กพร. คุมเข้มเหมืองแร่ทั่วประเทศ ป้องกันความปลอดภัยช่วงหน้าฝน พร้อมสั่งการตรวจสอบ 57 เหมืองเสี่ยง

อังคาร ๐๖ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๐:๒๑
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ตรวจเข้มตามมาตรการกำกับดูแลเหมืองแร่ช่วงหน้าฝน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการยุบตัวและเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและประชาชนในพื้นที่ โดยมีมาตรการดังนี้ 1.ทำเหมืองตามแผนผังโครงการการทำเหมืองแร่ฯและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด 2.ทำเหมืองเป็นขั้นบันได 3.การทำเหมืองโดยไม่ให้หันหน้าไปในทิศทางที่จะมีแนวชั้นหินวางตัวเอียงเทลงสู่หน้างานด้านล่าง 4. ตรวจสอบพื้นที่หน้างานก่อนการปฏิบัติงานทุกครั้ง 5. ปิดกั้นพื้นที่เพื่อปรับปรุงแก้ไข 6.จัดให้มีบ่อดักตะกอน อย่างไรก็ตาม กพร. ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบกำกับดูแลการทำเหมืองแร่ที่มีความเสี่ยงสูงให้ปฏิบัติตามแผนผังโครงการทำเหมืองโดยเฉพาะเหมืองที่มีความเสี่ยงต่อการพังถล่มในช่วงหน้าฝนและควรเฝ้าระวังจำนวน 57 เหมืองจากจำนวนเหมืองแร่ 595 เหมืองทั่วประเทศ ซึ่งส่วนมากเป็นเหมืองหินแร่อุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรม ล่าสุด กพร. ได้ดำเนินการสั่งให้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามมาตรการและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และเงื่อนไขแนบท้ายการอนุญาตแล้วจำนวน 31 ราย และยังคงเข้มงวดในการตรวจสอบและเฝ้าระวังต่อไป

ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯโทรศัพท์ 0-2202-3555หรือเข้าไปที่ www.dpim.go.th

นายชาติ หงส์เทียมจันทร์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า อุตสาหกรรมเหมืองแร่เป็นอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นในช่วงหน้าฝนที่มีฝนตกหนัก อุตสาหกรรมเหมืองแร่จึงมีความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดอุบัติเหตุจากเหมืองถล่ม โดยบริเวณที่มีความเสี่ยงในพื้นที่ประทานบัตรเหมืองแร่ ได้แก่ บริเวณที่มีหน้าเหมืองสูงชัน บริเวณที่มีรอยแตก รอยเลื่อน หรือมีดินแทรก ฯลฯ กพร. จึงได้มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดตามมาตรการกำกับดูแลและการเฝ้าระวังเหมืองถล่มทั่วประเทศในช่วงฤดูฝน ดังนี้

1. ทำเหมืองตามแผนผังโครงการการทำเหมือง ตามมาตรการและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และเงื่อนไขแนบท้ายการอนุญาตอย่างเคร่งครัด เนื่องจากการออกแบบการทำเหมืองในแผนผังโครงการทำเหมืองนั้นได้พิจารณาเพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาการในการทำเหมืองเพื่อให้เกิดความปลอดภัย รวมทั้งป้องกันและลดผลกระทบที่อาจเกิดจากการพังถล่มของหน้าเหมืองได้ด้วย

2. ทำเหมืองเป็นขั้นบันได ช่วยลดความเสี่ยงจากการพังถล่มของหน้าเหมือง หรือช่วยลดความรุนแรงจากการพังถล่มได้เป็นอย่างมาก

3. ทำเหมืองโดยกำหนดพื้นที่หน้าเหมืองไม่ให้หันหน้าไปในทิศทางที่จะมีแนวชั้นหินวางตัวเอียงเทลงสู่หน้างานด้านล่าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเลื่อนไถลของชั้นหินลงสู่พื้นที่ด้านล่าง หรือให้มีการเจาะระเบิดในลักษณะที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับรอยเลื่อนหรือรอยแตก ซึ่งจะช่วยป้องกันอันตรายต่อผู้ที่ปฏิบัติงาน

4. ตรวจสอบพื้นที่หน้างานก่อนการปฏิบัติงานทุกครั้ง โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน ต้องตรวจสอบว่าบริเวณหน้างานมีร่องรอยของแนวแตกหรือไม่ หากมีแนวรอยแตกเกิดขึ้นต้องกันพื้นที่ห้ามเข้าปฏิบัติงานโดยเด็ดขาด จนกว่าจะมีการดำเนินการแก้ไขเพื่อความปลอดภัย

5. ปิดกั้นพื้นที่เพื่อปรับปรุงแก้ไข เมื่อตรวจสอบพบว่า หน้างานใดมีลักษณะสูงชันมาก หรือมีแนวเลื่อน แนวรอยแตก หรือมีดินแทรก อันจะก่อให้เกิดการพังถล่มของหน้าเหมืองและเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน

6. จัดให้มีบ่อดักตะกอน ในพื้นที่ประทานบัตรควรมีบ่อดักตะกอนเพื่อรองรับน้ำจากบริเวณกองดินและคูระบายน้ำรอบพื้นที่โครงการ ซึ่งจะช่วยชะลอการไหลของน้ำออกนอกพื้นที่ได้

ทั้งนี้ กพร. ได้มอบหมายให้ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทุกจังหวัด และสำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ทุกเขต ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบกำกับดูแลการทำเหมืองแร่ โดยเฉพาะพื้นที่เหมืองแร่ที่มีความเสี่ยงสูงให้ปฏิบัติตามแผนผังโครงการทำเหมือง มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตามเงื่อนไขประทานบัตร รวมทั้งวิธีการป้องกันอันตรายตามหลักวิศวกรรมอย่างเคร่งครัด โดยจากการตรวจสอบพบพื้นที่หน้างานที่มีความเสี่ยง ได้แก่ หน้าเหมืองที่อาจจะมีหินร่วงหล่น หน้าเหมืองที่อาจจะมีการเลื่อนของชั้นหิน หน้าเหมืองสูงชัน และพื้นที่ที่มีเส้นทางขนส่งชำรุด ซึ่งจากการตรวจสอบพบพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการพังถล่มในช่วงหน้าฝนและควรเฝ้าระวังมีประมาณ 57 เหมืองจากจำนวนเหมืองแร่ 595 เหมืองทั่วประเทศ ในจำนวนนี้ส่วนมากเป็นเหมืองหินแร่อุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมโดยกระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ อาทิ ชลบุรี สระบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช พะเยา ขอนแก่น และสุพรรณบุรี เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ กพร. ได้ดำเนินการสั่งให้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามมาตรการและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและเงื่อนไขแนบท้ายการอนุญาตแล้วจำนวน 31 ราย ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการควบคุมให้เกิดความปลอดภัยในการประกอบการเหมืองแร่ตามกฎ ระเบียบ และเงื่อนไขต่างๆ นายชาติ กล่าว

ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯโทรศัพท์ 0-2202-3555หรือเข้าไปที่ www.dpim.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง