ปภ.ติดตั้งสถานีด้านพิกัดและระดับความสูงเพื่อประเมินความเสียหายด้วยระบบดาวเทียมนำทาง ในพื้นที่เสี่ยงภัยภาคกลาง เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสาธารณภัยตามมาตรฐานาสากล

อังคาร ๐๑ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๗:๓๖
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการจัดตั้งสถานีพิกัดและระดับความสูง เพื่อประเมินความเสียหายในพื้นที่เสี่ยงภัย ด้วยระบบดาวเทียมนำทางในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลางจำนวน 6 สถานี ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี ปราจีนบุรี นครปฐม สมุทรปราการ และอ่างทอง พร้อมเชื่อมโยงกับสถานีฐานของกรมที่ดิน และกรมโยธาธิการและผังเมือง รวม 83 สถานี เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการจัดทำแผนที่เสี่ยงอุทกภัยการจัดทำรังวัดที่ได้มาตรฐาน การประเมินความเสียหายของพื้นที่ประสบอุทกภัย และมาตรฐานเวลาของประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการสาธารณภัยตามมาตรฐานสากล สอดรับกับนโยบาย "Thailand 4.0" ของรัฐบาล

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สาธารณภัยมีแนวโน้มทวีความรุนแรงและเกิดบ่อยครั้งมากขึ้น สร้างความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการสาธารณภัยที่ครอบคลุมทุกมิติ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการสาธารณภัยของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการจัดตั้งสถานีพิกัดและระดับความสูง เพื่อประเมินความเสียหายในพื้นที่เสี่ยงภัย ด้วยระบบดาวเทียมนำทาง GNSS (Global Navigation Satellite System) สำหรับเป็นหมุดหลักฐานอ้างอิงในการทำแผนที่เสี่ยงอุทกภัย การจัดทำรังวัดที่ได้มาตรฐาน การประเมินความเสียหายของพื้นที่ประสบอุทกภัย และมาตรฐานเวลาของประเทศไทย โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) และสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เป็นหน่วยสนับสนุนด้านเทคนิคและบุคลากรในการติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐานด้านเวลาและความถี่ สถานีอ้างอิงแบบถาวร เพื่อใช้เป็นโครงข่ายหมุดหลักฐานอ้างอิงสำหรับพิกัดและเวลามาตรฐานของประเทศไทย ด้วยระบบดาวเทียมนำทางในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง จำนวน 6 สถานี ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี ปราจีนบุรี นครปฐม สมุทรปราการ และอ่างทอง พร้อมเชื่อมโยงกับสถานีฐานของกรมที่ดิน และกรมโยธาธิการและผังเมือง รวม 83 สถานี และภายในปี พ.ศ. 2561 จะเพิ่มจำนวนเป็น 222 สถานีทั่วประเทศ ซึ่งการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยมีข้อมูลหลักค่าพิกัดทางราบและทางดิ่งที่มีความแม่นยำสูง เวลามาตรฐาน

ของประเทศไทย และข้อมูลสภาวะแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลาง อาทิ อุณภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการสาธารณภัยของประเทศ การพัฒนาด้านคมนาคมและขนส่ง การจัดทำ Smart City รวมถึงบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งนี้ ได้จัดพิธีเปิดอนุสาวรีย์หมุดหลักฐานสำหรับอ้างอิงค่าพิกัดและเวลามาตรฐานประเทศไทย ด้วยสัญญาณจากระบบดาวเทียมนำทางสากล ในวันที่ 1 สิงหาคม 2560 ณ อาคารผดุงมาตร สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี กล่าวได้ว่า โครงการฯ ดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการสาธารณภัยตามมาตรฐานสากล รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบาย "Thailand 4.0" ของรัฐบาล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4