ครบรอบ 100 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะบัญชีฯ จัดงาน “Flagship for Innovative Wisdom” พร้อมหาแนวทางปั้นเด็กเจน Z ตอบโจทย์เศรษฐกิจยุคดิจิทัล

จันทร์ ๒๓ มกราคม ๒๐๑๗ ๑๗:๒๓
โอกาสครบรอบ 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ได้จัดงาน "Flagship for Innovative Wisdom" เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ใหม่ๆ แก่คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ พร้อมกระตุ้นให้เกิดการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาด้านธุรกิจ สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล โดย รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายมารุต บูรณะเศรษฐกุล ซีอีโอแห่งโออิชิ กรุ๊ป และนายวรวัจน์ สุวคนธ์ รองผู้จัดการใหญ่ด้านทรัพยากรบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ขึ้นกล่าวเปิดงานในหัวข้อ "อนาคตและทิศทางการศึกษาด้านธุรกิจ" กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างภาคการศึกษา และภาคธุรกิจในการกำหนดแนวทางการผลิตบัณฑิตป้อนสู่ตลาดแรงงาน

รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า "ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ทั้งในด้านสังคม และเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ สถาบันการศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานเบื้องต้น ในการผลิตบุคลากรอันเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ในการนำพาประเทศก้าวต่อไปข้างหน้า จึงต้องพลิกโฉมครั้งใหญ่ ซึ่งต้องอาศัยร่วมมือจากภาคธุรกิจ ในการร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะความรู้ ตอบโจทย์เศรษฐกิจยุคดิจิทัล

การจัดการศึกษาจะต้องเป็นแบบ Co-Creation คือทั้งภาคธุรกิจ และภาคการศึกษาต้องเข้ามาช่วยกันวิเคราะห์ และคาดการณ์ถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดการศึกษา สร้างบัณฑิตให้มีทักษะความรู้รองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งที่ผ่านมาคณะบัญชีจุฬาฯ เองได้จับมือกับภาคเอกชน เปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนการสอนของเราในหลายเรื่อง ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของนักศึกษาเจเนอเรชั่น Z เช่น โครงการ Mentoring จัดให้รุ่นพี่เข้ามาแนะนำนักศึกษารุ่นน้อง ทั้งเรื่องการงาน และการใช้ชีวิต, โครงการ E-learning หลักสูตรการศึกษาออนไลน์ เพื่อเปิดกว้างการเรียนรู้สู่คนทุกระดับ ไม่ว่าใครก็เข้าถึงการศึกษาได้หากมีความสนใจ นอกจากนี้ยังร่วมมือกับภาคเอกชนหลายหน่วยงาน จัดให้นักศึกษาได้เข้าไปเรียนรู้ประสบการณ์จริง ในการทำงานภายในองค์กรธุรกิจตลอดช่วงการศึกษา 4 ปี ไม่ใช่แค่การฝึกงานช่วงใกล้จบปีการศึกษาเหมือนแต่ก่อน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก เด็กสามารถนำเอาความรู้จากประสบการณ์จริงมาใช้ในการพัฒนาตัวเอง"

ทางด้าน นายมารุต บูรณะเศรษฐกุล ซีอีโอใหญ่แห่งโออิชิ กรุ๊ป กล่าวว่า "คนเจเนอเรชั่น Z จะคุ้นเคยกับพฤติกรรมการหาข้อมูลความรู้จากอินเตอร์เน็ต ด้วยเหตุนี้การเรียนรู้ในห้องเรียนต้องปรับรูปแบบใหม่ สถาบันการศึกษาต้องปรับบทบาทจากแหล่งองค์ความรู้ เป็นองค์กรสนับสนุนการเรียนรู้ ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้นำเอาองค์ความรู้มาฝึกฝนใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อชีวิตส่วนตัว และชีวิตการทำงานของเด็กรุ่นใหม่

การเรียนการสอนต้องปรับรูปแบบเป็นการโค้ชชิ่ง โดยการฝึกฝนให้เด็กมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านที่มีความสำคัญต่อการเติบโตในอนาคต ซึ่งปัจจุบันโลกก้าวเข้าสู่สังคมแห่งการแบ่งปัน ใครมีความรู้อะไรก็เอามาแชร์กันบนโลกออนไลน์ ยิ่งให้ก็ยิ่งได้มาก คือได้สังคมเพื่อนที่มีมุมมองความคิดไปในทิศทางเดียวกัน และพร้อมให้ความช่วยเหลือกัน ซึ่งจำเป็นอย่างมากในการทำงานยุคสมัยนี้ นอกจากนี้การทำงานในโลกธุรกิจยุคดิจิทัลจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีความอ่อนน้อมถ่อมตนทางปัญญา พร้อมเปิดรับความรู้ใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนาตัวเอง เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการทำงานที่ต้องการความแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา"

นายวรวัจน์ สุวคนธ์ รองผู้จัดการใหญ่ด้านทรัพยากรบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ทำให้ปัจจุบันการแข่งขันขององค์กรธุรกิจ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่คู่แข่งธุรกิจเท่านั้น แต่ยังต้องแข่งขันกับเครื่องมือใหม่ๆ ที่เทคโนโลยีสร้างขึ้นมา เช่น แอพพลิเคชั่นทางการเงินบนมือถือ ซึ่งเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาด สิ่งเหล่านี้ทำให้ความต้องการบุคลากรขององค์กรธุรกิจเปลี่ยนไป

เด็กเจเนอเรชั่น Z มีโอกาสและช่องทางการเรียนรู้อยู่รอบตัว ขณะที่บริบทสังคมในยุคดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา องค์ความรู้ในห้องเรียนจึงอาจไม่สำคัญเท่ากับการฝึกฝนให้เด็กมีทักษะในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และสามารถนำเอาความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์กับการใช้ชีวิต และการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะในการคิดวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในยุคดิจิทัล การเติบโตในภาคธุรกิจจำเป็นต้องอาศัยเด็กที่มีความโดดเด่นใน 3 เรื่องตามลำดับความสำคัญที่เรียกว่า ASK คือ Attitude เด็กที่มีทัศนคติที่ดี จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับทีมงาน และถ้ามีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ, Skill มีทั้งหมด 10 ทักษะสำคัญที่เด็กต้องมี อาทิ สามารถคิดนอกกรอบ ทำงานได้หลากหลายวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เป็นต้น สุดท้ายคือ Knowledge ความรู้ที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดให้มีความเหมาะสมต่อการนำมาใช้งานกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง"

ทั้งนี้ งาน "Flagship for Innovative Wisdom" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 มกราคม 2560 ณ อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศเข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อต่างๆ ทุกสาขาการศึกษาด้านธุรกิจ กว่า 500 คน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4