นศ.มทร.ธัญบุรี สะท้อนเสียงขยับเปิด-ปิดเทอมแบบเดิม

พฤหัส ๐๒ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๑๑:๔๐
ตามที่มีการถกเถียงเกี่ยวกับเปิด-ปิดเทอม ของนักศึกษาในสถาบันการศึกษา เปิด-ปิดแบบในกลุ่มอาเซียน และการเปิด-ปิดเทอมแบบเดิม ของสถาบันอุดมศึกษา นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้บ้าง

"วา" นายธิวาธร พรหมรักษา นายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เล่าว่า ตนเห็นด้วยที่จะขยับไปเปิด-ปิดเทอมระบบเดิมเนื่องจากเปิด-ปิดตามอาเซียน ส่งผลกระทบต่อการเรียนที่ไม่ต่อเนื่องรวมถึงยังเป็นช่วงรอยต่อของน้องๆ นักเรียนชั้น ม.6 ที่จะเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยมีเวลาว่างมากเกินไป รวมถึงในช่วงเดือนเมษายนซึ่งเดิมเป็นการปิดเทอมและมีวันหยุดต่อเนื่องทำให้นักศึกษาหลายคนไม่ได้กลับบ้านไปใช้เวลากับครอบครัวและวันหยุดยาวก็มีผลต่อเวลาเรียนด้วยเช่นกัน นอกจากนี้นักศึกษาที่เรียนสายครูค่อนข้างได้รับผลกระทบมากเนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวต้องออกไปฝึกสอนจนไม่มีเวลาพัก หากขยับกลับไปเป็นระบบเดิมระบบเดียวจะเป็นผลดีมากกว่า

"มะนาว" นายนัฎภรณ์ บุญกอง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ นายกสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เล่าว่า ตนเองเห็นด้วยกับการเปิด-ปิดเทอมระบบเดิม เนื่องด้วยช่วงเดิมเป็นฤดูร้อนทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า และตนเองเคยชินในการนั่งเรียนในช่วงเวลาเดิมมากกว่า อากาศมีผลต่ออารมณ์ของนักศึกษา อากาศร้อนทำให้หงุดหงิด ไม่มีสมาธิในการนั่งสอบเพราะว่าร้อน เป็นไปได้อยากให้ขยับมาเปิด-ปิด เหมือนเดิม

"ผักกาด" นางสาวเกวลี ทองดีเจริญ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร นายกสโมสรนักศึกษาคณะศิลปะศาสตร์ เล่าว่า ในการเปิด-ปิดเทอมแบบเดิมและแบบอาเซียน มีทั้งข้อดีและข้อเสียต่างๆ กัน ถ้าช่วงเดิมทำให้ลดการใช้ทรัพยากรพลังงาน ส่วนแบบอาเซียน ถ้าเปิด-ปิดเหมือนประเทศอื่น ประเทศไทยจะไม่เสียเปรียบทางด้านการศึกษา แต่ด้วยภูมิประเทศ ภูมิอากาศของประเทศไทยไม่เอื้อ ตนเองคิดว่าเปิด-ปิดแบบเดิมน่าจะเหมาะกับประเทศไทย เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว สำหรับใครที่มีเวลาว่างๆ ควรฝึกภาษาอังกฤษ หรือภาษาประเทศพื้นบ้าน เพื่อเป็นใบเบิกทางในอนาคต

ทางด้านนายกสโมสรนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ "เมย์" นายชัยโรจน์ บุญลาภ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา เล่าว่า ตนเองมองว่า ในการเปิด-ปิด ตามอาเซียน ระยะเวลาในการปิดภาคเรียนเยอะเกินไป สำหรับน้องที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยมีเวลาว่างมากเกินไป อาจจะทำให้ลืมวิชาความรู้ แบบเดิมเป็นช่วงระยะเวลาที่เหมาะ ปิดเทอมเพื่อผ่อนคลาย แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเปิด-ปิดแบบเดิม หรือแบบในกลุ่มอาเซียน การวางแผนการเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญ น้องๆ ปีหนึ่งที่กำลังจะเข้ามาเรียนควรมีการเตรียมตัวปรับตัวให้พร้อมกับการเรียนในระดับมหาวิยาลัย

เป็นเสียงสะท้อนของนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปิด-ปิดเทอมของสถาบันการศึกษา แต่อย่างไรเมื่อมหาวิทยาลัยมีมติอย่างไรก็ตาม ทางนักศึกษาต้องปฏิบัติตามมาตรการของมหาวิทยาลัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๘ Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง