สถาบันยานยนต์จับมือ JETRO และ JODC เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยียกระดับผู้ประกอบการไทย

อังคาร ๑๕ มีนาคม ๒๐๐๕ ๑๕:๓๘
กรุงเทพฯ--15 มี.ค.--สถาบันยานยนต์
สถาบันยานยนต์เดินหน้ายกระดับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย โดยร่วมมือกับ JETRO และ JODC ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้ประกอบการไทย ใน 7 สาขาหลัก เผยเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และการต่อยอดในการทำธุรกิจ เพื่อให้มีต้นทุนต่ำ ตรงกับความต้องการของลูกค้าและทันเวลาที่กำหนด
สถาบันยานยนต์ ได้ร่วมกับ องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) และ Japan Overseas Development Corporation: JODC จัดสัมมนา Automotive Technology Transfer ทางรอดของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย พร้อมจัดนิทรรศการและนำเสนอรูปแบบกรณีศึกษาภายใต้โครงการเสริมสร้างเทคโลยีการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (Automotive Experts Dispatching Program: AEDP)
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ เปิดเผยว่า สถาบันยานยนต์ ได้ร่วมกับ JETRO และ JODC ดำเนินโครงการ AEDP มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ด้วยการสนับสนุน และผลักดันให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) จากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สู่บุคลากรในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เพื่อให้นำความรู้และเทคโนโลยีที่ได้รับการถ่ายทอดไปพัฒนาตนเอง ระบบงาน องค์การ และอุตสาหกรรมต่อไป
สำหรับการดำเนินกิจกรรมของโครงการ AEDP นั้น จะก่อให้เกิดการเรียนรู้และต่อยอดองค์ความรู้ได้อย่างถูกต้องตรงกับสาขาและความต้องการ โดยมีต้นทุนการดำเนินงานต่ำและทันต่อเวลาที่กำหนด โดยที่ผ่านมา ได้มีการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีความรู้ และประสบการณ์ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แต่ละสาขาหรือผลิตภัณฑ์ ไปให้คำปรึกษาแนะนำในรูปแบบของการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่บุคลากรไทยที่อยู่ในโรงงานอย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง
โดยนับแต่เริ่มดำเนินการในเดือนตุลาคม 2546 จนถึง ณ สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2548ที่ผ่านมา โครงการได้ให้บริการปรึกษาแนะนำแก่โรงงานจำนวน 106 โรงงาน 129 รอบกิจกรรม และ 1,033 วันปฏิบัติการ (Man-day) โดยมีบุคลากรที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ เทคนิคการทำงาน จำนวนรวม 308 คน และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเตรียมการเปิดโครงการฯ รอบใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ภายในเร็วๆ นี้
“ปัญหาใหญ่ของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยขณะนี้ คือการดำเนินการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพด้วยต้นทุนที่เหมาะสม ทันตามกำหนดเวลาของลูกค้าและแข่งขัน โดยอาศัยความรู้ทั้งด้านวิศวกรรมและการจัดการ ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นโครงการสำคัญที่ช่วยต่อยอดเทคโนโลยีที่ดำเนินการเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว ให้พัฒนาขึ้นอย่างถูกทิศทางและภายในเวลาที่รวดเร็วยิ่งขึ้น”
อนึ่ง ขอบเขตของการให้บริการภายใต้โครงการ AEDP นั้นประกอบด้วยการดำเนินการ 7 สาขาหลัก คือ Al Casting, Stamping, Machining, Plastic, Painting & Surface Treatment, Plant Management และ Lean Production System โดยในแต่ละสาขาจะมีหัวข้อหลักในการให้บริการ 8 ประเภท คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบ, การลดของเสียในกระบวนการผลิต, การลดต้นทุนการใช้พลังงาน, การลดเวลาสูญเปล่าในกระบวนการผลิต, การออกแบบกระบวนการผลิต, การปรับปรุงเครื่องจักร อุปกรณ์ในกระบวนการผลิต, การวางแผนและควบคุมการผลิตแล อื่นๆ อาทิ การจัดวางผังโรงงาน การออกแบบแม่พิมพ์ อุปกรณ์จับยึด เป็นต้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
ฐนิดา ประพันธ์
0 2712 2414 ต่อ 217
0 1850 8686
e-mail: [email protected]จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๘ Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง