มทร.ธัญบุรี ประดิษฐ์อุปกรณ์ผลิตน้ำบริโภคแบบพกพา

อังคาร ๐๒ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๗:๕๑
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมศักดิ์ โรจน์วิรุฬห์ นักวิจัยและอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ประดิษฐ์อุปกรณ์ผลิตน้ำบริโภคแบบพกพา แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการบริโภค สามารถนำไปใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำดิบที่ไม่สามารถนำมาบริโภคได้ รวมไปถึงพื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัยและภัยพิบัติ มีขนาดเล็ก สะดวกแก่การพกพา ผลิตน้ำบริโภคที่สะอาดตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำบริโภคขององค์กรอนามัยโลก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมศักดิ์ โรจน์วิรุฬห์ เล่าว่า เมื่อปี 2554 เป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งตอนนั้นน้ำดื่มขนาดแคลนมาก ตนเองจึงได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ผลิตน้ำขึ้นมาใช้เพื่อนำน้ำมาบริโภค ซึ่งสามารถใช้งานได้จริง จึงได้พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ โดยมี รศ.สัญญา สิริวิทยาปกรณ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ โดยอุปกรณ์ผลิตน้ำแบบพกพา สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการบริโภค นำไปใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำดิบ น้ำประปา น้ำผิวดิน ผลิตน้ำสำหรับบริโภคได้ 1.0 ลิตรต่อครั้ง น้ำดื่มที่ได้ตามมาตรฐานน้ำดื่มขององค์กรอนามัยโลก

หลักการทำงานของอุปกรณ์ผลิตน้ำบริโภคแบบพกพา แบ่งออก 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ขั้นตอนการแยกอนุภาคแขวนลอยที่ปนเปื้อนในน้ำดิบโดยอาศัยหลักการก่อตะกอนทางเคมี 2. ขั้นตอนการกรองน้ำด้วยเยื่อกรองเมมเบรนและอาศัยแรงดันจากชุดสร้างแรงดัน วิธีใช้เครื่อง เติมน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เติมสารก่อตะกอนในปริมาณที่เหมาะสม จากนั้นกวนเร็ว 1-2 นาที กวนช้า 10 นาที ทิ้งให้ตกตะกอน 30 นาที และปล่อยส่วนที่เป็นตะกอนทิ้ง โดยหลักการเป็นนวัตกรรมที่เกิดจากการประยุกต์กระบวนการผลิตน้ำสะอาดโดยใช้การก่อตะกอนและการตกตะกอนโดยใช้สารเคมี เมื่อทำการแยกตะกอนของสิ่งปนเปื้อนในน้ำแล้ว อุปกรณ์ดังกล่าวจะมีส่วนประกอบที่ใช้กระบวนการกรองน้ำด้วยเยื่อกรองเมมเบรนและชุดสร้างแรงดัน ทำให้สามารถผลิตน้ำที่มีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้บริโภคได้

โดยจุดเด่นของผลงานมีขนาดเล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 เซนติเมตร สูง 32 เซนติเมตร

น้ำหนักผลงาน 1 กิโลกรัม สะดวกต่อการพกพา "ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ซึ่งสามารถตอบสนองการใช้งานในสภาวะการเกิดอุทกภัย หรือภาวะขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับบริโภค" เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้นำอุปกรณ์ผลิตน้ำแบบพกพา เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการงาน "วันนักประดิษฐ์" ประจำปี ๒๕๖๐(Thailand Inventors' Day 2017) ณ Event Hall 102 - 104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ โดยได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเจ้าเครื่องดังกล่าว นำไปพัฒนาต่อยอด ผลิตและใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ เนื่องจากอุปกรณ์ส่วนประกอบต่างๆ มีจำนวนน้อยชิ้นและขั้นตอนการทำงานไม่ยุ่งยากซับซ้อน หากมีการผลิตโดยใช้วัสดุอื่นๆ เช่น พลาสติก ที่มีราคาต้นทุนต่ำลง และผลิตในจำนวนมากสามารถใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้

ในขณะทางมหาวิทยาลัยอยู่ในช่วงดำเนินการจดสิทธิ์บัตร ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมศักดิ์ โรจน์วิรุฬห์ 085-4279666 โทร.0-2549-4694 ระหว่างวันที่ 23 – 27 สิงหาคมนี้ ผลงานดังกล่าวจะนำไปจัดแสดงในงาน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ๒๕๖๐" Thailand Research Expo 2017 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ อีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๑ พ.ค. เฮลท์สเคป (Healthscape)' นำร่องส่ง 'MADE BY SILVER' ชวนสัมผัสผลิตภัณฑ์เพื่อไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มซิลเวอร์เจน 20 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็ม
๒๑ พ.ค. HENG เสนอขายหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2567 จำนวน 2 ชุด อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.25% และ 5.50% เปิดจองซื้อ 23-24 และ 27 พ.ค. 67 เดินหน้าเสริมแกร่งธุรกิจ
๒๑ พ.ค. กลุ่มบริษัทศรีตรัง ลุยติดตั้ง EV Charger ในโรงงานทั่วประเทศ สนับสนุนพนักงานใช้พลังงานสะอาด ร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอกย้ำจุดยืน Green Rubber
๒๑ พ.ค. Bitkub Chain และ The Sandbox ร่วมยกระดับวงการ Metaverse ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๒๑ พ.ค. AJA โชว์แกร่ง!! งบโค้งแรกพลิกมีกำไรพุ่งเกือบ 452% ชูกลยุทธ์ปี 67 กระจายลงทุนในธุรกิจหลากหลาย-สร้างฐานการเติบโตยั่งยืน
๒๑ พ.ค. KJL โชว์นวัตกรรมในงาน SUBCON Thailand 2024 เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า
๒๑ พ.ค. ITEL อวดกำไร Q1/67 โต 113% กำไรสุทธิ 123 ล้านบาท ล่าสุด ก.ล.ต. ไฟเขียวนับหนึ่งไฟลิ่ง บ.ย่อย BLUE เรียบร้อยแล้ว
๒๑ พ.ค. โอยิกะ ผู้นำด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีแบตเตอรี่จากสิงคโปร์ ชูนวัตกรรมพลังงานสะอาด มุ่งขยายธุรกิจตู้สลับแบตเตอรี่สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
๒๑ พ.ค. ดื่มด่ำกับรสชาติของเนื้อโกเบจากโอซาก้า ที่ห้องอาหารฮากิ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
๒๑ พ.ค. W9 เผยไทยเผชิญฝุ่นพิษล้อมเมืองติดอันดับโลก เปิด 5 กลุ่มเสี่ยงรับฝุ่นพิษ ภัยเงียบสะสม แนะวิธีรับมือเชิงเวลเนส