เอสซีจี เผยความคืบหน้าโครงการ Long Son Petrochemicals ประเทศเวียดนาม มุ่งมั่นสร้างความยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน

ศุกร์ ๑๔ กรกฎาคม ๒๐๑๗ ๑๐:๒๙
บริษัท วีนา เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (VSCG) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่เอสซีจีถือหุ้นทางอ้อมทั้งหมด ได้อนุมัติการดำเนินการลงทุนโครงการ Long Son Petrochemicals Company Limited (LSP) และ SCG ได้ จัดทำหนังสือแจ้งผู้ชนะการประกวดราคา (Letter of Award) ให้กับผู้รับเหมาหลักในวันที่ 14 กรกฎาคม 2560 โดยคาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาจ้างผู้รับเหมาแบบเหมารวมเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2560 โดยจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณสี่ปีครึ่ง และจะเริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2565

โครงการ LSP มีมูลค่าการลงทุนรวมคิดเป็นเงินประมาณ 5,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 188,000 ล้านบาท โดยจะมีโครงสร้างทางการเงินประกอบด้วยเงินกู้เป็นสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign denominated debt) และเงินทุนในอัตราส่วน 60:40 โดยค่าใช้จ่ายลงทุนจะทยอยจ่ายไปตลอดช่วงระยะเวลาดำเนินโครงการ ทั้งนี้ เอสซีจีถือหุ้นทางอ้อมใน LSP ร้อยละ 71 (โดยบริษัทวีนา เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ร้อยละ 53 และบริษัทไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 18) ในขณะที่ Vietnam Oil and Gas Group (PetroVietnam) ถือหุ้นร้อยละ 29

LSP เป็นโครงการปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกของประเทศเวียดนาม มีความสามารถในการแข่งขันในเชิงธุรกิจเนื่องจากเป็นโครงการที่มีการเชื่อมโยงจากโรงงานปิโตรเคมีขั้นต้นถึงขั้นปลายครบวงจร มีความประหยัดจากขนาด (Economies of scale) และสามารถใช้วัตถุดิบได้อย่างยืดหยุ่น นอกจากนี้ LSP ยังมีการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินกิจการ เช่น ท่าเรือน้ำลึก และสาธารณูปโภคต่าง ๆ ซึ่งมีมูลค่าประมาณร้อยละ 30 ของเงินลงทุนทั้งหมด

จุดเด่นของโครงการนี้คือการมีโรงงานผลิตเอทิลีนขนาดกำลังการผลิต 1 ล้านตันต่อปี ที่มีความยืดหยุ่นสูง โดยสามารถเลือกใช้ก๊าซร่วมกับแนฟทาเป็นวัตถุดิบในสัดส่วนต่างๆ เพื่อการผลิตโอเลฟินส์รวมกันได้สูงถึง 1.6 ล้านตันต่อปี สำหรับเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตของ LSP ถือเป็นเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่ได้รับการยอมรับ ส่วนวัตถุดิบจะประกอบด้วยก๊าซอีเทนจากแหล่งภายในประเทศเวียดนาม ก๊าซโพรเพนและวัตถุดิบแนฟทาจากการนำเข้าภายใต้สัญญาซื้อขายวัตถุดิบในราคาตลาดที่แข่งขันได้ ซึ่งจะทำให้โรงงานมีความยืดหยุ่นสูง สามารถเลือกใช้ก๊าซเพื่อบริหารต้นทุนได้สูงสุดถึงร้อยละ 80 ของวัตถุดิบทั้งหมด นอกจากนี้การผลิตโพลิโอเลฟินส์ในขั้นปลายซึ่งประกอบด้วยโรงงาน High Density Polyethylene (HDPE), Linear Low Density Polyethylene (LLDPE) และ Polypropylene (PP) จะมีกำลังการผลิตโดยรวมใกล้เคียงกับโรงงานโอเลฟินส์

LSP ตั้งอยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ซึ่งเป็นตลาดหลักและเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนามเพียง 100กิโลเมตร โดยในปี 2558 ประเทศเวียดนามนำเข้าผลิตภัณฑ์โพลิโอเลฟินส์ประมาณ 2.3 ล้านตัน และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ดีในอนาคต ซึ่งเป็นกลยุทธ์การลงทุนตามวิสัยทัศน์ของเอสซีจีในการสร้างความยั่งยืนด้านคุณภาพชีวิตให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในภูมิภาคอาเซียน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๙ ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๑๗:๕๑ GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๑๗:๒๗ กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๑๗:๑๔ กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๑๗:๒๕ First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๑๗:๐๒ CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๑๗:๑๑ บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๑๗:๕๒ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๑๗:๐๑ รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๑๗:๔๓ กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว