ม.มหิดล จับมือ University of Strathclyde เปิด “หลักสูตรร่วมนานาชาติวิศวกรรมศาสตร์ THAI-UK ระหว่าง Mahidol-Strathclyde” มุ่งเน้นเพิ่มบุคลากร และงานวิจัยคุณภาพรองรับอุตสาหกรรมโลก

อังคาร ๓๐ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๒:๔๘
มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ University of Strathclyde (มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์) "หลักสูตรร่วมนานาชาติวิศวกรรมศาสตร์ THAI-UK ระหว่าง Mahidol-Strathclyde" โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ University of Strathclyde สหราชอาณาจักร เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์หลักสูตรที่จะเริ่มเปิดการเรียนการสอนในปีนี้เป็นปีการศึกษาแรก และเป็นการแสดงบทบาทของมหาวิทยาลัยในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการมุ่งสู่ Thailand 4.0 ด้วยการเปิดหลักสูตรร่วมนานาชาติวิศวกรรมศาสตร์ ผลิตบัณฑิตที่มุ่งสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม มุ่งเน้นเพิ่มบุคลากรและงานวิจัยคุณภาพเพื่อรองรับอุตสาหกรรมโลก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ University of Strathclyde สหราชอาณาจักร มีความร่วมมือกันในด้านวิชาการมาอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นผลจากการต่อยอดการลงนามความร่วมมือในงาน Symposium Mahidol-Strathclyde ที่จัดขึ้นในปี 2559 ที่ผ่านมา โดย University of Strathclyde เป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้านการออกแบบและผลิตนวัตกรรม การที่ได้จัดทำหลักสูตรร่วมนานาชาติวิศวกรรมศาสตร์ครั้งนี้ จะนำไปสู่การพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ เพื่อสร้างงานวิจัยที่สามารถพัฒนาเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ สู่การเป็นผู้ประกอบการ และรองรับภาคอุตสาหกรรมโลกได้ และ Prof. Alexander Galloway, Vice Dean of Engineering, University of Strathclyde ได้กล่าวว่า ด้วยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีประสบการณ์การวิจัยและพัฒนา รวมถึงการศึกษาทางวิชาการด้านการพัฒนาเครื่องมือแพทย์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากว่า 15 ปี นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในต่างประเทศ ซึ่งเป็นความพร้อมที่จะสามารถร่วมกันสร้างหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และมุ่งมั่นพัฒนาศาสตร์ด้านวิศวกรรมเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน"

สำหรับหลักสูตรสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ "เป้าหมายของหลักสูตรนานาชาติสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คือ นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรจะสามารถจัดการกับปัญหาทั้งทางด้านวิศวกรรม และทางการแพทย์ตามความต้องการของสังคมและประชาคมระหว่างประเทศได้ โดยหลักสูตร Double Degree นี้จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ไปศึกษา ณ University of Strathclyde เป็นเวลา 2 ปี สำหรับหลักสูตรปริญญาตรี โดยจะเน้นการศึกษาบนการทำโปรเจคและงานวิจัยร่วมกันระหว่าง 2 สถาบัน และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว บัณฑิตจะได้รับ 2 ปริญญา จากทั้ง 2 สถาบัน ซึ่งการเปิดหลักสูตรนานาชาตินี้นับเป็นก้าวหนี่งที่สำคัญของภาควิชา" รองศาสตราจารย์ ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติม

นอกนี้ยังมีการจัดแสดผลงานนวัตกรรมของนักศึกษา อาทิเช่น หุ่นยนต์ผ่าตัด หุ่นยนต์ส่งยาอัตโนมัติสำหรับขนเวชภัณฑ์ในสถานดูแลผู้สูงอายุ สายสวนปัสสาวะเคลือบอนุภาคนาโนบรรจุสารต้านจุลชีพ หุ่นยนต์เสริมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์ช่วยเตือนหลับในด้วยสัญญาณสมอง (ALERTZ) ซึ่งเป็นผลงานที่ตอบสนองนโยบาย Startup ของรัฐบาลอีกด้วย ทั้งนี้หลักสูตรพร้อมที่จะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๖ กทม. ประเมินผล Lane Block จัดระเบียบจราจรหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ พบรถแท็กซี่-สามล้อเครื่องจอดแช่ลดลง
๑๗:๐๓ สมาคมประกันวินาศภัยไทย Kickoff การใช้ข้อมูล Non-Life IBS พร้อมส่งมอบรายงานข้อมูลสถิติในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยของประเทศ
๑๗:๓๖ 3 โบรกฯ ประสานเสียงเชียร์ ซื้อ SAV เคาะราคาเป้า 24-25 บาท/หุ้น คาดกำไร Q1/67 ทุบสถิติออลไทม์ไฮ รับปริมาณเที่ยวบินเพิ่ม เก็งผลงานทั้งปีโตเด่น
๑๗:๐๓ Minto Thailand คว้ารางวัล Best Official Account จาก LINE Thailand Award 2023
๑๗:๒๔ กทม. ตรวจสอบความปลอดภัยอาคาร ป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่ เตรียมพร้อมหน่วยเบสท์รองรับพายุฤดูร้อน
๑๗:๓๒ ไขข้อสงสัย.เมื่อซื้อแผงโซล่าเซลล์แล้วจะขนย้ายกลับอย่างไรให้ปลอดภัย โดย เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย)
๑๖:๔๕ ไทเชฟ ออกบูธงาน FHA Food Beverage 2024 ที่สิงคโปร์
๑๖:๕๓ เนื่องในวันธาลัสซีเมียโลก มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย
๑๖:๓๕ EGCO Group จัดพิธีเปิดโรงไฟฟ้า EGCO Cogeneration (ส่วนขยาย) อย่างเป็นทางการ
๑๖:๒๖ เพลิดเพลินไปกับเมนูพิเศษประจำฤดูกาล: อาหารจากแคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี ที่ โวลติ ทัสคาน กริลล์ แอนด์ บาร์ โรงแรมแชงกรี-ลา