IRM เผยถึงเวลาผู้ซื้อบ้านจัดสรรตาสว่างเรื่องการจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรร

จันทร์ ๑๙ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๐:๐๘
IRMเผยถึงเวลาผู้ซื้อบ้านจัดสรรตาสว่างเรื่องการจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรร เผยมาตรา 4 เปิดทางผู้ที่ไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ร่วมประชุมคัดเลือกกรรมการ

อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์(IRM) เผยถึงเวลาผู้ซื้อบ้านจัดสรรตาสว่าง ชี้กฎหมายจัดสรรมาตรา 4ระบุชัดเจน"ผู้ทำสัญญากับผู้จัดสรรที่ดินแม้จะยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์สามารถร่วมประชุมและเลือกกรรมการ"แต่ภาครัฐและเอกชนยังไม่เข้าใจกฎหมาย ทำให้ผู้ซื้อบ้านจัดสรรที่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์เสียโอกาสร่วมประชุมจัดตั้งนิติบุคคล

นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่าหลังจากที่มีธุรกิจบ้านจัดสรรเกิดขึ้นได้มีการนำเอาประกาศคณะปฏิวัติเข้ามาควบคุมการดำเนินธุรกิจ โดยส่วนใหญ่ได้ระบุเฉพาะบทบาทของผู้จัดสรรว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร แต่ไม่ได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของผู้ซื้ออย่างชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการเรียกร้องสิทธิในกรณีที่ผู้จัดสรรไม่ทำตามสัญญาและไม่ดูแลสาธารณูปโภค แต่หลังจากมีพ.ร.บ.จัดสรรที่ดินปี 2543 และปี 2558-2559 โดยกฏหมายฉบับนี้อยู่ภายใต้การดูแลและควบคุมของคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน ซึ่งแต่งตั้งโดยภาครัฐเพื่อทำหน้าที่พิจารณากฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกรอบของกฎหมายกล่าวคือเมื่อผู้จัดสรรสร้างบ้านและทำการขายไปแล้วไม่ต่ำกว่า 50% ของจำนวนแปลงทั้งหมด ซึ่งกฎหมายระบุเบื้องต้นว่าผู้จัดสรรจะต้องดูแลสาธารณูปโภคอย่างน้อย 1 ปีนับจากก่อสร้างเสร็จหากต้องการจะพ้นจากการหน้าที่ดูแลจะต้องจัดให้ลูกบ้านมีการประชุมใหญ่เพื่อจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรและรับโอนสาธารณูปโภคมาดูแลเอง โดยผู้ที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมจะต้องเป็นไปตามมาตรา 4 คือทั้งผู้ซื้อที่โอนกรรมสิทธิ์แล้วและผู้ที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับผู้จัดสรร

แต่ที่เป็นปัญหาถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบันก็คือส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าผู้ที่โอนกรรมสิทธิ์แล้วเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์ร่วมประชุมใหญ่เพื่อจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรร ทั้งที่มาตรา 4 ระบุชัดเจนว่า "ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรคือผู้ทำสัญญากับผู้จัดสรรที่ดิน เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินจัดสรร แม้จะยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ก็สามารถเข้าร่วมประชุมได้" แต่ปัญหานี้ทั้งภาครัฐและเอกชนยังไม่เข้าใจเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงคิดว่าเฉพาะผู้ที่โอนกรรมสิทธิ์เท่านั้น จึงทำให้ผู้ที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายแต่ยังไม่ได้โอนเสียสิทธิไปด้วย

นายธนันทร์เอกให้ความเห็นว่า ผู้ซื้อบ้านจัดสรรที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้วไม่เข้าร่วมประชุม จะเสียโอกาสที่จะรับรู้ว่าโครงการจัดทำสาธารณูปโภคไว้ครบถ้วนหรือไม่ เพราะบางโครงการอาจจะโฆษณาไว้อย่างหนึ่งแต่ทำไม่เป็นไปตามโฆษณาไว้ที่สำคัญยังเสียประโยชน์ไม่มีโอกาสได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการชุดเฉพาะกาลเพื่อตรวจสอบสาธารณูปโภคที่ทำแล้วสมบูรณ์หรือไม่ รวมทั้งอาจหมดสิทธิ์ในการเลือกตั้งคณะกรรมการในครั้งต่อไป และหากมีการประชุมใหญ่ในอนาคตเพื่อจัดเก็บค่าใช้จ่าย ก็จะไม่มีสิทธิ์ร่วมพิจารณาและแสดงความคิดเห็นได้เลย เพราะทุกคนยังเข้าใจผิดว่าอยู่ในประเภทผู้จะซื้อจะขายยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์

ทั้งนี้ IRM มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า 23 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรร สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน