ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับภารกิจรับมือยุคดิจิตอล

พฤหัส ๐๗ เมษายน ๒๐๑๖ ๑๓:๑๕
โดย นิค ลิม รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียเซาธ์ บริษัทซีเอ เทคโนโลยี

ปี 2016 นี้ เป็นปีที่คาดว่าจะเป็นปีแห่งจุดเปลี่ยนสำคัญของชาติอาเซียน ที่มีไทยเป็นสมาชิกโดยเฉพาะการตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือAEC ซึ่งเป็น หลักกิโลเมตรสำคัญ ของการไปสู่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคครั้งยิ่งใหญ่ และโดยทั้งนี้คาดการณ์ว่าภายในปี 2020 ที่จะถึงนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ของบรรดาชาติอาเซียนทั้งหมด จะเติบโตไปอยู่ที่ 4.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยภูมิภาคนี้รวมกันทุกชาติมีศักยภาพพอที่จะกลายเป็นระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก ภายในปี 2030

นอกเหนือจากข้อตกลง ด้านการค้าเสรีที่มีแล้ว ผลของการรวมเศรษฐกิจในระดับลึกขึ้นจะช่วยเปิดช่องทางใหม่ๆให้ธุรกิจต่างๆสามารถเข้าถึงตลาดที่ใหญ่ขึ้น และมีจำนวนผู้บริโภคมากกว่า 600 ล้านคน

ต้องเปิดรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอล

ทิศทางใหม่ๆของโลกดิจิตอลอย่าง บิ๊กดาต้า Internet of Things คอมพิวเตอร์ระบบคลาวด์ โซเชี่ยลมีเดีย และโมไบลอินเทอร์เน็ต กำลังเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าธุรกิจไปอย่างสิ้นเชิงรวมทั้งกำหนดขอบเขต ของแต่ละบริษัทองค์กรธุรกิจได้ยากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีของระบบดิจิตอลทั้งหมดนี้มีศักยภาพที่จะสร้าง และผลักดันการเติบโตทางการค้าและเศรษฐกิจสำหรับชาติต่างๆในAEC อย่างมากมาย

ระบบโมไบล์ คือตัวเร่งสำคัญ

สำหรับทุกวันนี้ โลกของเรา กำลังบ่ายหน้าไปสู่เทคโนโลยีเครือข่ายโมไบล์ความเร็วสูงแบบบรอดแบนด์ และสมาร์ทโฟนโดยเริ่มเห็นผลแล้วในหลายประเทศและหลายตลาด ส่งผลช่วยให้ธุรกิจต่างๆสามารถประหยัดต้นทุนและเวลา รวมทั้งเพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ ที่น่าสนใจก็คือภายในช่วง 4 ปีข้างหน้าคาดการณ์ว่าจะมี 70% ของผู้คนในโลกของเรา จะใช้งานเทคโนโลยีโมไบล์ระดับสูงและ พื้นที่ 90 เปอร์เซ็นต์ของโลกจะครอบคลุมด้วยเครือข่ายบริการอินเทอร์เน็ตโมไบล์แบบบรอดแบนด์ความเร็วสูง

สำหรับในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น มีอัตราการใช้อุปกรณ์โมไบล์และยูสเซอร์ที่ใช้งานสมาร์ทโฟนสูงมาก และจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 2 เท่าภายในปี 2020 โดยจะมีจำนวน มากถึง 6.1 พันล้านราย และเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของยูสเซอร์รายใหม่ จะมาจาก เอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา โดยรายงานการศึกษาของ GSMA Intelligence ระบุว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นจะเพิ่มจำนวนการใช้งานสมาร์ทโฟนจนเกือบถึงยอด 1.7 พันล้านเครื่อง ภายในปี 2020 โดยคิดเป็นมากกว่าครึ่ง ของจำนวนที่ใช้กันทั่วโลก โดยตลาดที่เกิดใหม่อย่างชาติประชาคมอาเซียนจะเป็นตัวผลักดันที่สำคัญของการเติบโตนี้

ผลกระทบที่สำคัญจาก กลุ่ม Gen-M หรือ Millennial Generation

กลุ่ม Gen-M หรือ Millennial Generation ได้เติบโตมา และคุ้นเคยกับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิตอลที่กำลังส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ทั้งที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบันและคนกลุ่มนี้จะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันต่อไป โดยเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลที่สำคัญพบว่า ในอนาคตจะมีประชากรมากกว่า 50 ล้านคนจากภูมิภาคอาเซียนจะเข้าสู่ตลาดแรงงานภายในช่วงปี 2010 ถึง 2020

นอกจากนี้ถ้าดูการคาดการณ์ของ องค์กรแรงงานสากล (International Labour Organization - ILO) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank - ADB),ซึ่งระบุว่า ภายในปี 2025 การรวมเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้จะเพิ่มGDPให้สูงขึ้น 7 เปอร์เซ็นต์ และแรงงานต่างๆ ในระบบจะเป็นพวกกลุ่ม Gen-M หรือ Millennial Generation ที่เป็นเจเนอเรชั่นแรกของโลกที่เติบโตขึ้นมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิตอลอย่างแท้จริง

ระบบเศรษฐกิจยุคแอพพลิเคชั่น

เปลี่ยนผ่านระบบดิจิตอลสู่โลกใบใหม่

ในโลกปัจจุบันระบบเศรษฐกิจ แอพพลิเคชั่น ได้กลายสภาพกลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงทั้งสำหรับภาคธุรกิจและผู้บริโภค โดยทุกธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงตัวเองสู่ธุรกิจดิจิตอลไม่มากก็น้อย

ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกขับเคลื่อนด้วย ระบบโมไบล์และ แอพพลิเคชั่น ไม่ว่าจะเป็นการค้าปลีก ข่าวสารข้อมูล โลกบันเทิง การเงินการธนาคาร การศึกษา งานบริการสาธารณะภาครัฐ และการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นในทุกวันนี้ก็คือ ลูกค้าแต่ละรายมีแนวโน้มที่จะผ่านประสบการณ์การติดต่อกับแบรนด์ของสินค้าแต่ละอย่าง มีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรธุรกิจผ่านซอฟต์แวร์ แอพพลิเคชั่น มากกว่าจะได้ติดต่อกับพนักงานที่เป็นบุคคลจริงๆ

องค์กรธุรกิจต่างๆ ต่างเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้นเรื่อยๆรวมทั้งการติดต่อสื่อสาร เพื่อเปลี่ยนแปลงแง่มุมธุรกิจสำคัญๆ ของตน ให้มีความพร้อม สำหรับการก้าวสู่ยุคดิจิตอลต่อไป

หาจุดเชื่อมต่อที่ลงตัว

แอพพลิเคชั่นที่ใช้งานทั้งเดสก์ท็อปและโมไบล์ ได้กลายมาเป็นสมรภูมิใหม่ของการช่วงชิงแบรนด์ลอยัลตี้ ในภูมิภาคนี้ ส่งผลให้ บริษัทและองค์กรใดที่ ไม่สามารถนำเสนอ ประสบการณ์การใช้งาน แอพพลิเคชั่นที่ดีได้ ก็ต้องเสี่ยงกับการสูญเสียฐานลูกค้า ไปอย่างน้อย 1 ใน 3 จากที่เคยมีความภักดีต่อแบรนด์เป็นเรื่องสำคัญและจะทำสำเร็จอยู่เมื่อหรือไม่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้บริโภค และตัวแปรต่างๆในการใช้งานอย่างเช่น การโหลดได้เร็ว ฟังก์ชั่นการใช้งานง่าย มีการยืนยันมั่นใจเรื่องการรักษาความปลอดภัย เรื่องทั้งหมดนี้ต่างมีส่วนสำคัญทั้งสิ้น

ตัวแอปพลิเคชันต่างๆจะเริ่มกลายมาเป็นช่องทางหลักสำหรับผู้บริโภคในการติดต่อกับตัวธุรกิจ และสิ่งที่สร้างความแตกต่างได้สำคัญอย่างแท้จริงก็คือการสร้างแอพพลิเคชั่น ที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของแต่ละบุคคล มีระบบการรักษาความปลอดภัย ตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดีรวมทั้งต้องมีรูปแบบที่สะดวกและใช้งานง่าย

ชาติประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่มีช่องทางการเข้าถึงตลาดครองผู้บริโภคกว่า 630 ล้าน รายจะเปิดโอกาส อย่างดีในทางธุรกิจ ซึ่งตรงนี้ จะส่งผลให้มีการแข่งขันในระดับภูมิภาคมากขึ้น รวมทั้งความจำเป็นที่จะต้องเข้าถึงตลาดที่มีประชากรมากกว่าครึ่งมีอายุน้อยกว่า 30 ปี ที่มีความอดทนน้อยมาก หรือไม่มีความอดทนเลยต่อความล่าช้าหรือเวลาดาวน์ไทม์ของระบบ ในการที่เข้าถึงแต่ละแบรนด์สินค้าผ่านแอพพ์

ก้าวไปสู่ทิศทาง เส้นทางที่ถูกต้อง

การเน้นซอฟต์แวร์ได้กลายมาเป็นเงื่อนไขอย่างแรกที่จำเป็นสำหรับบริษัทระดับเอนเทอร์ไพรซ์ทุกวันนี้ ที่จะรับมือกับสถานการณ์ทางธุรกิจที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บริษัทรายใดที่สามารถนำเสนอ แอพพลิเคชั่น ที่มีคุณภาพสูงมีการรักษาความปลอดภัยที่ดี ออกสู่ตลาดได้เร็วกว่าคู่แข่งรายอื่น จะสร้างสถานะโดดเด่นขึ้นมาในตลาดชาติAEC ในที่สุด

การหันมาใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่น ไม่ได้เป็นแค่เฉพาะเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่คือวัฒนธรรมองค์กรในการดำเนินธุรกิจโดยตรง ความคิดของการบริหารที่ยืดหยุ่น จะถูกนำมาใช้ช่วยในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอลสำหรับบริษัทต่างๆ ในทุกอุตสาหกรรม โดยแนวคิดนี้จะเป็นวิธีการที่รวดเร็ว ในการเชื่อมแนวคิด วิธีการของทีมที่พร้อมบริหารจัดการอย่างยืดหยุ่นเข้ากับตัวธุรกิจ เพื่อให้การจัดการสามารถสร้างผลได้จากการปรับตัวอย่างรวดเร็ว และมุมมองที่จำเป็น ในการตัดสินใจรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ในสถานการณ์ที่ AEC กำลังเริ่มต้นขึ้น ถึงแม้จะมีโอกาสใหม่ๆ แต่ยังหมายถึงการแข่งขันใหม่ที่มีมาด้วย บริษัทธุรกิจที่พร้อมปรับตัว จะมีข้อได้เปรียบเชิงแข่งขันเหนือกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคเศรษฐกิจ แอพพลิเคชั่นอย่างในปัจจุบัน

การเน้นความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจจะช่วยให้บริษัทเอนเทอร์ไพรซ์มีความได้เปรียบในการแข่งขัน ในเรื่องการนำเสนอประสบการณ์การใช้งานที่เหนือกว่า สำหรับยูสเซอร์และขีดความสามารถในการดำเนินงาน ภายใต้วิธีการที่พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนดัดแปลง และก้าวสู่เส้นทางใหม่ในตลาด

สำหรับตลาดที่เล็กกว่า ภาคธุรกิจบางส่วนอาจจะเริ่มเห็น กระแสของการแข่งขันของผู้เล่นแต่ละลาย เกิดขึ้นกับตนในระดับท้องถิ่นแล้ว ดังนั้นในยุคที่เศรษฐกิจแอพพลิเคชั่นกำลังจะมีบทบาทสำคัญ ในหมู่ชาติAEC จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกธุรกิจจะต้องปรับตัวมาใช้ โมเดลธุรกิจที่เน้นการใช้ซอฟต์แวร์รวมทั้งการบริหารจัดการอย่างยืดหยุ่นเพื่อที่จะอยู่รอดและเติบโตได้ในวันข้างหน้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง