สร้างผู้ประกอบการ “Change Maker” สร้างธุรกิจเพื่อสังคมให้ยั่งยืน

พุธ ๒๐ เมษายน ๒๐๑๖ ๐๙:๓๖
ทุกวันนี้มีผู้ประกอบการหน้าใหม่ (Start-up) จำนวนมากที่เริ่มต้นวางแผนและดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม โดยมีเป้าหมายว่าพวกเขาจะเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงโลกได้ เราเรียกคนกลุ่มนี้ว่า "ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง หรือ เช้นจ์เมกเกอร์ (Change Maker)" ซึ่งเป็นนิยามใหม่ของผู้ประกอบการในยุคปัจจุบันที่ไม่ได้มุ่งหวังเพียงแค่การสร้างธุรกิจเพื่อหวังผลกำไรในเฉพาะเพียงตัวเงิน แต่เป็นการทำธุรกิจเพื่อสังคม ที่มีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกและสังคมให้ดีขึ้น

Change Maker คือ ผู้ประกอบการที่มองปัญหาให้เป็นโอกาส รู้จักเลือกกลวิธีในการแก้ปัญหา ชี้แจงรายละเอียดงาน และดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจน มีความกล้าพอที่จะท้าทายความกลัวของตัวเอง และมุ่งหวังอย่างแรงกล้าที่จะผลักดันให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด โดยไม่ตั้งเป้าหมายจากความสามารถหรือทรัพยากรของธุรกิจที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่รู้ว่าต้องการจะทำอะไรก่อน แล้วหาพยายามหาวิธีการที่จะได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ อาทิ การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ การระดมทุน และความช่วยเหลือ และการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งหลายคนอาจจะมีไอเดียที่ดี แต่ความสำเร็จเกิดขึ้นได้จากการลงมือปฏิบัติจริงเพียงเท่านั้น ซึ่งผู้ประกอบการทุกคนสามารถเป็น Change Maker ได้ แต่ถ้าหากยังคงไม่มั่นใจว่าจะเป็น Change Maker ได้หรือไม่ ก็มีหนทางที่จะพัฒนาตัวเองให้ไปสู่เป้าหมายได้ไม่ยาก

ล่าสุดในการจัดการแข่งขันประกวดแผนธุรกิจเพื่อสังคมรอบชิงชนะเลิศระดับโลก (The GSVC 2016 - The Global Final Round) การประกวดแข่งขันเพื่อหาผู้ชนะเลิศที่นำเสนอแผนธุรกิจเพื่อสังคมที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งเป็นความร่วมมือของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และธนาคารไทยพาณิชย์ ได้มีการเปิดเวทีซิมโพเซียมธุรกิจในหัวข้อ Think Big, Act Small ในแนวคิดที่ว่า "คิดการใหญ่ เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ แล้วทำให้ดีที่สุดในจุดที่ทำ" เป็นเวทีที่รวมเอาแนวทางการดำเนินธุรกิจจากกูรู และผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจเพื่อสังคมมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดที่จะต่อยอดในการทำธุรกิจเพื่อสังคม

ดร. เอ็ดเวิร์ด รูเบช ผู้อำนวยการโครงการ GSVC ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่าการจัดกิจกรรม Think Big, Act Small Symposium เป็นเวทีสำคัญ และเปิดโอกาสให้ประเทศไทยได้ชูแนวคิด "นวัตกรรมการศึกษา 3i" เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ และผู้ต้องการเริ่มต้นทำธุรกิจ ได้มีกรอบแนวคิดที่เข้าถึง และเข้าใจง่าย พร้อมๆ กับพัฒนาทักษะในการบริหารจัดการ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกอย่างยั่งยืน

"แนวคิด "นวัตกรรมการศึกษา 3i" เป็นการบูรณาการหัวใจในการดำเนินธุรกิจ 3 องค์ประกอบเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ ความเป็นสากล หรือ International คือ การส่งเสริมและยกระดับวิสัยทัศน์และมุมมองการบริหารธุรกิจของผู้ประกอบการไทยให้มีศักยภาพที่จะมองเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคจนถึงในระดับโลก โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองได้เป็นพันธมิตรในการเรียนการสอนกับสถาบันชั้นนำระดับโลกอย่าง Standford Technology Ventures Program (STVP) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาด้าน Entrepreneurship ระดับโลกของนักธุรกิจ Silicon Valley, Dominican University of California ในการจัดโปรแกรม Green MBA ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ของโลกที่เน้นการจัดการอย่างยั่งยืน และเป็นพันธมิตรในการจัดการแข่งขันแผนธุรกิจเพื่อสังคมระดับโลกกับ University of California, Berkeley ที่สหรัฐอเมริกา รวมทั้งมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชียอย่าง Hitotsubashi University ที่ญี่ปุ่นและ Shanghai University of Finance and Economics ในจีน

นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ หรือ Innovation คือ การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมองหาโอกาสในการทำธุรกิจด้านเทคโนโลยี การสร้างแนวความคิดใหม่ๆ และเปลี่ยนแปลงวิธีทำธุรกิจแบบเดิมๆ เนื่องจากการแข่งขันในปัจจุบันเป็นลักษณะของเศรษฐกิจแห่งองค์ความรู้ (Knowledge Economy) ซึ่งต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ การบริหารจัดการข้อมูลและการสร้างนวัตกรรม

การสร้างผลกระทบเชิงบวก หรือ Impact คือ การปลูกฝังแนวคิดการสร้างคุณค่าให้สังคม สิ่งแวดล้อม และการดำเนินธุรกิจด้วยความยั่งยืน ไม่แค่มุ่งแสวงหาเฉพาะกำไรทางการเงิน แต่เป็นการสร้างคุณค่าและสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ"

จากข้อมูลของ Global Competitiveness Report 2015 ชี้ว่า นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจและเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยประเทศที่มีขีดความสามารถด้านนวัตกรรมสูง มีแนวโน้มที่จะมีค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีกว่าประเทศที่มีความสามารถทางนวัตกรรมที่ต่ำ นอกจากนี้ นวัตกรรมยังส่งผลทางบวกต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของบริษัท เช่น Steve Jobs ได้สร้างนวัตกรรมไอโฟนขึ้นมาจนกลายเป็นผู้นำตลาดสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน

เช่นเดียวกับแนวคิดนวัตกรรมการศึกษา 3i ที่เริ่มต้นจากในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และขยายไปยังมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนด้านการบริหารธุรกิจหลายสถาบันเพื่อร่วมกันปลูกฝังแนวคิดในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนเพื่อนำแนวทาง เศรษฐกิจแห่งองค์ความรู้มาพัฒนาธุรกิจประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ดร.เอ็ดเวิร์ดได้ให้ความเห็นว่า การนำเอาแนวคิดนวัตกรรมการศึกษา 3i เข้ามาใช้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ธุรกิจของไทยให้แข่งขันได้ในตลาดโลก รวมถึงยกระดับและพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้เป็น Change Maker ในโลกธุรกิจในที่สุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๙ ม.กรุงเทพ เห็นถึงคุณค่าพลังงานที่ยั่งยืนเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสร้างสกิลตรง
๑๖:๐๗ แอลจีเผยผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2024 ผลักดันธุรกิจด้วยนวัตกรรมพร้อมรักษาสมดุลระหว่างธุรกิจหลักและการเติบโตในอนาคตเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ
๑๖:๓๕ ฮั้วฟง รับเบอร์ฯ (HFT) จัดประชุมผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.โหวตผ่านฉลุยทุกวาระ
๑๖:๕๒ ซีเอ็ด เปิดสาขาใหม่ที่ตราด! บริจาคหนังสือ 2 แสนบาท หนุนการอ่านในท้องถิ่น
๑๖:๕๙ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ทั้งปีที่อัตราหุ้นละ 0.52
๑๖:๕๙ ปรับการนอนหลับของคุณให้มีคุณภาพดีขึ้นด้วยฟีเจอร์ใน HUAWEI Band 9
๑๖:๓๔ ไฮเออร์ ประเทศไทย โชว์ศักยภาพแกร่ง พาเหรดทัพนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ร่วมจัดแสดงในงาน China Enterprise Product Resources
๑๖:๑๐ สถานทูตอิตาลี เปิดศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าแห่งใหม่ในกรุงเทพ
๑๖:๕๒ CHAYO จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ไฟเขียวทุกวาระ
๑๖:๑๓ ผู้บริหารบางจากฯ แชร์แนวทางขับเคลื่อนการรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ 2 เวที