ก๊อปเกรดเออึ้ง นักวิจัยธรรมศาสตร์ โชว์ “แอปฯ ตรวจกระเป๋าแอร์เมส” ครั้งแรกของโลก! พร้อมสร้างความฮือฮาในเวทีวิจัยระดับโลก

อังคาร ๑๔ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๑๒:๒๖
· นักวิจัยธรรมศาสตร์ สร้างนวัตกรรม "เครื่องตรวจสอบความแท้และไม่แท้ของกระเป๋า Hermès" คว้ารางวัลเหรียญทองแดง งานประกวดนวัตกรรมนานาชาติกรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ โชว์ "แอปพลิเคชัน Bagtector"เครื่องมือตรวจสอบความแท้และไม่แท้ของกระเป๋าแบรนด์เนมแอร์เมส (Hermès) โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมเชิงลึก(Deep Neural Network) ในการตรวจจับรูปแบบและริ้วรอยบนโลโก้ของกระเป๋า รวมถึงวัสดุที่ใช้ด้วยวิธีง่ายๆ ใน 2 ขั้นตอน เพียงใช้แอปพลิเคชัน"ถ่ายภาพโลโก้กระเป๋าต้องการตรวจ" แล้ว "กดประมวลผล" จากนั้นภาพจะถูกส่งไปประมวลผลยังเครื่องแม่ข่ายโดยใช้เวลาไม่เกิน 30 วินาที และส่งผลกลับมาแสดงบนหน้าจอสมาร์ทโฟน ทั้งนี้ ผลงานดังกล่าวได้รับรางวัลเหรียญทองแดง ด้านซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ จากเวทีประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับโลก ในงาน International Exhibition of Inventions of Geneva ครั้งที่ 44เมื่อเดือนเมษายนที่ ผ่านมา ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

รศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า กระเป๋าแอร์เมส (Hermès) เป็นกระเป๋าแบรนด์เนมที่ได้รับความนิยมและมีความต้องการในตลาดสูงมาก แม้จะมีราคาแพง กล่าวคือ มีราคาตั้งแต่ใบละหลายแสนบาทจนถึงใบละหลายล้านบาทแต่ก็มีข้อมูลวิจัยกล่าวว่า การลงทุนในกระเป๋าแอร์เมสถือว่าเป็นการลงทุนที่มีผลตอบแทนมากกว่าการลงทุนในทองคำหรือในหุ้นอย่างไรก็ตามผู้ที่มีกำลังซื้อกระเป๋าจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงการซื้อจากช็อปแอร์เมสได้โดยตรงเนื่องจากต้องมีเครดิตมากเพียงพอ จึงเกิดธุรกิจหิ้วกระเป๋าและธุรกิจกระเป๋ามือสองเกิดขึ้นมากมาย ยิ่งไปกว่านั้น กระเป๋าแอร์เมสยังถูกหยิบฉวยไปปลอมแปลงในหลายระดับคุณภาพตั้งแต่ประเก๋าปลอมที่สามารถมองเห็นความแตกต่างด้วยตาเปล่าจนถึงระดับแนบเนียนมากจนอาจแยกไม่ออกด้วยตาเปล่า

คณะผู้วิจัย เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ในการอำนวยความสะดวกและเพิ่มความเชื่อมั่นแก่ผู้ที่ต้องการครอบครองกระเป๋าแอร์เมสและอาจไม่สามารถซื้อจากช็อปได้โดยตรง จึงได้ทำการคิดค้นและพัฒนา "แอปพลิเคชั่น Bagtector" เครื่องมือตรวจสอบความแท้และไม่แท้ของกระเป๋าแอร์เมส ด้วยการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) กล่าวคือ โครงข่ายประสาทเทียมเชิงลึก (Deep Neural Network) ซึ่งเป็นแบบจำลองการทำงานของเซลล์สมองสามารถจดจำ เรียนรู้ แยกแยะสิ่งต่าง ๆ โดยนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนได้อย่างถูกต้องแม่นยำมาใช้ในการตรวจความแท้และไม่แท้ของกระเป๋าได้อย่างง่ายดายพร้อมแสดงผลผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน

สำหรับขั้นตอนการใช้งานแอปพลิเคชัน สามารถทำได้โดยง่ายใน 2 ขั้นตอนเพียง"ถ่ายภาพไปที่โลโก้กระเป๋าต้องสงสัย"แล้ว "กดประมวลผล" ในแอปพลิเคชัน จากนั้นภาพจะถูกส่งเข้าสู่ระบบประมวลผลยังฐานข้อมูลที่สหราชอาณาจักร เพื่อทำการตรวจจับความแตกต่างของรายละเอียดโลโก้ แรงบีบอัดและริ้วรอยของโลโก้บนกระเป๋า รวมไปถึงวัสดุที่ใช้ ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวใช้เวลาไม่เกิน 30 วินาทีเพียงเท่านี้ ระบบก็จะแสดงผลผ่านแอปพลิเคชันว่ากระเป๋าต้องสงสัยเป็นของแท้หรือไม่แท้ อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการทดสอบความเสถียรของการตรวจความแท้-ไม่แท้ของกระเป๋าแอร์เมส ทางทีมวิจัยได้ทำการประสานไปยังเหล่าเซเลปคนดังที่มีแอร์เมสของจริง ทั้งในรุ่นเคลลี่ (Kelly) และเบอร์กิน (Birkin) ที่มีใบเสร็จฯ ยืนยัน รวมกว่า 200 ใบ นอกจากนี้ ยังหาตัวอย่างกระเป๋าปลอมจากร้านขายกระเป๋าตามแหล่งต่างๆ โดยรวบรวมกระเป๋าที่มีคุณภาพตั้งแต่ระดับเอ (A) 2เอ (AA) 3เอ (AAA) ไปจนถึงระดับมิลเลอร์ (Mirror) ที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับกระเป๋าแบรนด์เนมของแท้มากที่สุด

ทั้งนี้ ในอนาคต ทีมนักวิจัยคาดจะมีการขยายผลให้สามารถตรวจกระเป๋าพราด้า (Prada) หลุยส์ วิตตอง (Louis Vuitton) รวมไปถึงนาฬิกาแบรนด์เนมดังๆ เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคที่ชื่นชอบและใช้แบรนด์เนม อย่างไรก็ดี เครื่องมือตรวจสอบความแท้และไม่แท้ของกระเป๋าแบรนด์เนมแอร์เมส โดยอาศัยโครงข่ายประสาทเทียมเชิงลึก ถือเป็นตรวจสอบความแท้และไม่แท้ของกระเป๋าแบรนด์เนมแอร์เมสเครื่องแรกของโลกที่พัฒนาขึ้น และสามารถใช้ได้จริงในการตรวจสอบโดยผลงานดังกล่าวได้รับรางวัลเหรียญทองแดง ด้านซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ จากเวทีประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับโลกในงาน International Exhibition of Inventions of Geneva ครั้งที่ 44 เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส รศ.ดร.จาตุรงค์ กล่าว

"มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุ่งมั่นสู่การเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อสังคมไทย ปลูกฝังจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ต่อบุคลากรและนักศึกษา ด้วยการยึดมั่นในความเป็นธรรม การมีจิตสาธารณะ และการมีความรับผิดชอบต่อสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างบัณฑิตยุคใหม่ให้มีคุณสมบัติผู้นำแห่งศตวรรษที่ 21"

สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์02-564-4493 หรือเว็บไซต์ www.tu.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง