สำนักงานพลังงานจังหวัดจันทบุรี ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังาน และเพิ่มประชากรปูม้าไข่ ส่งเสริมการทำประมงชายฝั่ง สร้างความอุดมสมบูรณ์ในศูนย์การศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน

จันทร์ ๐๓ กรกฎาคม ๒๐๑๗ ๑๗:๐๐
สำนักงานพลังงานจังหวัดจันทบุรี กระทรวงพลังงาน นำคณะสื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ร่วมศึกษาดูงาน โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ชมศักยภาพพลังงานทดแทนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และเพิ่มทรัพยากรปูไข่ ในการทำประมงชายฝั่ง สร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนให้ประชาชนในพื้นที่

จังหวัดจันทบุรี-วันนี้ ( 30 มิถุนายน 2560) นางจันทร์ทิพย์ แสนเขียววงศ์ พลังงานจังหวัดจันทบุรี เปิดเผยว่า โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำหรับธนาคารปูม้าไข่ เป็นโครงการภายใต้โครงการพลังงานชุมชนเพื่อชุมชนจัดการตนเองด้านพลังงาน ปี 2560 (Block grant) งบประมาณโดยกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 840,000 บาท เพื่อดำเนินการสนับสนุนการจัดหาและติดตั้งระบบเติมอากาศในบ่ออนุบาลปูม้าไข่ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 1,500 วัตต์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ระบบ เพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มทรัพยากรปูไข่ในการทำประมงชายฝั่ง ในพื้นที่ตำบลท่าใหม่ อำเภอคลองขุด จังหวัดจันทบุรี รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความเหมาะสม

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้กว่า 29,500 บาทต่อปี และสามารถเพิ่มสัดส่วนการผลิตและการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตามนโยบายของกระทรวงพลังงานได้ไม่น้อยกว่า 0.67 toeต่อปี หรือ คิดเป็น 7,800 หน่วยต่อปี ที่สำคัญยังส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการทำประมงชายฝั่งโดยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในพื้นที่มากยิ่งขึ้น สร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังสร้างสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศที่ดีเนื่องจากสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย

"ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และชาวประมงพื้นบ้าน ริเริ่มจัดทำโครงการธนาคารปูไข่เพื่ออนุรักษ์และเพิ่มทรัพยากรปูม้า มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 โดยจะนำปูม้าไข่แก่นอกกระดองที่ชาวประมงจับได้มาแยกไข่ออกจากแม่ปู จากนั้นนำไข่มาฟักและอนุบาลตัวอ่อนก่อนปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ โดยขั้นตอนการดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ระบบและอุปกรณ์ที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าและไฟฟ้า ซึ่งทำให้โครงการมีต้นทุนค่าไฟฟ้าสูงพอสมควร นอกจากนนี้ บางครั้งยังประสบปัญหาไฟฟ้าตกดับทำให้ลูกปูม้าไข่ที่อนุบาลไว้ขาดออกซิเจนเกิดความเสียหายอย่างมาก ทางสำนักงานพลังงานจังหวัดจันทบุรีเห็นว่า โครงการดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ เพราะใช้พลังงานทดแทนช่วยบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความเหมาะสม จึงได้ร่วมสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนขึ้นในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อส่งเสริมให้โครงการดังกล่าวสามารถเป็นต้นแบบการทำประมงพื้นบ้านที่มีความยั่งยืน และขยายผลไปสู่กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่อื่นอีกต่อไป" พลังงานจังหวัดจันทบุรี กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง