สศก. ปูพรม 5 จังหวัดอีสาน สำรวจทัศนคติเกษตรกร สู่การปฏิรูป พัฒนารูปแบบประกันภัยนาปี

พุธ ๑๘ มกราคม ๒๐๑๗ ๑๐:๑๒
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จับมือ ธ.ก.ส. พร้อมลงพื้นที่ 23 มกราคมนี้ ศึกษารูปแบบความพึงพอใจและทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการประกันภัยข้าวนาปี ลุยปูพรมพื้นที่ 5 จังหวัดอีสาน เจาะกลุ่มตัวอย่างเกษตรกร 400 ราย สู่การพัฒนารูปแบบการประกันภัยข้าวนาปีให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร

นางจันทร์ธิดา มีเดช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงโครงการศึกษาวิจัยเรื่อง "การศึกษารูปแบบความพึงพอใจประกันภัยข้าวนาปีของเกษตรกร" ปีงบประมาณ 2560 โดย สศก. ร่วมมือกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อศึกษารูปแบบความพึงพอใจการประกันภัยข้าวนาปี และทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการประกันภัยข้าวนาปีของเกษตรกร โดยมีกำหนดลงพื้นที่ระหว่างวันที่ 23 มกราคม – 25 มีนาคม 2560 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด สัมภาษณ์เกษตรกรตัวอย่าง 400 ราย ที่มีการทำประกันภัยข้าวนาปีมากเป็นลำดับต้นของประเทศ ตามรายงานโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2559 ของ ธ.ก.ส. ซึ่งได้แก่ อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา และร้อยเอ็ด

สำหรับการประกันภัย ถือเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญในการบริหารความเสี่ยง (Disaster Risk Management) ของเกษตรกร ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นระบบเตือนภัยล่วงหน้าทำให้เกษตรกรเตรียมความพร้อมใน เชิงรุกที่จะเผชิญกับภัยธรรมชาติและค้นหาวิธีป้องกันความเสี่ยงด้านการเงินด้วยตนเอง โดยเกษตรกรสามารถถ่ายโอนความเสี่ยงไปยังบริษัทประกันภัยในฐานะผู้รับประกันและต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันให้กับผู้รับประกัน เพื่อที่จะได้รับความคุ้มครองหรือชดเชยทางการเงินหากเกิดความเสียหายขึ้น ซึ่งปัจจัยที่จะช่วยผลักดันพัฒนาระบบการประกันภัยในประเทศไทยให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมมีประสิทธิภาพและยั่งยืนวิธีหนึ่ง คือ การทำให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจต่อระบบประกันภัยที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจที่ผ่านมาของ ธ.ก.ส. พบว่า เกษตรกรบางส่วนมีทัศนคติต่อการประกันภัยพืชผลว่าเป็นเรื่องไกลตัวเป็นการสูญเสียค่าใช้จ่ายที่เปล่าประโยชน์ไม่คุ้มค่า ไม่เหมือนกับการได้รับความช่วยเหลือโดยตรงจากรัฐบาล แตกต่างจากการประกันภัยพืชผลในต่างประเทศที่มีการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นระบบที่เข้ามาเพื่อลดภาระความเสี่ยงที่ครอบคลุมด้านเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และประมง

ดังนั้น การปฏิรูปการประกันภัยพืชผลในประเทศไทยจึงมีความสำคัญอย่างมาก ภายใต้ความเสี่ยงที่ได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง เพื่อทำให้เกษตรกรเกิดความเชื่อมั่นว่าเมื่อพื้นที่การประกันเพิ่มมากขึ้น อัตราเบี้ยประกันภัยจะถูกลงตามกลไกตลาด เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจว่าระบบประกันภัยพืชผลคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร คุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่

ทั้งนี้ ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัย จะใช้เป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการประกันภัยข้าวนาปี เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร จึงขอขอบคุณ และขอความร่วมมือกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างทั้ง 5 จังหวัดในการลงพื้นที่สำรวจครั้งนี้ด้วย โดย สศก.จะรายงานผลการสำรวจให้ทราบในระยะต่อไป หากเกษตรกรและท่านที่สนใจแนวทางการสำรวจในครั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนวิจัยเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตรกร สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร โทร. 0 2579 2982 ในวันและเวลาราชการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๓๐ เม.ย. GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๓๐ เม.ย. PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๓๐ เม.ย. LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๓๐ เม.ย. ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๓๐ เม.ย. LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๓๐ เม.ย. SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๓๐ เม.ย. STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๓๐ เม.ย. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน