เด็กสารสาสน์เอกตราสุดเจ๋ง โชว์ไอเดียประดิษฐ์ Ingenious Robotic Arm แขนกลอัจฉริยะ สั่งงานผ่านเสียง ช่วยผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

จันทร์ ๐๕ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๕:๔๓
นักเรียนสารสาสน์เอกตราสุดเจ๋ง เปิดตัวสิ่งประดิษฐ์ Ingenious Robotic Arm แขนกลอัจฉริยะ เพื่อบรรเทาทุกข์ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ประจำปี 2559 ของโรงเรียนสารสาสน์เอกตรา ภายใต้คอนเซ็ปต์ "การสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์"

รายงานข่าวจากโรงเรียนสารสาสน์เอกตราเปิดเผยว่า จากการจัดกิจกรรม "สัปดาห์วิทยาศาสตร์ 2559" ภายใต้คอนเซ็ปต์ "การสร้างสรรค์นวัตกรรมโดยใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์" มาพัฒนาศักยภาพของตัวเอง โดยการประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์ในปีนี้ ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โครงงาน "แขนกลอัจฉริยะ" ที่ได้โชว์ไอเดียประดิษฐ์ Ingenious Robotic Arm แขนกลอัจฉริยะ สั่งงานผ่านเสียง บรรเทาทุกข์ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยทีมนักประดิษฐ์ประกอบด้วย นายรพีพัชร อรุณีนิรนาม, นายกรกฎ ชิดเชียร์, นายเอกภณ ก่อสินเจริญ, นายวศิน เรื่องปราชญ์ และนายอิธิวัสส์ จิราธิกุลธัญสิริ

นายรพีพัชร์ อรุณีนิรมาน นักประดิษฐ์เยาวชนคนเก่ง หนึ่งในทีมประดิษฐ์ Ingenious Robotic Arm แขนกลอัจฉริยะ กล่าวว่า "หลังจากที่เคยชมภาพยนตร์เรื่องไอรอนแมน ได้เห็นแขนกลที่เป็นผู้ช่วยอัจฉริยะ และได้เห็นผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงอยากประดิษฐ์อุปกรณ์หุ่นยนต์ที่สามารถใช้งานได้จริง และมีประโยชน์ต่อผู้อื่น ทางกลุ่มจึงได้ประดิษฐ์ Ingenious Robotic Arm แขนกลอัจฉริยะ ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการช่วยเหลือผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง และผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สำหรับความพิเศษของแขนกลอัจฉริยะที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้น มีคุณสมบัติ คือการรับคำสั่งด้วยเสียง ต่างจากในปัจจุบันที่แขนกลอัจฉริยะที่มักจะสั่งงานด้วยรีโมทหรืออุปกรณ์บังคับ จึงนำแนวคิดมาต่อยอดพัฒนาใหม่ให้สามารถสั่งด้วยเสียงได้ เพื่อความสะดวกสำหรับผู้ใช้ โดยอุปกรณ์แขนกลอัจฉริยะที่คิดค้นขึ้นมานั้น ใช้งานง่ายผ่านระบบสั่งการด้วยเสียงจากสมาร์ทโฟน โดยทางทีมใช้เวลาในการผลิตและพัฒนาทั้งสิ้นเป็นเวลา 2 เดือน โดยขั้นตอนแรกเริ่มจากการวาดโครงสร้าง, คิดสูตรของโปรแกรมในการประดิษฐ์, ปรับแนวความคิดในการสั่งงานด้วยเสียง, ประกอบรูปร่าง, ต่อวงจร และทดสอบจนกว่าจะใช้งานได้จริง ซึ่งทางทีมได้ใช้โปรแกรม SketchUp ซึ่งเป็นโปรแกรมสามมิติ ที่สามารถสั่งให้เคลื่อนไหวตามเสียงได้นั่นเอง

"ในอนาคตข้างหน้าจะพัฒนาเป็นระบบไฮดรอลิก ช่วยให้เคลื่อนไหวได้เร็วและแรงยิ่งขึ้น เพื่อช่วยเหลือคนบาดเจ็บที่อยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ด้วยการทำงานเป็นระบบไร้สาย เพื่อสะดวกต่อการใช้งานและเหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง" นักประดิษฐ์เยาวชนคนเก่งจากรั้วสารสาสน์เอกตรากล่าว

ด้านนางสุภาวดี โชติวรรณพร รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการประถมและมัธยม กล่าวว่า การจัดงานในปีนี้เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งและค่อนข้างพอใจกับโครงงานของนักเรียน เพราะเด็ก ๆ ทุกคน ในทุก ๆ ระดับชั้นได้มีส่วนร่วมในการประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ อีกทั้งการจัดกิจกรรมเหล่านี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ในการพัฒนาทักษะกระบวนการความคิดทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นฟิสิกส์ เคมี และเพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ รวมทั้งยังต้องการให้ตระหนักถึงความสำคัญในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปต่อยอดในการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ซึ่งในอนาคตนักเรียนจะต้องเติบโตเป็นพลเมืองทีดี ที่พัฒนาให้ประเทศก้าวหน้า สิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กเอกตรา คือต้องตั้งใจศึกษา ค้นหาความรู้นำไปสู่การพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่มีคุณภาพ ที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศในการสร้างความรู้ สร้างปัญญา และสร้างขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศต่อไป และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ การมีความรู้ควบคู่คุณธรรม ดังปรัชญาของโรงเรียนที่ว่า "คุณธรรม นำวิชา ภูมิปัญญา พาพัฒนา"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๔ ยันม่าร์ ประกาศอย่างเป็นทางการในการสนับสนุนสมาคมฟุตบอลอาเซียน
๑๗:๑๔ รู้ใจชวนทำความรู้จักเทเลเมติกส์ เทคโนโลยีลดอุบัติเหตุ ขับเคลื่อนท้องถนนปลอดภัย
๑๗:๐๙ The Food School Bangkok ผนึก 2 พันธมิตรยักษ์ใหญ่ มอบทุนกว่า 1.5 ล้านบาท เปิดตัว Future Chef of the World 2025
๑๗:๓๔ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง ทำงานอย่างไรให้มีความสุข
๑๗:๑๗ JGAB 2025 เปิดเวที The Next Gem Awards 2025 เฟ้นหาดีไซน์เนอร์เครื่องประดับรุ่นใหม่
๑๖:๐๙ ผถห. LEO ไฟเขียวปันผล 0.14 บาท/หุ้น รับทรัพย์ 14 พ.ค.นี้ เดินหน้ายุทธศาสตร์ LEO Go Green - รุกขยายธุรกิจใหม่ ดันกำไรขั้นต้นโตต่อเนื่อง
๑๖:๕๗ เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ เปิดตัวโซลูชันคลังสินค้าและโลจิสติกส์อัจฉริยะ ยกระดับการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB)
๑๖:๔๖ กระทรวง อว. โดย สวทช. - กรมควบคุมโรค กระทรวง สธ. ผนึกกำลังใช้ระบบ DDC-Care Platform เทคโนโลยีรับมือโรคระบาดข้ามพรมแดน
๑๖:๕๙ สจล. ร่วมมือมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการอย่างยั่งยืน
๑๖:๓๕ KOAN ในเครือ CPW บุกตลาด Smart Home เปิดตัวนวัตกรรมบ้านอัจฉริยะในงานสถาปนิก'68 ภายใต้แนวคิด Touch And