GGC เดินหน้าขับเคลื่อน “เศรษฐกิจชีวภาพ” ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ต่อยอดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

พุธ ๒๑ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๕:๑๓
ประเทศไทยมีพื้นฐานทางด้านสังคมและเศรษฐกิจที่อิงอยู่กับเกษตรกรรมมาเป็นระยะเวลานาน และแม้ว่าเกษตรกรจะเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ผลผลิตจากภาคการเกษตรกลับมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สะท้อนให้เห็นถึงควมเหลื่อมล้ำและการพัฒนาที่ไม่สมดุล ด้วยเหตุนี้จึงมีการหยิบยกโมเดล "เศรษฐกิจชีวภาพ" (Bioeconomy) ขึ้นมาปัดฝุ่นอีกครั้ง ภายใต้นโยบายปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ มุ่งหน้าสู่ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจกระแสใหม่ (New Engines of Growth) ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มมูลค่าสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับรายได้ประชากร พร้อมพาไทยหลุดกับดักประเทศรายได้ปานกลางในอนาคต และในที่ประชุมสหประชาชาติยังลงความเห็นว่า เศรษฐกิจชีวภาพจะเป็นทางออกของปัญหาอาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม ในอีก 30 ปีข้างหน้า เมื่อประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 ล้านคน

นายจิรวัฒน์ นุริตานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ซึ่งเป็นบริษัทแกนนำในธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม ของกลุ่มบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) กล่าวว่า"ประเทศไทยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจชีวภาพที่ดี เพราะมีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และมีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นด้านพลังงานชีวภาพที่มีการคิดค้นพัฒนาหลากหลายทางเลือกและนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง หรือแม้กระทั่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น แฟตตี้แอลกอฮอลส์ (Fatty Alcohols) ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบหลักสำคัญสำหรับการผลิตสารลดแรงตึงผิว และยังเป็นสารที่จำเป็นในการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยส่วนบุคคลและสารชำระล้าง อีกทั้งยังใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางและเภสัชภัณฑ์ ไปจนถึงใช้เป็นสารละลายในอุตสาหกรรมต่างๆ"

ข้อมูลจากแอลเอ็มซี อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทวิเคราะห์ธุรกิจการเกษตร ระบุว่า ในปี 2557 ตลาดแฟตตี้แอลกอฮอลส์ทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีปริมาณผลผลิต 3.1 ล้านตัน และมีกำลังการผลิตในอุตสาหกรรมถึง 4 ล้านตัน ซึ่งทวีปเอเชียเป็นผู้ผลิตแฟตตี้แอลกอฮอลส์ที่ใหญ่ที่สุด โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสัดส่วนการผลิตคิดเป็นร้อยละ 35 ของการผลิตทั่วโลก และประเทศจีนคิดเป็นร้อยละ 11 ในขณะที่อเมริกาเหนือและยุโรปมีผลผลิตแฟตตี้แอลกอฮอลส์คิดเป็นร้อยละ 21

ทั้งนี้แฟตตี้แอลกอฮอลส์แทบทั้งหมดที่ผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแฟตตี้แอลกอฮอลส์ธรรมชาติ ซึ่งผลิตจากน้ำมันเมล็ดในปาล์มและน้ำมันมะพร้าว แฟตตี้แอลกอฮอลส์ประเภทนี้เมื่อนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ผงซักฟอก จะสามารถดูดซึมได้โดยธรรมชาติและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อเปรียบเทียบกับแฟตตี้แอลกอฮอลส์สังเคราะห์ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเป็นส่วนประกอบ แฟตตี้แอลกอฮอลส์ธรรมชาติจึงมีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของตลาดในระยะยาวมากกว่า เนื่องจากความใส่ใจในด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก

แอลเอ็มซี อินเตอร์เนชั่นแนล ยังระบุว่า ตลาดเอเชียจะกลายเป็นศูนย์กลางการเติบโตของแฟตตี้ แอลกอฮอลส์ อันเป็นผลมาจากการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมสุขอนามัยส่วนบุคคลและสารชำระล้างที่เป็นแรงขับเคลื่อน โดยประเทศจีนยังคงเป็นผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งคาดว่าในปี 2557 ถึง 2568 การอุปโภคแฟตตี้แอลกอฮอลส์ในเอเชียจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 5.1 ในขณะที่อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 2.9 โดยอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ระดับรายได้ที่สูงขึ้น จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และการรณรงค์ทางสังคม เช่น การปรับปรุงด้านความสะอาดและสุขอนามัยในอินเดีย ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมความต้องการการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แฟตตี้แอลกอฮอลส์

สำหรับประเทศไทย GGC เป็นผู้ผลิตแฟตตี้แอลกอฮอลส์เพียงรายเดียว โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งที่ 100,000 ตันต่อปี และGGC มีข้อได้เปรียบจากการผลิตแฟตตี้แอลกอฮอลส์ธรรมชาติที่ผลิตจากน้ำมันเมล็ดในปาล์ม ซึ่งเป็นที่ต้องการมากกว่า โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์สุขอนามัยส่วนบุคคล สำหรับในภาคการส่งออก ตลาดต่างประเทศของผลิตภัณฑ์แฟตตี้แอลกอฮอลส์ส่วนใหญ่ ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศอินเดีย ประเทศในทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกาใต้ และทวีปอเมริกาใต้ เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยมีข้อได้เปรียบทางด้าน โลจิสติกส์เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย โดยเฉพาะการขนส่งไปยังตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

ด้วยสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศรวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานทางเกษตรกรรมที่มีอยู่เดิม ยังเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการดำเนินอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพในประเทศไทยเป็นอย่างดียิ่ง ในกรณีของ แฟตตี้แอลกอฮอลส์ ที่ใช้วัตถุดิบคือน้ำมันเมล็ดในของปาล์ม ซึ่งสามารถเพาะปลูกได้ดีในหลายพื้นที่ ประเทศไทยจึงมีน้ำมันเมล็ดในปาล์มจำนวนมากที่จะป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตแฟตตี้แอลกอฮอลส์ โดยในปี 2557 มีปริมาณน้ำมันเมล็ดในปาล์มที่ผลิตได้เป็นจำนวนถึง 2 แสนตันต่อปี

นายจิรวัฒน์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า "จากปัจจัยทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพอย่างยิ่งในการก้าวสู่เศรษฐกิจชีวภาพอย่างเต็มขั้น ซึ่ง GGC ในฐานะผู้บุกเบิกธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยมากว่าทศวรรษ พร้อมเป็นอีกหนึ่งกลไกเพื่อร่วมขับเคลื่อนนโยบายนี้ให้ประสบความสำเร็จ โดยบริษัทฯ มีแผนในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมีของบริษัทฯ ในปัจจุบันไปยังผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษในธุรกิจปลายน้ำ (Downstream Specialty Products) และสร้างความหลากหลายให้แก่ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ โดยการลงทุนในธุรกิจเคมีชีวภาพ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญในการผลิตผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมีชนิดพิเศษ เพื่อรองรับโอกาสในการเติบโตของธุรกิจในอนาคต"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๐๓ พ.ค. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๐๓ พ.ค. รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๐๓ พ.ค. กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว