กระทรวงเกษตรฯ จับมือฮังการี หารือความร่วมมือทางวิชาการด้านการเกษตร หนุน MOU ด้าน Animal Health ด้านการเกษตร และด้านความปลอดภัยทางอาหาร พร้อมสานสัมพันธ์แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรระหว่างทั้งสองประเทศ

จันทร์ ๑๑ เมษายน ๒๐๑๖ ๑๖:๕๐
นางวิมลพร ธิติศักดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการหารือด้านการเกษตรร่วมกับ นายกิวลา บูได (Mr.Gyula BUDAI) Ministerial Commissioner, Ministry of Foreign Affairs and Trade of Hungary ว่า ได้มีการหารือความร่วมมือทางวิชาการด้านการเกษตร โดยที่ผ่านมาไทยและฮังการีได้มีความร่วมมือทางวิชาการภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทฮังการี มานานเกือบ 15 ปี มีโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันกว่า 37 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการอยู่ 15 โครงการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการด้านปศุสัตว์และประมง และในโอกาสดังกล่าว ฝ่ายฮังการีได้เสนอจัดทำ MOUด้าน Animal Health ระหว่างกรมปศุสัตว์ และหน่วยงาน Department of Food Chain ของฮังการี ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการส่งร่างแก้ไขของฝ่ายฮังการี ทั้งนี้ หากความตกลงดังกล่าวสำเร็จได้ ก็จะเป็นอีกหนึ่งกรอบความร่วมมือทางวิชาการของระหว่างทั้งสองประเทศ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

?นอกจากนี้ ฮังการีได้ขอให้กรมปศุสัตว์ พิจารณากำหนดการเดินทางไปตรวจประเมินโรงงานผลิตตับเป็ด ตับห่าน ลูกไก่และไข่ฟัก ณ ประเทศฮังการี พร้อมทั้งขอให้เพิ่มการตรวจเนื้อสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์ในการเดินทางไปตรวจประเมิน โดยฮังการีได้ส่งจดหมายเชิญเจ้าหน้าที่กรมไปตรวจประเมินโรงงานผลิตในเบื้องต้นแล้ว ทั้งนี้ ฝ่ายฮังการี ได้เชิญไปร่วมคณะตรวจประเมินที่ประเทศฮังการี เพื่อรับชมโรงงาน และกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานของฝ่ายฮังการีด้วย อย่างไรก็ตาม การเพิ่มเนื้อสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์ในการตรวจประเมินต้องเสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาก่อน ซึ่งกรมปศุสัตว์จะแจ้งผลการพิจารณาให้ทางฮังการีทราบต่อไป นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรยังได้เสนอให้มีความร่วมมือด้านวิชาการเกี่ยวกับพันธุ์องุ่น เพื่อพัฒนาการผลิตไวน์ในประเทศไทยอีกด้วย

?สำหรับด้านการค้าระหว่างไทยและฮังการีนั้น ในระหว่างปี 2555 - 2557 ฮังการีเป็นประเทศคู่ค้าสินค้าเกษตรอันดับที่ 137 ของไทย โดยสินค้าเกษตรส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.สับปะรดปรุงแต่ง 2.ปลาป่น 3.ปลาซาดีนปรุงแต่ง 4.ซอสปรุงแต่งประเภทซอสพริกน้ำปลาและของผสมอื่นๆ ที่ใช้ปรุงรสรวมถึงกะปิ และ 5. ผงโกโก้ที่ไม่เติมน้ำตาล ขณะที่สินค้านำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.เนื้อสัตว์หรือส่วนอื่นๆของสัตว์ที่ป่นหรือทำเป็นเพลเลต 2.ส่วนอื่นๆ ของเป็ดแช่เย็นจนแข็ง 3.หางนม(เวย์) และหางนมดัดแปลง (โมดิไฟเวย์) 4.ส่วนอื่นๆ ของห่านแช่เย็นจนแข็ง และ 5 .อาหารปรุงแต่งอื่นๆ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๗ เม.ย. อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud