“เทคโนโลยีโลจิสติกส์” STC ตอบโจทย์ตลาดที่สุดในยุค 2017

ศุกร์ ๑๔ กรกฎาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๑๔
การเติบโตของโลจิสติกส์ภายใต้นโยบายของภาครัฐบาล ทำให้เกิดการตื่นตัวในเรื่องโลจิสติกส์ ส่งผลให้ความต้องการบุคลากรด้านโลจิสติกส์มีปริมาณมากขึ้น สถาบันการศึกษาต่างๆ จึงหันมาเปิดหลักสูตรดังกล่าว แต่ที่ผ่านมาหลักสูตรโลจิสติกส์ที่เปิดยังไม่สามารถตอบรับกับความต้องการตลาดแรงงานได้เป็นอย่างดี

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (STC) เห็นความสำคัญของการศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน จึงได้ปรับหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ใหม่ โดยได้เชิญ คุณเกริกกล้า สนธิมาศ ประธานกิติศักดิ์และคณะผู้บริหารสมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย เข้ามาช่วยให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้สอดรับกับตลาดแรงงาน

คุณเกริกกล้า สนธิมาศ ประธานกิติศักดิ์ สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย กล่าวว่า บุคลากรด้านโลจิสติกส์เป็นที่ต้องการของตลาดมานานแล้ว และเมื่อภาครัฐให้การสนับสนุนลงทุนโลจิสติกส์มากขึ้น ยิ่งทำให้บุคลากรด้านนี้เป็นที่ต้องการมากขึ้น นอกจากนี้ การเกิดขึ้นของเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ยิ่งทำให้ความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ด้านโลจิสติกส์เป็นที่ต้องการมากขึ้น

สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (STC) ถือว่าตอบโจทย์กับความต้องการของตลาดแรงงานได้เป็นอย่างดี เนื่องจากหลักสูตรที่นี้จะสอดแทรกเรื่องของการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้กับเรื่องโลจิสติกส์ ซึ่งปัจจุบันโลจิสติกส์จะไม่ใช่แค่เรื่องของการขนส่งสินค้า แต่ต้องทำอย่างไรให้การขนส่งสินค้าประหยัดพลังงาน เวลา ให้มากที่สุด

"ตอนนี้โลจิสติกส์จะมองแต่เรื่องของการขนส่งในแบบเดิมๆ ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ต้องมองการขนส่งแบบที่ช่วยประหยัดพลังงาน อย่าง การใช้รถขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (EV) ในการขนส่ง ซึ่งอันนี้เราได้เห็นแน่ในอีก 5 ปีข้างหน้า ต่างประเทศเขาใช้รถระบบนี้มานานแล้ว ซึ่งต่อไปรัฐก็จะออกนโยบายให้เรื่องการขนส่งต้องทำอย่างไรให้ประหยัดพลังงานให้มากที่สุด และช่วยลดมลภาวะ ซึ่งบริษัทที่ทำเรื่องโลจิสติกส์ปรับตัวเอง"

ด้าน รศ.ดร.ศักดิ์ กองสุวรรณ ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านการพัฒนา กล่าวว่า "แม้ว่าพื้นฐานของนักศึกษาแต่ละคนจะมีความหลากหลาย แต่เมื่อได้มาเรียนที่ STC แล้วเขาจะต้องออกไปเป็นคนมีคุณภาพ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนางานของตัวเองได้"

สำหรับหลักสูตรเทคโนโลยีโลจิสติกส์ นักศึกษาที่เรียนที่นี้จะได้ความรู้ที่แตกต่าง เพราะมีการสอดแทรกเรื่องของเทคโนโลยีเข้าไป ซึ่งจะตอบรับกับความต้องการของตลาดยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การได้ทางสมาพันธ์โลจิสติกส์ไทยเข้ามาช่วยแนะนำหลักสูตรทำให้หลักสูตรตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งน่าจะเป็นเจ้าแรกที่หลักสูตรตรงกับความต้องการมากที่สุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน