เกษตรฯ รุกดำเนินงานพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ย้ำ เร่งรัด ยกระดับพัฒนาสหกรณ์-ด่านสินค้า

จันทร์ ๑๓ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๑๖:๓๕
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษด้านการเกษตรและสหกรณ์ ปี 59-61 ชูกรอบแนวการดำเนินงานรวม 4 ด้าน พร้อมเร่งดำเนินการพัฒนาศักยภาพสหกรณ์ ด่านสินค้าเกษตรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง หวังลดปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรที่ผิดกฎหมาย เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

นายสุรพงษ์ เจียสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการดำเนินงานตามกรอบแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษด้านการเกษตรและสหกรณ์ ปีงบประมาณ 2559 – 2561 โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษด้านการเกษตรและสหกรณ์ มีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยกำหนดกรอบแนวการดำเนินงานรวม 4 ด้าน คือ การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาพื้นที่ การพัฒนาสินค้า และการบริหารจัดการ ซึ่งขณะนี้ได้มีประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) เรื่องการกำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษรวม 10 จังหวัด ได้แก่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย เขตเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษกาญจนบุรี

ด้านนางสาวจริยา สุทธิไชยา รองเลขาธิการ สศก. กล่าวเสริมถึงการดำเนินงานในขณะนี้ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการในทุกด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด่านสินค้าเกษตร เพื่อให้ด่านตรวจและระบบตรวจสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐานสากลทั้งด่านตรวจพืช ด่านตรวจสัตว์น้ำ และด่านกักกันสัตว์ เช่น พัฒนาการตรวจสอบและวินิจฉัยจำแนกชนิดศัตรูพืช (Remote Microscope Diagnosis : RMD) แบบ Real Time ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในสินค้านำเข้า เพื่อให้มีความรวดเร็ว และแม่นยำ ส่งผลให้การเคลื่อนย้ายสินค้าเกษตรเกิดความคล่องตัว และลดปัญหาการลักลอบการนำเข้าสินค้าเกษตร รวมถึงลดปัญหาโรคระบาด ดำเนินการพัฒนาระบบส่วนขยายเพิ่มเติมเพื่อผู้นำเข้าและผู้ส่งออกตามมาตรฐานบังคับผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลกับ National Single Window (NSW) ซึ่งจะเป็นระบบส่วนกลางครอบคลุมทุกด่านสินค้าเกษตร เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกรรมพิธีการด้านการนำเข้าและส่งออกสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับความสะดวกในการยื่นขอใบอนุญาตและแจ้งการส่งออกนำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ

สนับสนุนการจัดหาพื้นที่ โดยส่งมอบพื้นที่ให้แก่กรมธนารักษ์ เพื่อให้เอกชน หรือ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เช่าพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ในพื้นที่จังหวัดตาก สระแก้ว มุกดาหาร และเชียงราย การพัฒนาระบบชลประทานเพื่อรองรับพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก ตราด มุกดาหาร สงขลา หนองคาย และนครพนม เช่น ฝาย แก้มลิง อ่างเก็บน้ำ สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำ ประตูระบายน้ำ เป็นต้น ซึ่งสามารถเพิ่มพื้นที่รับประโยชน์ถึง 42,700 ไร่

นอกจากนี้ การบริหารจัดการผลิตผลทางการเกษตรโดยสหกรณ์ ยังเป็นอีกหนึ่งการดำเนินงานที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความสำคัญ ซึ่งมีแผนดำเนินการจัดตั้งศูนย์รับซื้อสินค้าเกษตรในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ตาก สระแก้ว และสงขลา (สะเดา) เพื่อแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการผลิตผลทางการเกษตรในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษให้มีเสถียรภาพด้านราคาและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ลดปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรมาปลอมปน และเพิ่มศักยภาพของสหกรณ์ในพื้นที่ โดยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก สหกรณ์นิคมแม่สอด จำกัดสหกรณ์นิคมแม่ระมาด จำกัด สหกรณ์การเกษตรแม่ระมาด จำกัด และสหกรณ์การเกษตรพบพระ จำกัด ได้ร่วมกันนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเมียนมาร์ จำนวน 5,090 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 39 ล้านบาท โดยนำผลผลิตมาปรับปรุงคุณภาพ และมีแผนเพื่อจำหน่ายให้เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ฉะเชิงเทรา จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี จำกัด

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว โดยสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด นำเข้ามันสำปะหลังจากกัมพูชา จำนวน 3,200 ตัน คิดเป็นมูลค่า 22.56 ล้านบาท โดยนำมาเป็นวัตถุดิบในการทำอาหารสัตว์เพื่อใช้ในกิจการโคนมของสหกรณ์ และสหกรณ์การเกษตรสะเดา จำกัด จ.สงขลา มีแผนที่จะดำเนินการจัดตั้งศูนย์รับซื้อสินค้าเกษตร โดยมีการเตรียมพื้นที่ และเตรียมการที่จะก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในรูปแบบตลาดกลางเพื่อให้เกษตรกรนำสินค้ามาจำหน่ายในพื้นที่ และมีแผนในการขยายการดำเนินธุรกิจโดยรับซื้อผลผลิตจากประเทศมาเลเซีย ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ จะเร่งดำเนินการพัฒนาศักยภาพสหกรณ์ ด่านสินค้าเกษตรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรที่ผิดกฎหมาย เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต การตลาด ให้สมาชิกสหกรณ์ และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๓๐ เม.ย. GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๓๐ เม.ย. PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๓๐ เม.ย. LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๓๐ เม.ย. ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๓๐ เม.ย. LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๓๐ เม.ย. SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๓๐ เม.ย. STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๓๐ เม.ย. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน