กระทรวงพลังงาน สร้างความเข้าใจหลักเกณฑ์ การปรับลดอัตรา Feed-in Tariff โซลาร์เซลล์

ศุกร์ ๐๔ พฤศจิกายน ๒๐๑๖ ๐๘:๒๗
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 59 กระทรวงพลังงาน จัดสัมมนาให้ความรู้ในหัวข้อ "ทำไมต้องปรับลดอัตรา Feed-in Tariff โซลาร์เซลล์" เพื่อสร้างความเข้าในหลักเกณฑ์การทบทวนอัตราการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบ Feed – in Tariff ให้สอดรับกับต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ปัจจุบัน โดยมี ดร.สราวุธ แก้วตาทิพย์ รองโฆษกกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ (ENCO) อาคาร B

ดร.สราวุธ แก้วตาทิพย์ รองโฆษกกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้มีการส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยการสนับสนุนทางด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการด้านภาษีและการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการลงทุน ซึ่งในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ แผน PDP ได้กำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าไว้ 20% ในปี 2579 ทั้งนี้การทบทวนอัตราการรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed – in Tariff สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในปัจจุบัน เนื่องจากขณะนี้ทิศทางราคาอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าตั้งแต่เริ่มมีนโยบายส่งเสริมตั้งแต่ ในรูปแบบ Adder จนกระทั่งจนในรูปแบบ Feed – in Tariff มีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2550 ราคาแผงโซลาร์เซลล์ อยู่ที่ 200 บาทต่อวัตต์ ซึ่งขณะนั้นกระทรวงพลังงานได้พิจารณาแนวทางสนับสนุนด้วย การรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบ Adder ในอัตรา 8 บาทต่อหน่วย

ต่อมาในปี 2553 ราคาแผงโซลาร์เซลล์ปรับลดลงอยู่ที่ 120 บาทต่อวัตต์ และได้ปรับลด Adder ลงมาเหลือเพียง 6.50 บาทต่อหน่วย ส่วนในปี 2557 ราคาแผงโซลาร์เซลล์ปรับลดลงมาอยู่ที่ 54 บาทต่อวัตต์ ซึ่งใน ปีเดียวกันนี้ กระทรวงพลังงานได้มีการปรับรูปแบบการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นรูปแบบ Feed – in Tariff แทนการรับซื้อในรูปแบบ Adder ในอัตรา 5.66 บาท และล่าสุด ปี 2559 สถานการณ์ราคาแผงโซลาร์เซลล์ปรับลดลงมาเหลือเพียง 42 บาทต่อวัตต์ ดังนั้น เพื่อให้อัตราการรับซื้อไฟฟ้าสอดคล้องกับราคาต้นทุนใน การผลิต และมีราคาที่เป็นธรรมต่อประชาชนผู้บริโภค กระทรวงพลังงานจึงได้เสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติให้มีการพิจารณาทบทวนอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในรูปแบบ Feed-in Tariff ลดลงเหลือ 4.12 บาทต่อหน่วย เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2559

ทั้งนี้ ภายในงานได้มีนายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) มาให้ความรู้ในเรื่อง หลักการคำนวณอัตรารับซื้อไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์ม ปัจจัยที่ทำให้ มีการพิจารณาปรับลดอัตราการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (FiT) และสถานการณ์ราคาแผงโซลาร์เซลล์และอุปกรณ์ในปัจจุบัน และ ดร.อมรรัตน์ ลิ้มมณี นักวิจัยห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค/สวทช.) มาร่วมบรรยายให้เห็นถึงภาพรวม ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของโซลาร์เซลล์ รวมถึงแนวโน้มเทคโนโลยีและราคาของโซลาร์เซลล์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น