ปวด...อย่าละเลย โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

พฤหัส ๐๘ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๖:๒๕

แพทย์ประสาทวิทยาอายุรศาสตร์ รพ.พระรามเก้า

อาการปวดบริเวณใบหน้า หลายคนอาจคิดว่าเป็นเพียงเพราะฟันผุหรือเกิดจากเหงือกอักเสบ แต่เมื่อรักษาอาการภายในช่องปากแล้ว กลับพบว่าอาการปวดใบหน้าไม่ได้หายตามไปด้วย หรือแท้ที่จริงแล้วการเกิดอาการปวดที่ใบหน้าอาจมีสาเหตุมาจากเส้นประสาทคู่ที่ 5 (Trigerminal nerve) ที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากใบหน้า ลิ้น ฟัน ปาก เหงือก และควบคุมกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเคี้ยวอาหาร ถูกกดทับหรือเกิดจากปลอกประสาทเสื่อม ซึ่งโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal Neuralgia) พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชายวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุ

พญ.ปฏิมา วีณะสนธิ แพทย์ประสาทวิทยาอายุรศาสตร์ รพ.พระรามเก้า กล่าวว่า โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า ผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่บริเวณใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งหรืออาจปวดบริเวณแก้ม เหงือกและฟันอย่างรุนแรง โดยอาการปวดจะเกิดขึ้นเองอย่างฉับพลัน เป็นระยะสั้นๆ และเกิดซ้ำๆ ลักษณะการปวดแปล๊บคล้ายไฟฟ้าช็อต เจ็บปวดรุนแรงจนผู้ป่วยบางรายไม่สามารถสัมผัสใบหน้า เคี้ยวอาหาร และแปรงฟันได้ตามปกติ ซึ่งสร้างความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก บางครั้งอาการปวดจะกระตุ้นให้มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อใบหน้า การตรวจวินิจฉัยโรคนี้สามารถทำได้โดยการสอบถามอาการจากผู้ป่วยและตรวจร่างกายร่วมด้วย ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนอื่น แต่ถ้าผู้ป่วยมีความผิดปกติในระบบประสาทส่วนอื่นแพทย์จะส่งตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (Magnetic resonance imaging) หรือ MRI และเมื่อตรวจพบอาการของโรคนี้แล้วแพทย์จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาคาร์บามาซีพีน (Carbamazepine) และอ็อกคาร์บาซีพีน (Oxcarbazepine) ที่ออกฤทธิ์ลดความไวของเส้นประสาท สามารถลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดทั้งชนิดที่เกิดขึ้นเอง และเมื่อถูกกระตุ้น แต่เมื่อหยุดกินยาผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดใบหน้าเกิดขึ้นมาอีกได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยา หรือมีอาการรุนแรงเช่น มีเนื้องอกไปกดทับเส้นประสาท ต้องเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งเป็นการรักษาที่จะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายจากอาการปวดใบหน้าได้สูง ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโดยการให้ยาต้องหมั่นสังเกตอาการของตนเองอย่างสม่ำเสมอว่ามีความผิดปกติจากการแพ้ยาหรือไม่ ถ้าพบว่าแพ้ยาก็ควรหยุดยาทันทีแล้วรีบมาพบแพทย์ อีกประการหนึ่งคือผู้ป่วยไม่ควรเพิ่มขนาดของยาที่ทานเอง และหากพบว่าตนเองป่วยและต้องใช้ยาชนิดอื่นร่วมด้วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย

โรงพยาบาลพระรามเก้าแนะนำว่าหากผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวควรเข้ารับการรักษาหรือพบแพทย์ทันที เพื่อจะได้รับการรักษาหากปล่อยไว้อาการจะเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๐๓ พ.ค. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๐๓ พ.ค. รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๐๓ พ.ค. กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว