ตามรอยเท้าพ่อหลวง ลุงเล็ก ต้นแบบเกษตรอินทรีย์ชาวปทุมธานี

ศุกร์ ๐๖ มกราคม ๒๐๑๗ ๑๗:๓๑
กว่าพื้นที่ 50 ไร่ ของนายเล็ก ทองต้น วัย 71 ปี ประธานศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ต.บึงกาสาม อ.หนองเสือ จังหวัดปทุมธานี อดีตผู้ใหญ่บ้านชุมชนหมู่ 7 บึงกาสาม เกษตรชาวจังหวัดปทุมธานี ต้นแบบเกษตรอินทรีย์ตัวจริง ทำเกษตรไร่น้ำส่วนผสมลดการใช้สารเคมี หันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพ ทำได้ไม่มีขาดทุน เดินตามรอยเท้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ต้นแบบอินทรีย์ชาวจังหวัดปทุมธานี

นายเล็ก ทองต้น เล่าว่า กว่า 10 ปีบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์ ตนเองคิดเสมอว่า "ทำอย่างไรก็ได้ให้มีรายได้พอกินพอใช้ ไม่สร้างหนี้ มีเงินใช้เหมือนตอนที่รับเงินเดือนของข้าราชการ" โดยแรงบันดาลใจของตนเอง คือ รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พ่อของคนไทยทั้งแผ่นดิน เมื่อครั้งได้เดินทางไปดูงานในโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ นำศาสตร์พระราชามาเป็นจุดเริ่มต้นในการบริหารจัดการประยุกต์พื้นที่ 50 ไร่ ให้กลายเป็นไร่นาสวนผสม เส้นทางของการเริ่มต้น ทำให้ตนเอง คิดว่า "ชาวนาจะปลูกข้าวอย่างเดียวไม่ได้" อายุข้าวกว่าจะเกี่ยวต้องใช้เวลาประมาณ 105 วัน จึงได้ปรับพื้นที่ 50 ไร่ เป็น ทำนา 10 ไร่ ปาล์ม 40 ไร่ ปลูกกล้วยแซมในสวนปาล์ม เลี้ยงไก่ไข่ 50 ตัว เลี้ยงปลา โดยปาล์มตัด 2 ครั้ง/เดือน 24 ครั้ง/ปี กล้วยน้ำว้า ตัด 2 ครั้ง / เดือน ข้าวเกี่ยว 2 ครั้ง/ปี

ในการทำนาจะไม่ใช่สารเคมี นำเกษตรอินทรีย์เข้ามาใช้ "แรกๆ ที่ทำอาจจะเห็นผลช้า แต่ดีกับธรรมชาติ" เรียนรู้บนเส้นทางของเกษตรพอเพียง ค้นสูตรปุ๋ยชีวภาพเอง ผสมโน้มผสมนั้น ศึกษาหาข้อมูล พยายามหาข้อมูลตามหน่วยงานต่างๆ เพื่อหาข้อมูลมาปรับใช้ในชุมชน โดยจากการหาข้อมูลทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการนำชีวภาพมาใช้ ตนเองจึงได้ทำเรื่องไปที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี อาจารย์และทีมงานและลงพื้นที่สำรวจ และเข้ามาทำการวิจัยและทำการทดลองนวัตกรรมชีวภาพจากความหลากหลายทางชีวภาพเชื้อราปฏิปักษ์ (หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน) มาใช้นาข้าว ปาล์ม และได้เข้ามาบริการองค์ความรู้ให้กับศูนย์อีกด้วย

ความแตกต่างของการใช้สารเคมี และสารชีวภาพ สำหรับการทำนาข้าวจากที่ลงทุน 5,000 บาท/ไร่ เหลือเพียง 1,700-2,200 บาท/ไร่ ได้ปริมาณข้าวเปลือก 1 ไร่/1 ตัน เม็ดข้าวมีคุณภาพดีไม่รีบแบน เพิ่มการแปรรูปข้าวเปลือก เป็นข้าวขาวเพิ่มรายได้ ซึ่งภายในศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ต. บึงกาสาม มีเครื่องสีข้าว ตนเองจะนำข้าวที่ได้มาสีเพื่อนำไปขาย โดยชาวบ้านในชุมชนนำข้าวเปลือกมาสี คิดกิโลกรัมละ 2 บาท ข้าวเปลือกสีเป็นข้าวขาวเพิ่มรายได้จาก8500เป็น35000บาทต่อเกวียน และที่สำคัญเมื่อได้รายได้หรือใช้จ่ายมาแต่ละครั้ง ต้องมีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย เมื่อครั้งที่ พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางมาดูงานที่จังหวัดปทุมธานี ได้มีโอกาสนำผลิตข้าวหอมปทุมธานีของศูนย์ไปเป็นของขวัญในนายกรัฐมนตรี นายกถามว่าข้าวมาจากไหน ตนเองจึงตอบว่า "ข้าวหอมปทุมธานีมาจากโครงการ ศพก.ของท่านนายก และได้ทาง มทร.ธัญบุรี มาดูแลและให้การช่วยเหลือ" โดยท่านนายกยังชื่นชมและให้เกษตรกรดูตนเองเป็นตัวอย่าง

"ไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่าราคาสินค้าเกษตรจะเป็นอย่างไร อยากให้เกษตรลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด หันมาใช้เกษตรอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมี ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม" เป็นชุมชนต้นแบบอินทรีย์ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยทางหมู่ 7 บึงกาสามได้รับการันตี เช่น เมื่อปี 2553 ได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อปี 2556 ศูนย์การเรียนรู้ดีเด่น จากกรมส่งเสริมเกษตรกร และทางชุมชนยังเข้าร่วมโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนหมู่ 7 บึงกาสาม จังหวัดปทุมธานีแบบมีส่วนร่วมเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี "ต้องขอขอบคุณทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ได้สร้างองค์ความรู้ร่วมไปถึงอาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ ที่ได้ให้ความช่วยเหลือ"

ทางด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี หัวหน้าโครงการ เปิดเผยว่า เมื่อปี 2556 ได้ลงพื้นที่ในการสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนหมู่ 7 บึงกาสาม พบว่าดินมีสภาพเป็นกรด มีความ ph 3-4 สภาพของดินแข็งไม่ร่วนซุย เนื่องมาจากการใช้สารเคมี ในการเพิ่มปริมาณธาตุอาหารหลักและรองในดิน กำจัดโรคพืช กำจัดศัตรูแมลง ต้นทุนสูงแต่ได้ผลผลิตต่ำ อีกทั้งผลผลิตมีสารโหละหนักปนเปื้อน ไม่ได้มาตรฐาน GAP ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ตนเองจึงได้คิดค้นนวัตกรรมชีวภาพจากความหลากหลายชีวภาพปฏิปักษ์จากดินในชุมชน โดยนำหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีชีวภาพด้วยนวัตกรรมจากความหลากหลายทางชีวภาพเชื้อราปฏิปักษ์ (หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน) เมื่อเห็นผลที่ออกมา ดีใจที่ได้ช่วยแก้ปัญหาให้เกษตรกรและเห็นเกษตรกรมีผลผลิตรายได้กำไรลดต้นทุน ความเป็นอยู่ดีขึ้นและเพิ่มขึ้น และมีการแบ่งปันให้กลุ่มเกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปีนี้พบว่าเกษตรกรเพิ่มผลผลิตจากเดิม 2เท่า เพิ่มการแปรรูปเป็นข้าวกล้อง ข้าวขาว ขอใบรับรองgapขยายตลาดกว้างขวางมากขึ้น นอกจากทางมหาวิทยาลัยยังได้ไปบริการวิชาการให้เกษตรกรตามที่ต่างๆ เช่น กลุ่มเกษตรกรสวนปาล์มกระบี่ เกษตรกรผลไม้ทุเรียน ลำใย จันทบุรี ตราด อีกด้วย

ลุงเล็กหนึ่งในตัวอย่างเกษตรอินทรีย์ต้นแบบได้น้อมนำศาสตร์ของรัชกาลที่ 9 มาใช้ ตามรอยแบบพอเพียง ถึงแม้นว่าราคาของสินค้าเกษตรจะผกผันอย่างไรก็ตาม ไม่ส่งผลกระทบต่อลุงแต่อย่างใด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง