สพฉ.เปิดสถิติการให้บริการตามสิทธิ UCEP ตั้งแต่ให้บริการ 3 เดือนไร้ปัญหา มีผู้ใช้สิทธิกว่า 8 พันราย พบคนกรุงใช้สิทธิมากขึ้น ขณะที่ประชาชนเข้าใจการใช้สิทธิมากขึ้น พร้อมเน้นย้ำประชาชนจดจำ 6 อาการฉุกเฉินวิกฤต

พุธ ๐๒ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๖:๒๘
สพฉ.เปิดสถิติการให้บริการตามสิทธิ UCEP ตั้งแต่ให้บริการ 3 เดือนไร้ปัญหา มีผู้ใช้สิทธิกว่า 8 พันราย พบคนกรุงใช้สิทธิมากขึ้น ขณะที่ประชาชนเข้าใจการใช้สิทธิมากขึ้น พร้อมเน้นย้ำประชาชนจดจำ 6 อาการฉุกเฉินวิกฤต

เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้สรุปผลการปฏิบัติงานของศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) หรือ UCEP Coordination Center ประจำเดือน มิถุนายน 2560 พบสถิติผู้ขอใช้สิทธิทั้งสิ้น 2,176 ราย เป็นผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ 1,051 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยจากสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า 679 ราย จากสิทธิประกันสังคม 124 ราย จากสิทธิข้าราชการ 211 ราย และสิทธิกองทุนอื่น ๆ อีก 16 ราย โดยกลุ่มที่ใช้สิทธิมากที่สุดคือ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รองลงมาคือสิทธิประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

ขณะที่ยอดสะสมรวม 3 เดือน ตั้งแต่เริ่มให้บริการตามนโยบาย "เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่" พบสถิติผู้ขอใช้สิทธิทั้งสิ้น 8,232 ราย เป็นผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ 3,507 ราย คิดเป็นร้อยละ 42.60 ซึ่งเป็นผู้ป่วยจากสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2,299 ราย จากสิทธิประกันสังคม 437 ราย จากสิทธิข้าราชการ 645 ราย และสิทธิกองทุนอื่น ๆ อีก 126 ราย และจังหวัดที่เข้ารับบริการมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร รองลงมา คือ สมุทรปราการ ชลบุรี พิษณุโลก นนทบุรี และสมุทรสาคร

เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ กล่าวเพิ่มเติมถึงการดำเนินงานตามสิทธิ UCEP ว่า ที่ผ่านมาประชาชนเริ่มเข้าใจการใช้สิทธิมากยิ่งขึ้น เห็นได้จากสถิติตัวเลขผู้ป่วยที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในแต่ละเดือนลดลงเรื่อยๆ และ การประสานงานระหว่าง ฝ่ายต่างๆ มีปัญหาอุปสรรคลดน้อยลงเรื่อยๆ โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ร้องเรียน จำนวน 24 ราย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องความเห็นต่างกับผลการวินิจฉัยของแพทย์ และการขอใช้สิทธิ นอกจากนี้มีการขอคำปรึกษาทางการแพทย์กับแพทย์เวรของศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต จำนวน 63 สาย และมีสายโทรสอบถามจากประชาชน 3,662 สาย

สำหรับ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่จะใช้สิทธินี้ได้ต้องเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตามหลักเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน วิกฤต คือ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด ซึ่งอาการทั้งหมดนี้อยากให้ประชาชนจำให้แม่น หากพบเห็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตาม 6 อาการ ให้รีบโทรสายด่วน 1669 เพื่อเข้าให้การช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสมทันที หรือหากสถานพยาบาลมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ โทร 02-8721669 หรือ[email protected] ตลอด24ชั่วโมง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest