จ่ายเงินผ่านบัตรดันจีดีพีไทยเพิ่มขึ้น 1.13 แสนล้านบาท ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา นับเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในทวีปเอเชีย

ศุกร์ ๐๓ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๑๖:๕๐
งานวิจัยวีซ่าจากทั้งหมด 70 ประเทศ ในระหว่างปี พ.ศ. 2554 – 2558 ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงจากระบบชำระเงินที่ใช้เงินสดเป็นหลักไปสู่การชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ มีส่วนช่วยเพิ่มจีดีพีเกือบสามแสนล้านดอลล่าสหรัฐ

ผลสำรวจของวีซ่า จัดทำโดย บริษัท มูดี้ส์ อนาลิติคส์ (Moody's Analytics) แสดงให้เห็นว่า จำนวนธุรกรรมและมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงการชำระผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัตรพรีเพด เพิ่มมูลค่าให้เศรษฐกิจไทยถึง 3.18 พันล้านดอลล่าสหรัฐ (1.13 แสนล้านบาทโดยประมาณ) หรือสูงขึ้น 0.19 เปอร์เซ็นต์ในอัตราการเติบโตของจีดีพีทั้งหมด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ถึงพ.ศ. 2558 ซึ่งถือได้ว่าเป็นค่าเฉลี่ยที่เพิ่มสูงที่สุดในทวีปเอเชีย

เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค อัตราการเติบโตของจีดีพีที่เป็นผลมาจากการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยโตมากกว่าถึงสามเท่าตัว ในทวีปเอเชีย "อีเพย์เมนต์" ดันจีดีพีของภูมิภาคโดยรวมเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 0.06 เปอร์เซ็นต์ สำหรับประเทศที่มีการเติบโตรองจากประเทศไทย คือเวียดนามที่ 0.14 เปอร์เซ็นต์ และตามมาด้วยสิงคโปร์ที่ 0.1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในประเทศไทยเองนั้นผลพลอยได้จากการเติบโตของการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์นั้นสร้างงานกว่า 75,730 อัตรา ต่อปี ในช่วงเวลาห้าปี

นายสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า "งานวิจัยได้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ต่างๆของระบบชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจไม่เฉพาะในประเทศไทยแต่ทุกประเทศทั่วโลกด้วย โดยผลสำรวจยังระบุให้เห็นว่านโยบายรัฐบาลที่เหมาะสมจะช่วยพัฒนาระบบชำระเงินที่เปิดกว้างและมีการแข่งขันที่สูงขึ้น ทั้งยังส่งผลถึงการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและสนับสนุนให้เกิดการสร้างงานอีกด้วย"

"ในประเทศไทย วีซ่าได้ร่วมมือกับสถาบันทางการเงิน ร้านค้า บริษัทด้านเทคโนโลยี และหน่วยงานภาครัฐ เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อให้การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงและจับต้องได้ รวมไปถึงการเร่งสร้างความรู้ ความเข้าใจ การยอมรับในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยขยายร้านค้าทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ และการส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รวมไปถึงการนำประโยชน์ในการชำระเงินผ่านบัตรมาให้แก่ประชาชนทั่วประเทศ" นายสุริพงษ์ กล่าวเสริม

ผลสำรวจโดย มูดี้ส์ อนาลิติคส์ ได้ทำการวิเคราะห์ถึงผลกระทบของการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในด้านการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ จาก 70 ประเทศทั่วโลก ระหว่างปี พ.ศ. 2554 – 2558 เผยให้เห็นว่าการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัตรพรีเพด มีส่วนเพิ่มมูลค่าให้จีดีพีถึง 296 พันล้านดอลล่าสหรัฐ และยังส่งผลต่อการบริโภคสินค้าและบริการในระดับครัวเรือนโดยเฉลี่ย 0.18 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ของมูดี้ส์ยังประเมินจำนวนเฉลี่ยของงานที่เกิดจากระบบการชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ที่ 2.6 ล้านงานต่อปีภายในห้าปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีการเปลี่ยนจากการใช้เงินสดมาเป็นธุรกรรมการเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลครอบคลุม 70 ประเทศคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 95% ของจีดีพีของโลก

นายมาร์ค แซนดี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของมูดี้ส์ อนาลิติกส์ กล่าวว่า "การชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มีส่วนเป็นอย่างมากในการสนับสนุนการบริโภคภายใน การเพิ่มศักยภาพการผลิตภาคส่วนอุตสาหกรรม การเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจ และการสร้างงาน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ประเทศที่มีการใช้บัตรสูง จะมีอัตราการเจริญเติบโตในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจที่สูงตามมา"

ผลสำรวจดังกล่าวยังถูกนำไปใช้ในรายงาน "ผลกระทบของการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ"ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสู่การชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์จะเอื้อประโยชน์ให้กับภาครัฐ รวมทั้งสร้างความแข็งแกร่งและเปิดโอกาสให้กับอีกหลากหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้การชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยลดจำนวนของเศรษฐกิจนอกระบบ ซึ่งเป็นลักษณะการทำธุรกิจที่ใช้เงินสดเป็นหลัก และไม่ได้รวมอยู่ในสถิติทางราชการ โดยผลที่ได้จากการชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ในส่วนนี้คือ รัฐจะมีรายได้ที่มาจากการจ่ายภาษีมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมด้วยเงินสด สร้างความมั่นใจทางการเงินให้กับร้านค้า และทำให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้น

สาระสำคัญจากผลวิจัย:

โอกาสในการเจริญเติบโต:การเข้าถึงบัตร: การบริโภคที่แท้จริง มีการเติบโตโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2.3 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 – 2558 โดยจำนวน 0.01 เปอร์เซ็นต์นั้นเป็นผลมาจากการใช้บัตรที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อันถือได้ว่าการใช้บัตร กระตุ้นการบริโภคที่ 0.4 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเจริญเติบโต ดังนั้นยอดการเติบโตของการบริโภคโดยเฉลี่ยในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่จึงมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น จากการเพิ่มบัตรในตลาด

การใช้บัตร: ประเทศที่พบว่ามีการใช้จ่ายผ่านบัตรสูง จะมีค่าจีดีพีที่สูงตาม อาทิ ฮังการี (0.25 เปอร์เซ็นต์) สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (0.23 เปอร์เซ็นต์) ชิลี (0.23 เปอร์เซ็นต์) ไอร์แลนด์ (0.2 เปอร์เซ็นต์) โปแลนด์ (0.19 เปอร์เซ็นต์) และออสเตรเลีย (0.19 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ มีอัตราการใช้งานผ่านบัตรที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรก็ตาม

ประโยชน์ต่อการจ้างงาน:อัตราการใช้จ่ายผ่านอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มมากขึ้น มีส่วนช่วยเพิ่มงานโดยเฉลี่ยกว่า 2.6 ล้านอัตราต่อปี ใน 70 ประเทศวิจัยทั่วโลกในระหว่างปีพ.ศ. 2554 – 2558 โดยประเทศที่มีอัตราว่าจ้างงานเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นคือจีนและอินเดีย โดยได้มีการว่าจ้างงานเพิ่มขึ้นถึง 427,000 อัตราในจีน และมากถึง 336,000 อัตรา ในอินเดีย ซึ่งทั้งสองประเทศนี้มีการจ้างงานที่เพิ่มมากขึ้นเพราะศักยภาพการผลิตที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการมีจำนวนการชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มมากขึ้น

ตลาดเกิดใหม่และประเทศที่พัฒนาแล้ว:กลุ่มตลาดที่เกิดใหม่และประเทศที่พัฒนาแล้ว ต่างเห็นถึงปริมาณการบริโภคที่เพิ่มขึ้น หลังมีจำนวนการใช้บัตรสูง ซึ่งในตลาดเกิดใหม่นั้น การใช้บัตรที่เพิ่มขึ้นมีส่วนช่วยเพิ่มการบริโภคถึง 0.2 เปอร์เซ็นต์ และสูงถึง 0.14 เปอร์เซ็นต์ในประเทศที่พัฒนาแล้วในระหว่างปีพ.ศ. 2554 – 2558 ซึ่งส่งผลถึงค่าจีดีพีเพิ่มขึ้น 0.11 เปอร์เซ็นต์ ในตลาดเกิดใหม่ และ 0.08 เปอร์เซ็นต์ในประเทศที่พัฒนาแล้ว หากว่าไม่มองถึงอัตราการเข้าถึงการใช้บัตรแล้ว เมื่อประเทศใดมีการใช้บัตรที่เพิ่มขึ้นก็จะส่งผลต่อจำนวนการบริโภคที่สูงขึ้นตามไปด้วย

โอกาสการเติบโตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต:จากผลการสำรวจของมูดี้ส์ ใน 70 ประเทศ พบว่า ทุกๆ การเพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์ในการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถช่วยสร้างรายได้ให้กับด้านการบริโภคสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละราว 1.04 แสนล้านดอลล่าสหรัฐ ซึ่งหากยังสามารถคงปัจจัยทั้งหมดนี้ได้ต่อไปในอนาคต สัดส่วนของการชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์จะมีส่วนช่วยดันให้เพิ่มจีดีพีสูงถึง 0.04 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี

ผลงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าลำพังการขยายช่องทางการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยเพิ่มความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศได้ทีเดียว ซึ่งหากต้องการผลลัพท์ที่ดีที่สุด จะต้องมีโครงสร้างการเงินที่ได้รับการพัฒนามาเป็นอย่างดี พร้อมระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ซึ่งผลงานวิจัยแนะนำถึงการพัฒนาว่าควรต้องเริ่มในระดับมหภาค นโยบายภาครัฐมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่การชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะข้อบังคับที่เปิดกว้างมีประสิทธิภาพ สร้างโครงสร้างทางการเงินที่แข็งแกร่ง อันจะนำไปสู่การกระตุ้นการบริโภคภายในที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

สามารถอ่านงานวิจัยและติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.visa.com/moodysanalytics

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง