สององค์กรภาคประชาสังคม ผนึกกำลังขึ้นเหนือสานต่อกิจกรรมสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค “ป้องกันดีกว่าการรักษา” ที่จังหวัดเชียงใหม่

พุธ ๒๗ กรกฎาคม ๒๐๑๖ ๐๙:๕๐
ศ.คลินิก นพ.วัฒนา นาวาเจริญ (กลาง) คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วย รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ (สองจากซ้าย) นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ (สองจากขวา) ประธานมูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชนและอดีตอธิบดีกรมควบคุมโรค รศ.พญ.ดร. เพณณินาท์ โอเบอร์ดอร์เฟอร์ (ซ้ายสุด) หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ รศ. พญ. แรกขวัญ สิทธิวางค์กูล (ขวาสุด) รองหัวหน้าหน่วยโรคหัวใจเด็ก ภาควิชากุมาร คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดงานกิจกรรม โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคไอพีดี ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

เชียงใหม่, ประเทศไทย, กรกฎาคม พ.ศ. 2559 – สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน เดินหน้าสานต่อกิจกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคไอพีดีแก่เด็กกลุ่มเสี่ยงทั่วทุกภูมิภาค ผ่านทางโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสเพื่อเด็กกลุ่มเสี่ยง เพื่อรณรงค์สัปดาห์เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโลก (World Immunization Week 2016) แก่โรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อในเด็กทั่วทุกภูมิภาค โดยในเดือนกรกฎาคมนี้เดินหน้าขึ้นเหนือร่วมกับสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน และการป้องกันโรค ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เชื่อมั่นการป้องกันโรคดีกว่าการรักษาโรค

โดยโครงการนี้ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงสัปดาห์สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลกประจำปี 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งองค์การอนามัยโลกกำหนดให้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเมษายน และปีนี้ได้มีการส่งเสริมเรื่องการลดช่องว่างการสร้างภูมิคุ้มกัน หรือ "Close the Immunization Gap" เพื่อสร้างความรู้และความตระหนักให้แก่บุคคลทั่วไป ให้เห็นถึงความสำคัญของการป้องกันโรคด้วยวัคซีน และรณรงค์ให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้รับการปกป้องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน[1] ซึ่งจากข้อมูลของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สหรัฐฯ (CDC) แสดงให้เห็นว่าการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนป้องกันโรคได้รับการยอมรับในระดับสากลให้เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นลดการเกิดโรคคอตีบ, ไอกรน, บาดทะยัก, หัด, หัดเยอรมัน,คางทูม, ไวรัสตับอักเสบเอ, ไวรัสตับอักเสบบี, อีสุกอีใส รวมทั้งโรคไอพีดี[2] เป็นต้น

กิจกรรมสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน "ป้องกันดีกว่าการรักษา" นอกจากจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้แล้ว ยังมีการมอบวัคซีนป้องกันโรค ไอพีดีให้แก่เด็กกลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถเข้าถึงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่เป็นโรงเรียนแพทย์ใหญ่ที่สุดในการรักษาผู้ป่วยเด็กกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในภูมิภาคนี้ และยังสามารถเข้าถึงเด็กกลุ่มเสี่ยงโรคไอพีดีได้เป็นจำนวนมาก อาทิ เด็กในกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ, ผู้ป่วยโรคเลือด, ผู้ป่วยโรคหอบหืด เป็นต้น

รองศาสตราจารย์พิเศษนายแพทย์ทวี โชติพิทยสุนนท์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "ปีที่แล้ว ทางสมาคมฯได้ส่งมอบวัคซีนป้องกันไอพีดีเพื่อเด็กกลุ่มเสี่ยงจำนวน 500 โด๊สแก่โรงพยาบาลหลายแห่ง ซึ่งมีเด็กในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไอพีดีได้รับวัคซีนนี้ไปแล้วมากกว่าหลายร้อยคน ในปีนี้เราได้เพิ่มจำนวนการส่งมอบเป็น 5,000 โด๊ส เพื่อให้สามารถเข้าถึงเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและไม่สามารถเข้าถึงการป้องกันได้เพิ่มขึ้นและทั่วถึงยิ่งขึ้น โดยจะครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย"

ทางสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และมูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคและลดการเสียชีวิตจากโรคนี้ จึงได้ร่วมมือกันจัดตั้งโครงการขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตัวกลางในการส่งมอบวัคซีนให้แก่โรงพยาบาลที่เด็กกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไอพีดีและยังไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคนี้ได้ได้ เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพเด็กเล็กให้ดียิ่งขึ้น และสอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมไทย

นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ ประธานมูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชนและอดีตอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า "เราได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการกระจายการส่งมอบวัคซีนให้เข้าถึงเด็กกลุ่มเสี่ยงได้มากที่สุด เราจึงได้ร่วมมือกับสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ เพื่อจัดกิจกรรมให้ความรู้ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและการป้องกันโรค ให้แก่ผู้ปกครอง เด็ก และบุคคลทั่วไปได้รับประโยชน์"

รศ.พญ.ดร. เพณณินาท์ โอเบอร์ดอร์เฟอร์ แพทย์หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า "ทางเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และมูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน ในการส่งมอบวัคซีนให้แก่เด็กกลุ่มเสี่ยงในภาคเหนือ รวมถึงการจัดกิจกรรมดีๆในการมอบความรู้ความเข้าใจถึงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และการป้องกันโรคให้แก่เด็กๆและผู้ปกครองที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่นี้ ในฐานะที่เป็นโรงเรียนแพทย์ในภูมิภาคนี้และมีแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อในเด็กที่สามารถช่วยกันคัดกรองความต้องการวัคซีนของเด็กกลุ่มเสี่ยงนี้ เราจะนำวัคซีนที่ได้รับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็กกลุ่มเสี่ยงนี้ในภูมิภาค"

ทั้งสององค์กรได้ให้ความสำคัญในการส่งมอบวัคซีนให้แก่เด็กกลุ่มเสี่ยงที่ทางบ้านมีรายได้ครัวเรือนต่ำ ไม่สามารถเข้าถึงและยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคไอพีดีมาก่อน เด็กกลุ่มเสี่ยงตามตารางการให้วัคซีนในเด็กซึ่งแนะนำโดย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ป่วยโรคมะเร็ง, ผู้ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต และเบาหวาน อีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๓ ธ.ค. SVT ออกบูธ งาน Franchise SME Expo 2024 ชูศักยภาพ 1 ในผู้นำธุรกิจ เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ
๐๓ ธ.ค. PLANET จับมือ Skydio โชว์ โดรนอัจฉริยะทางการทหาร
๐๓ ธ.ค. ลาซาด้า เปิด 'คัมภีร์ 4 คุ้ม' เอาใจนักช้อป ชี้เป้าที่สุดแห่งความคุ้มค่าใน '12.12' เซลใหญ่ ส่งท้ายปี'
๐๓ ธ.ค. เปรียบเทียบฟอกสีฟัน Zoom VS ฟอกสีฟัน Cool Light ต่างกันอย่างไร
๐๓ ธ.ค. เปิดเคล็ดลับการเช็กเบี้ยประกันรถยนต์ออนไลน์
๐๓ ธ.ค. กทม. แนะวิธีใช้น้ำประปาช่วงน้ำทะเลหนุนสูง - น้ำเค็มรุกล้ำ ป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ
๐๓ ธ.ค. กทม. เพิ่มมาตรการความปลอดภัยโครงการก่อสร้างทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง
๐๓ ธ.ค. เจมีไนน์ นรวิชญ์ ชวนแฟน ๆ ร่วมน็อคเอาท์คราบหนัก ในงาน บรีส ศึกสู้คราบหนัก Breeze Stains Fight x Gemini
๐๓ ธ.ค. การใช้บริการผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ยกระดับองค์กรได้อย่างไร ?
๐๓ ธ.ค. 6 เรื่องน่ารู้เพื่อการใช้นาฬิกาวิ่งอย่างคุ้มค่า อ่านเลย !