ไบโอเฟ๊ปส์ หนึ่งในหลักสูตรเทคโนโลยีในอนาคต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อังคาร ๐๘ พฤศจิกายน ๒๐๑๖ ๑๔:๓๐
รศ.ดร.ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นบนโลกไม่ว่าจะด้วยฝีมือมนุษย์หรือธรรมชาติก็ตาม ทำให้แนวโน้มด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ กำลังเปลี่ยนไปในทางการพัฒนาเพื่อช่วยรักษาชีวิตมากขึ้น ถือเป็นความท้าทายว่าจะทำอย่างไรให้มนุษย์อยู่รอดได้ท่ามกลางภัยธรรมชาติต่างๆ ที่นับวันจะมีมากขึ้นและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในด้านของวิศวกรรมก็มีแนวทางการเรียนการสอนการวิจัยและพัฒนาที่คำนึงถึงความอยู่รอดมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ทุกเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงและภัยพิบัติทั้งจาก ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นภาพใหญ่ที่ มจธ.มองว่าเป็นโอกาสในการสอนให้นักศึกษาคิดและผลิตผลงานวิศวกรรมเพื่อให้โลกของเราอยู่รอดได้เช่นกัน

"ภาควิชาวิศวกรรมเคมีเป็นภาควิชาที่นักศึกษาใหม่เลือกเข้ามาศึกษาเป็นลำดับต้นๆ เนื่องจากศาสตร์ด้านวิศวกรรมเคมี เป็นศาสตร์หลักที่สามารถขยับขยายความรู้ไปสู่งานอื่นๆ ได้มาก อาทิ ด้านพลังงาน เทคโนโลยีเชื้อเพลิง พลังงานทดแทน ด้านยารักษาโรค และด้านวิศวกรรมกระบวนการชีวเคมี เหล่านี้ต้องอาศัยองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมเคมีเป็นพื้นฐานทั้งสิ้น"

ซึ่ง ภาควิชาวิศวกรรมเคมี มจธ. เปิดหลักสูตรทักษะวิศวกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Bio-Pharma Engineering Practice School) หรือที่เรียกว่า Bio-PhEPS (ไบโอเฟ๊ปส์) เป็นหลักสูตรใหม่เพื่อรองรับความต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในอนาคต เป็น 1 ใน 4 หลักสูตรเทคโนโลยีในอนาคต ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) มอบหมายให้ มจธ. ดำเนินการนำร่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 มีจุดประสงค์เพื่อผลิตผู้เชี่ยวชาญเข้าสู่อุตสาหกรรม ลดต้นทุนนำเข้ายาชีววัตถุและเพิ่มมูลค่าการผลิตในประเทศ และปูทางเป็นศูนย์กลางการผลิตวัสดุชีวภาพของภูมิภาคเอเชีย โดยจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเพราะยาชีววัตถุนั้นได้จากสิ่งมีชีวิต จึงต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต เพื่อให้ได้คุณภาพ ประสิทธิภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐาน ซึ่งถือว่า มจธ.เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศที่เปิดสอนในหลักสูตรนี้ พร้อมการเรียนการสอนในแบบ practice school ที่ มจธ. มีศักยภาพสามารถผลิตบัณฑิตคุณภาพมากว่า 20 ปี โดยในหลักสูตรดังกล่าว สามารถรับนักศึกษาได้ปีการศึกษาละ 15 คนเท่านั้น

"เรามองว่าอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิตของประเทศไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเลียมหรืออุตสาหกรรมยาชีววัตถุ ในขณะที่มจธ.เป็นผู้ผลิตบัณฑิต จำเป็นต้องหยิบเอาโจทย์จากภาคอุตสาหกรรมมาช่วยแก้ไขปัญหา โดยการให้นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้อยู่ร่วมกับทางโรงงาน พร้อมทั้งให้เขาคิดหาวิธีการใดมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วลงมือแก้ไขปัญหาจริง ได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี มจธ.เราทำแบบนี้มากว่า 20 ปี ทำให้ มจธ.เป็น practice school ที่ดีที่สุดของประเทศ และเป็นที่ภาคภูมิใจของประชาคม"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๗ เม.ย. อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud