เทรนด์ ไมโครสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้ออนไลน์ในการทำงาน

พุธ ๒๑ กันยายน ๒๐๐๕ ๑๖:๒๒
กรุงเทพฯ--21 ก.ย.--คอร์ แอนด์ พีค
เผยแนวโน้มพฤติกรรมทางออนไลน์ของผู้ใช้งานในองค์กรที่ต้องให้ความรู้และป้องกันจากไวรัส, สปายแวร์, ฟิชชิ่ง และภัยคุกคามอื่นๆ
บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์. ผู้นำด้านการป้องกันไวรัส และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เปิดเผยผลการศึกษาที่ว่า ทำไมผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับล่างขององค์กรทั่วโลก จึงมีแนวโน้มเกิดพฤติกรรมเสี่ยงทางออนไลน์ในที่ทำงานมากกว่าที่บ้าน โดยผลวิจัยดังกล่าวช่วยกระตุ้นให้ฝ่ายไอทีในองค์กรเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย ดูแลข้อมูลสำคัญ และยังลดปริมาณการร้องขอความช่วยเหลือด้านไอทีจากกลุ่มผู้ใช้งานในองค์กรได้
การศึกษาครั้งนี้ ดำเนินการเมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 โดยให้ผู้ใช้ระดับล่างขององค์กรกว่า 1,200 ราย ในสหรัฐ เยอรมนี และญี่ปุ่น ตอบแบบสอบถามผ่านทางออนไลน์ ผลการศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหน้าที่ของฝ่ายไอทีในองค์กร และความเชื่อมั่นของผู้ใช้งานระดับล่างที่มีต่อความปลอดภัยของเครือข่าย ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าระบบที่มีอยู่สามารถต้านไวรัส, เวิร์ม, สปายแวร์, สแปม, ฟิชชิ่ง และฟาร์มมิ่งได้ ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงทางออนไลน์ ที่กระทบต่อฝ่ายไอทีโดยตรง เพราะพวกเขาต้องหาทางป้องกันภัยคุกคามที่กำลังทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างคาดไม่ถึง
จากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด พบว่า 39% ของผู้ใช้งานระดับล่างในองค์กร เชื่อว่าฝ่ายไอทีสามารถป้องกันพวกเขาจากการตกเป็นเหยื่อของภัยคุกคาม อย่าง สปายแวร์ และฟิชชิ่งได้ ความเชื่อดังกล่าวกระตุ้นให้หลายคนกล้าที่จะมีพฤติกรรมทางออนไลน์แบบเสี่ยงๆ และในกลุ่มนี้เองมีจำนวนมากถึง 63% ยอมรับว่า คลิกลิงค์ยูอาร์แอลน่าสงสัย หรือเข้าไปเยี่ยมชมเวบไซต์ที่ไม่น่าไว้วางใจ เนื่องจากเชื่อว่าฝ่ายไอทีได้ติดตั้งซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์ของพวกเขาแล้ว โดย 40% ของกลุ่มที่ยอมรับว่ามีพฤติกรรมเสี่ยง บอกว่าที่พวกเขามั่นใจเช่นนั้น ก็เพราะฝ่ายไอทีสามารถให้บริการแก้ปัญหาได้ทุกเมื่อหากเกิดปัญหาขึ้น แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหน้าที่ของฝ่ายไอที และความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยเครือข่ายของผู้ใช้ระดับล่างที่มีผลต่อการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงภัยต่างๆ ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงบอกให้ฝ่ายไอทีรู้ว่า พวกเขาต้องให้ความสำคัญกับการดูแลระบบความปลอดภัยของเครือข่ายให้ครอบคลุมทุกจุด
"แม้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ระดับล่างจะเชื่อมั่นว่าฝ่ายไอทีสามารถดูแลและปกป้องพวกเขาได้ แต่ใช่ว่าจะสามารถเอาชนะภัยคุกคามที่มีต่อเครือข่ายองค์กรได้เต็มร้อย เพราะยิ่งเชื่อมั่นก็ยิ่งทำให้การทำงานของฝ่ายไอทียุ่งยากขึ้นไปอีก" นายแมกซ์ เชง รองประธานฝ่ายบริหาร และผู้จัดการทั่วไปส่วนธุรกิจองค์กรของบริษัท เทรนด์ ไมโคร กล่าว และว่า "การเปิดเผยผลการศึกษาครั้งนี้ จะทำให้ฝ่ายไอทีให้ความสำคัญกับเครือข่ายองค์กรของตัวเองมากขึ้น และชักจูงให้พวกเขาหมั่นตรวจสอบว่า ได้ป้องกันเครือข่ายทุกจุดในองค์กรดีแล้วหรือยัง"
การศึกษาชิ้นนี้ ยังแสดงให้เห็นด้วยว่า ความกล้าแบบผิดๆ ของผู้ใช้งานในองค์กร อันเนื่องมาจากความเชื่อมั่นในฝ่ายไอทีของตนนั้น มีผลกระทบต่อองค์กรโดยตรง ตัวอย่างเช่น ในเยอรมนี บรรดาผู้ใช้งานระดับล่างแสดงความเชื่อมั่นที่มีต่อฝ่ายไอทีของพวกเขาในระดับสูง และยอมรับว่าการทำงานของฝ่ายไอที ทำให้พวกเขามีแนวโน้มคลิกลิงค์ชวนสงสัย และเปิดอีเมล์ที่ไม่รู้ที่มา เพราะว่าหากเกิดเหตุจำเป็นเช่นเครื่องมีปัญหา ก็สามารถโทรขอความช่วยเหลือฝ่ายไอทีได้ตลอดเวลา
ผู้ใช้ระดับล่างในเยอรมนีจำนวนมากถึง 40% มีแนวโน้มที่จะติดต่อกับฝ่ายไอทีเพื่อปรึกษาปัญหาด้านความปลอดภัย จากแบบสอบถามพบว่า ในกลุ่มนี้มีจำนวนผู้ใช้งาน 38% โทรหาฝ่ายไอทีในรอบ 3 เดือน เนื่องจากกังวลในเรื่องความปลอดภัย ขณะที่บริษัทที่มีพนักงานนับร้อยหรือพันคน มีแนวโน้มมากถึง 38 คนในทุกๆ 100 คน ที่จะร้องขอความช่วยเหลือด้านความปลอดภัยจากฝ่ายไอที ปรากฏการณ์ดังกล่าว กระทบต่อโครงสร้างเชิงต้นทุน และการลงทุนด้านความปลอดภัยขององค์กรโดยตรง
"ไม่ใช่ว่าแค่ดูแลข้อมูลและเครือข่ายองค์กรให้ปลอดภัยแล้วจะเพียงพอ พวกเขาต้องเข้าใจแนวโน้มพฤติกรรมของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ระดับล่างในองค์กรด้วย จึงจะสามารถป้องกันธุรกิจให้สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคงและไม่ต้องเสี่ยงต่อภาวะขาดทุนใดๆ" นายเชง กล่าว
สำหรับผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า:
- ในสหรัฐ มีพนักงาน 48% ยอมรับว่าพวกเขาเปิดอีเมล์ที่ไม่น่าไว้วางใจ หรือคลิกลิงค์ไปยังเวบไซต์น่าสงสัยขณะอยู่ที่ทำงานมากกว่าจะดำเนินการจากที่บ้าน เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าฝ่ายไอทีสามารถดูแลพวกเขาได้หากมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น ขณะที่พนักงานในเยอรมนี (39%) และญี่ปุ่น (28%) ต่างก็ให้คำตอบที่คล้ายคลึงกัน
- ในเยอรมนี (76%) และสหรัฐ (65%) ผู้ใช้ระดับล่างในองค์กรที่ยอมรับว่ามีแนวโน้มเปิดอีเมล์ต้องสงสัยและคลิกลิงค์ไม่น่าไว้วางใจ เนื่องจากฝ่ายไอทีติดตั้งซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์ของพวกเขา ขณะที่ในญี่ปุ่นมีสัดส่วนมากถึง 42% ที่บอกว่ารู้สึกเช่นนั้นเหมือนกัน
- 1 ใน 3 (34%) ของผู้ใช้ระดับล่างในองค์กรในสหรัฐ และอย่างน้อย 1 ในทุกๆ 4 คน ของเยอรมนี (29%) และญี่ปุ่น (28%) ที่ยอมรับว่าพวกเขามักจะเปิดอีเมล์ต้องสงสัย และคลิกลิงค์ไม่น่าไว้ใจ บอกว่าที่ทำเช่นนั้น ก็เพราะอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เหล่านั้น พวกเขาไม่ได้เป็นเจ้าของ
- อย่างน้อย 1 ใน 4 ของผู้ใช้ระดับล่างในสหรัฐ (31%) และญี่ปุ่น (27%) ติดต่อฝ่ายไอทีในรอบ 3 เดือนเพราะกังวลเรื่องความปลอดภัย ขณะที่ในเยอรมนี มีผู้ใช้จำนวน 38% ติดต่อฝ่ายไอทีภายในช่วงเวลาเดียวกัน ด้วยเหตุกังวลในเรื่องความปลอดภัยเหมือนกัน
"การบังคับใช้นโยบายด้านความปลอดภัย และการควบคุมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจากแม่ข่ายส่วนกลาง เป็นปัจจัยความสำเร็จในการสร้างความมั่นใจให้กับความปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กร เพราะสามารถป้องกันได้ลึกถึงผู้ใช้งานระดับล่าง" นายเชง กล่าว และเพิ่มเติมว่า "เมื่อมองในภาพใหญ่ ต้องมีโซลูชั่นดูแลความปลอดภัยของเนื้อหาและผลิตภัณฑ์ป้องกันต้านไวรัสแบบหลายชั้น เพื่อจะได้ครอบคลุมเครือข่ายองค์กรได้ทั่วทุกจุด ตั้งแต่ เกตเวย์ และแม่ข่าย ไปจนถึงคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิสก์พกพาต่างๆ การมีโครงสร้างดังกล่าวพร้อม จะทำให้การอัพเดทระบบความปลอดภัยของเครือข่ายเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกซอกทุกมุม"
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับโซลูชั่นของเทรนด์ ไมโคร ในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานความปลอดภัยแบบหลายชั้น และการอัพเดทระบบได้อย่างทันเวลาเพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่กำลังก่อตัวในองค์กร สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.trendmicro.com
บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์
บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ เป็นผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์และการบริการด้านการป้องกันไวรัสบนเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และมีหน่วยธุรกิจอยู่ทั่วโลก สำหรับผลิตภัณฑ์ของเทรนด์ ไมโคร ได้จำหน่ายไปยังองค์กรธุรกิจ ตัวแทนจำหน่ายแบบมูลค่าเพิ่ม และผู้ให้บริการสนใจข้อมูลและชุดทดลองใช้งานผลิตภัณฑ์จากเทรนด์ ไมโครได้ที่ เว็บไซต์ www.trendmicro.com
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด โทร. 0-2-439-4600 ต่อ 8300, 8302
อีเมล์: [email protected]จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ พ.ค. สุรีย์พร คลินิก เปิดตัวตึกสูงที่สุดแห่งวงการคลินิกสถาบันเสริมความงาม ฉลอง 20 ปีความสำเร็จพร้อมยกระดับชูเทคโนโลยีล้ำสมัย Volformer
๑๗ พ.ค. ปตท.สผ. จัดงานประชุม SSHE Forum 2024 ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน
๑๗ พ.ค. บมจ. เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) แนะนำ ชุดล็อคประตูกลอนแม่เหล็กไฟฟ้า จากแบรนด์ HIP
๑๗ พ.ค. ซัมซุง อัปเกรดประสบการณ์การชมทุกมหกรรมกีฬา ด้วยนวัตกรรม AI TV สุดล้ำ ชัดทุกแมตซ์เหมือนเชียร์ติดขอบสนาม
๑๗ พ.ค. ไทยพาณิชย์ปักหมุดผู้นำดิจิทัลแบงก์ นำ AI เสริมแกร่ง 360 องศา เปิด 3 นวัตกรรม AI ครั้งแรก! สร้างปรากฏการณ์ใหม่กลุ่มสินเชื่อรายย่อย และ Digital
๑๗ พ.ค. หัวใจเต้นช้า โรคหัวใจที่มักถูกมองข้าม
๑๗ พ.ค. DDD โชว์งบ Q1/67 กวาดกำไรทะยาน 317% YoY พร้อมลุยขยายตลาดสินค้าไลฟ์สไตล์ อัพผลงานปีนี้โตสวย
๑๗ พ.ค. PCC เปิดงบ Q1/67 รายได้โต 14.25% ยอดขายสินค้าหม้อแปลงไฟฟ้า - อุปกรณ์ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพิ่มขึ้น มั่นใจรายได้ปีนี้โต 10%
๑๗ พ.ค. บางจากฯ สานต่อพันธกิจสนับสนุนด้านกีฬาอย่างเป็นมิตรต่อโลก ร่วมจัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง Olympic Day 2024 Together, For A Better
๑๗ พ.ค. บัตรเครดิต ttb ช้อปคุ้ม อิ่มครบ ได้มากกว่า รับ Magic Gift Voucher รวมมูลค่าสูงสุด 1,500 บาท ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั้ง 5