็นระบบรางรถไฟลอยฟ้า ทั้งนี้ เส้นทางรถไฟสายเหนือ จะก่อสร้างโดยใช้เงินกู้ที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ส่วนเส้นทางรถไฟสายตะวันตก จะก่อสร้างด้วยงบประมาณของรัฐบาลไทย โดยสัญญานี้เป็นสัญญาจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จที่ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบและก่อสร้างรางรถไฟฟ้า ระบบจ่ายไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟฟ้า ระบบการสื่อสาร ระบบการเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ และตู้รถไฟฟ้าโดยสาร ซึ่งกลุ่มกิจการร่วมค้าเอ็มเอชเอสซีจะเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการทั้งหมด

เอ็มเฮชไอมีประสบการณ์มากมายในการส่งมอบงานโครงการรถไฟขนาดใหญ่ รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ไต้หวัน และโครงการที่เมืองดูไบ เช่นเดียวกันกับระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติและระบบขนส่งแบบใหม่สำหรับเขตเมืองและสนามบินทั้งในประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศ นอกจากนี้เอ็มเฮชไอยังเป็นบริษัทแรกในญี่ปุ่นที่มีระบบทดสอบระบบรถไฟฟ้าแบบครอบวงจร เอ็มเฮชไอจะใช้ประสบการณ์และเทคโนโลยีที่อยู่มากมายในฐานะผู้ประสานระบบมาใช้ในโครงการนี้

ฮิตาชิมีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบรางที่หลากหลาย ตั้งแต่รถไฟโดยสารไปจนถึงรถไฟความเร็วสูงในฐานะที่เป็นผู้ที่สามารถตอบสนองความต้องการในระดับโลก ฮิตาชิจะใช้ประสบการณ์ในการทำงานในโครงการต่างๆเพื่อให้สามารถส่งมอบรถไฟฟ้าที่มีความน่าเชื่อถือให้กับโครงการนี้ฟ

ซูมิโตโมมีประสบการณ์ทำงานด้านโครงการระบบรางทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน ด้วยประสบการณ์ที่มีมากมายในการก่อสร้างโครงการรถไฟและการส่งมอบรถไฟ ซูมิโตโมจะทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างราบรื่น

มิตซูบิชิ ฮิตาชิ และซูมิโตโม จะสัญญาที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย โดยใช้จุดแข็งของแต่ละบริษัทในการส่งมอบระบบขนส่งมวลชนที่มีความปลอดภัย ความสะดวกสบายและมีมลพิษต่ำแก่ประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน