คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประชุมวิชาการ ด้านเทคโนโลยีอาคาร ปลุกจิตสำนึกสถาปนิก วิศวกร รุ่นใหม่สร้างอาคารประหยัดพลังงาน รักษ์สิ่งแวดล้อม

พุธ ๐๒ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๐๙:๑๔
ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ หรือ Gross Domestic Product-GDP คือผลรวมสุดท้ายของสินค้าและบริการที่รัฐบาลเกือบทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ได้ถือเป็นตัวชี้วัดอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ แต่ภายใต้ค่า GDP ทีสูงขึ้น หลายประเทศกลับเผชิญวิกฤติปัญหาด้านพลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ โดยสัมพันธ์กันอย่างมีนัยยะสำคัญ เช่น ก๊าซธรรมชาติ แร่ ผิวดิน ลดลง ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ นอกจากนี้ยังพบปัญหามลภาวะ ทำให้ประชากรในประเทศประสบภัยจากสารตกค้าง ทั้งในอาหาร อากาศ น้ำดื่ม เป็นเหตุให้ต้องรับการบำบัด รักษาอาการเจ็บป่วย เหล่านี้ล้วนเป็นบูมเมอแลงย้อนกลับสร้างความเสียหายต่อประชากรในประเทศอย่างประเมินค่าไม่ได้

มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงจัดโครงการประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม 2017 (4th Building Technology Alliance Conference on Energy and Environment 2017) โดยมี รศ.ดร.สมหมาย ปรีเปรม รองอธิการบดีฝ่ายการคลังและทรัพย์สินเป็นประธาน เพื่อสร้างสนับสนุนผลงานวิจัยด้านสถาปัตยกรรม เทคโนโลยีอาคาร พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับอาคาร แลกเปลี่ยนความรู้ สร้างเครือข่าย ความคิดเห็นและประสบการณ์ทางด้านวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีอาคาร พลังงานและสิ่งแวดล้อม ปลูกฝังให้นักศึกษา นักวิจัย เกิดความตระหนักร่วมเกิดการทำงานภายใต้วิชาชีพที่มีจิตสำนึกร่วมต่อการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมภายในประเทศร่วมกัน โดยจัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2560 ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รศ.ดร.ชูพงษ์ ทองคำสมุทร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ปัญหาเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่ปัญหาของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นโจทย์ใหญ่ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญร่วมกัน เพราะอาจหมายรวมถึงความมั่นคงของชาติหรือของโลก ฉะนั้นการประชุมวิชาการครั้งนี้จึงสำคัญมาก ที่จะช่วยผลักดันสถาบันเครือข่ายวิชาการที่เข้มแข็ง เพื่อปลูกจิตสำนึกให้นักศึกษา สถาปนิก วิศวกรรุ่นใหม่ ตระหนักถึงทำงานวิชาชีพภายใต้การคำนึกถึงพลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ

"ปัจจุบันประเทศไทย ซื้อไฟจากลาว พม่า หากวันหนึ่งประเทศเหล่านี้หยุดส่งไฟไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด สิ่งที่เกิดขึ้นคืออุตสาหกรรมบ้านเรา การท่องเที่ยว การใช้พลังงาน เศรษฐกิจจะหยุดชะงักทั้งหมด อีกกรณีหนึ่ง คือการพัฒนาที่ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดมลพิษ คุณภาพชีวิตของคนในประเทศต่ำลง เมื่อคนป่วยล้นประเทศ แล้วจะหาเงินไปทำไม ฉะนั้นสองปัญหานี้เกิดความรุนแรงสูงมากในระดับความมั่นคงของชาติ แต่ทุกคนยังตระหนักถึงปัญหานี้น้อยมาก เราจึงต้องปลูกฝังค่านิยมการประหยัดพลังงาน ให้สถาปนิก และ สถาปัตยกรรม ทำงานสอดคล้องกับวิศวกรโยธา ประกอบร่างเป็นอาคารที่ดี เป็นพื้นฐาน ที่ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกอาคารต้องทำ"

พระ ครูวิมลปัญญาคุณ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนศรีแสงธรรม ผู้นำเทคโนโลยีอาคารประหยัดพลังงาน กล่าวว่า เทคโนโลยีที่นำมาสร้างนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนทราบกันดีคือแผงโซล่าเซลล์ แต่น้อยคนที่จะลงมือทำได้สำเร็จ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องยาก การทำงานของโรงเรียนศรีแสงธรรมคือนำธรรมชาติแก้ไขปัญหาธรรมชาติ เน้นการสอนให้นักเรียนพึ่งพาตนเองในทุกด้าน และลดการใช้พลังงาน เป็นต้นแบบโรงเรียนพลังงานช่วยชาติ ปัจจุบันมีการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นศูนย์บาท นอกจากนี้ยังขยายสู่ทุกหน่วยงานในประเทศโดยมีตำราวิชาการสองเล่ม ได้แก่ วิชาโซล่าเซลล์ และวิชาพลังงานทดแทน เปิดสอน เปิดอบรม และแทรกอยู่ในรายวิชาเรียนของนักเรียน 220 คน ครู 19 คน โดยนักเรียนสามารถประยุกต์ใช้กระทั่งเกิดนวัตกรรมหลากหลายชิ้น สร้างรายได้แบ่งเบาภาระครอบครัว มีความรู้และตระหนักถึงการใช้พลังงานอย่างประหยัด คุ้มค่า และไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม นับเป็นต้นแบบโรงเรียนพลังงานช่วยชาติ

"แรกเริ่มในการสร้างอาคารประหยัดพลังงานเกิดจากการขาดแคลนอาคารเรียน และค่าไฟฟ้า จึงพยายามลดต้นทุนค่าไฟฟ้าโดย การพึ่งพาตนเองโดยนำโซล่าเซลล์เข้ามาช่วย กระทั่งปัจจันไม่ต้องจ่ายค่าไฟ พึ่งพาตนเองได้ โดยยึดหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่9) ศึกษาด้วยตนเอง เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และทดลองลงมือทำทุกวัน เพื่อถ่ายทอดแก่เด็กในโรงเรียน จนเกิดเป็นตำราเรียน และนวัตกรรมที่สร้างรายได้ให้นักเรียน เช่น รถนอนนา ไฟฉายจากโซล่าเซลล์(ไฟฉายขอข้าว) ขยายสู่หลายหน่วยงานทั่วประเทศ กระทั่งนายกรัฐมนตรียกให้เป็นต้นแบบโรงเรียนพลังงานช่วยชาติ"

พระ ครูวิมลปัญญาคุณ ยังกล่าวต่ออีกว่า "หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ผล และยั่งยืนจริง ตัวอย่างการทรงงาน เริ่มจากจุดเล็กๆ ระเบิดจากข้างใน ต่อยอดเป็นเรื่องใหญ่ โดยทำทุกวันอย่างต่อเนื่อง ใช้ปัญหาในพื้นที่ แก้ปัญหาในพื้นที่ การจัดการป่าและน้ำ การจัดการพื้นที่ ไม่มีกฎตายตัว ขึ้นอยู่กับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยหลักการทรงงานตลอดระยะ 70 ปี ทุกคนรู้ดี แต่น้อยคนจะน้อมนำมาใช้ โดยหัวใจหลักคือ ต้องลงมือปฏิบัติ ถึงจะสำเร็จ เห็นภาพ ไม่เช่นนั้นจะไม่เกิดการแก้ปัญหา และไม่เกิดปัญญา"

ท่านสามารถ Download Proceedingsงานประชุมวิชาการ ฟรี ได้ ที่https://btac2017.wordpress.com/proceedings/

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๐๓ พ.ค. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๐๓ พ.ค. รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๐๓ พ.ค. กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว