กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขับเคลื่อนโครงการ “รักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน” ระยะที่ 3 สนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

พุธ ๑๔ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๔:๑๙
นายสุรพล จารุพงศ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน เพื่อทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน วันที่ 3 - 5 มีนาคม 2549 ทรงรับทราบผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ ศูนย์ไผ่ศึกษา ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการอนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ป่า ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช การขยายพันธุ์เขียดแลวแบบธรรมชาติ ของกรมประมง การขยายผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาโดยการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีและส่งเสริมการผลิตด้านการเกษตรบนพื้นที่สูง ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และทรงห่วงใยสภาพป่าต้นน้ำลำธาร โดยทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้พสกนิกรที่อยู่อาศัยบนพื้นที่สูงได้ตระหนักถึงความสำคัญของต้นไม้ น้ำ และดิน ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและให้พสกนิกรเหล่านั้นสามารถดำรงชีพอยู่กับป่าได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดทำโครงการ "รักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน" เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯโดยเป็นโครงการที่ดำเนินการแบบบูรณาการ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และดำเนินการร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่โครงการ และหน่วยงานเกี่ยวข้องต่าง ๆ ในการสนับสนุนและร่วมมือกับชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์สภาพป่าต้นน้ำลำธาร ให้สามารถเกิดประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งเพื่อพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของประชากรให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียงและมีความสมดุลกับสิ่งแวดล้อม และเพื่อสนับสนุนให้ชุมชนมีเครือข่ายการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสมภายใต้การสนับสนุนของรัฐ และองค์กรในท้องถิ่น

ทั้งนี้ การดำเนินงานโครงการ "รักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน" ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2551 – 2554) คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2550 เห็นชอบแผนแม่บทโครงการฯ ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2551 – 2554) โดยมีพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงานใน 6 จังหวัด 10 ลุ่มน้ำ จำนวนพื้นที่ประมาณ 2,622.46 ตารางกิโลเมตร 109 หมู่บ้าน/กลุ่มบ้าน 7,993 ครัวเรือน 32,586 คน แบ่งเป็น 1) จังหวัดแม่ฮ่องสอน 4 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำของ อำเภอปางมะผ้า ลุ่มน้ำปาย อำเภอเมือง ลุ่มน้ำแม่สะงา อำเภอเมือง และลุ่มน้ำแม่สะมาด – ห้วยหมากลาง อำเภอเมืองและอำเภอขุนยวม 2) จังหวัดเชียงใหม่ 2 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำแม่หาด อำเภออมก๋อย และลุ่มน้ำปิงน้อย อำเภอแม่แจ่ม 3) จังหวัดเชียงราย 1 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำแม่คำ อำเภอแม่ฟ้าหลวง 4) จังหวัดน่าน 1 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 5) จังหวัดพิษณุโลก 1 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำภาค อำเภอชาติตระการ 6) จังหวัดอุตรดิตถ์ 1 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำลี อำเภอท่าปลา โดยผลการดำเนินงานระยะที่ 1 พบว่า เกษตรกรมีความรู้ด้านการผลิต สามารถนำผลผลิตไปบริโภคในครัวเรือนที่เหลือจำหน่ายตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงเริ่มมีการรวมกลุ่มในการประกอบอาชีพ มีการวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาแหล่งน้ำ อนุรักษ์ดินและน้ำรวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ซึ่งผลการดำเนินงานสามารถครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายได้เพียงร้อยละ 50 จึงต้องขยายพื้นที่การดำเนินงานให้ครอบคลุมพื้นที่ที่เหลือต่อไป

สำหรับพื้นที่เป้าหมาย ในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2555 – 2559) นั้น ดำเนินงาน รวม 7 จังหวัด 11 ลุ่มน้ำ จำนวนพื้นที่ประมาณ 2,874 ตารางกิโลเมตร 123 หมู่บ้าน/กลุ่มบ้าน 10 อำเภอ15,566 ครัวเรือน 61,667 คน และมีผลการดำเนินงานคือ1) มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น จำนวน 23,746 ไร่ 2) มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่จากพืชเชิงเดี่ยว (ข้าวไร่,ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) เป็นไม้ผลจำนวน 895 ไร่ 3) ผลการศึกษาสภาวะเศรษฐกิจสังคมฯ ปี 2558เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยในปี 2558 จำนวน 65,974.79 บาท 4) มีการดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่ 76 หมู่บ้าน จากทั้งหมด จำนวน 123 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 62 5) มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้พบว่ามีการจัดทำแปลงสาธิตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ของเกษตรกรเองมีผลความสำเร็จเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ราษฎรมีการปรับเปลี่ยนอาชีพจากการปลูกข้าวโพด มาปลูกไม้ผลเมืองหนาว และผักในโรงเรือน ช่วยลดการเผาตอซัง และปลูกไม้ยืนต้นทดแทนในพื้นที่ที่ถูกบุกรุก โดยเกษตรกรสามารถถ่ายทอดให้กับเกษตรกรด้วยกันเอง ซึ่งเป็นการขยายผลการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี

"การดำเนินงานในระต่อไป สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน) ได้จัดทำแผนแม่บทโครงการฯ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารและกำกับดูแลโครงการฯ ที่มีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการแล้ว เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2559 และเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2559 คณะกรรมการอำนวยการโครงการฯ ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนแม่บทโครงการฯ เพื่อจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป" นายสุรพล กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ