รอสอะตอม และไคเนติคส์ ร่วมก่อสร้างเครื่องเร่งอนุภาคแบบไซโคลตรอนในประเทศไทย

จันทร์ ๑๑ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๐:๐๙
บริษัทพลังงานนิวเคลียร์รอสอะตอม ซึ่งเป็นบริษัทนิวเคลียร์ของประเทศรัสเซีย และบริษัท ไคเนติคส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมก่อสร้างเครื่องเร่งอนุภาคแบบไซโคลตรอนและห้องปฏิบัติการวิจัยเคมีกัมมันตรังสีสำหรับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน)

โครงการดังกล่าวตั้งอยู่ในศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ ที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ด้วยเนื้อที่มากกว่า 5400 ตารางเมตร มีเครื่องเร่งอนุภาคแบบไซโคตรอนและห้องปฏิบัติการวิจัยสำหรับใช้ผลิตเภสัชภัณฑ์รังสี เพื่อพัฒนาทางการแพทย์และเป้าหมายอื่นๆ นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการวิจัยจะเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีรังสีและนวัตกรรม ซึ่งโครงการนี้คาดว่าจะเริ่มต้นทำงานได้ภายใน 3.5 ปี

ดร. สมชาย เอื้อพิพัฒนากูล ประธานกรรมการบริหารบริษัทไคเนติคส์กล่าวว่า "ปัจจุบันไอโซโทปทั้งหมดของ SPECT ในประเทศไทยถูกนำเข้าจากต่างประเทศ โดย ไอโซโทป PET บางชนิดสามารถผลิตได้ในโรงพยาบาลในประเทศไทย แต่ปริมาณที่ได้ยังคงไม่เพียงพอ ดังนั้นเครื่องเร่งอนุภาคแบบไซโคตรอนใหม่ที่จัดหาโดยบริษัทหุ้นส่วนรัสเซียของเรา จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถผลิตไอโซโทปได้เองเพื่อใช้ช่วยชีวิตและพัฒนานวัตกรรมในประเทศของเรา" ดร. สมชาย เอื้อพิพัฒนากูล กล่าวต่อไปว่าโครงการนี้จะช่วยการวิจัยและพัฒนาทางด้านการแพทย์นิวเคลียร์และการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

เครื่องเร่งอนุภาคแบบไซโคตรรอน MCC-30/15 ที่มีกำลัง 30 MeV ที่รอสอะตอมก่อสร้าง เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ดังกล่าว เครื่องนี้จะใช้ในการผลิตไอโซโทป PET และ SPECT สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ เนื้องอก และระบบประสาทที่ถูกต้อง ในหลายๆ กรณี การใช้ไอโซโทป PET และ SPECTเป็นวิธีการเดียวที่จะช่วยกำหนดการรักษาที่เหมะสม

"เรารู้สึกเป็นเกียรติสำหรับความไว้วางใจจากคู่ค้าชาวไทยและลูกค้าของเราในด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์รัสเซียของรอสอะตอมซึ่งเรามีความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมมากกว่า 70 ปี รวมถึงการออกแบบและการผลิตโซลูชั่นยารักษาโรคด้วยนิวเคลียร์โดยมีโรงงานผลิตไอโซโทปกัมมันตรังสี 14 แห่งในประเทศรัสเซีย" นายอิกอฟ ซีมอนอว หัวหน้าของรอสอะตอมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

การอ้างอิง

บริษัทพลังงานนิวเคลียร์รอสอะตอม เป็นบริษัทนิวเคลียร์ของประเทศรัสเซียที่มีประสบการณ์มากกว่า 70 ปีในด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ประกอบด้วยสถาบันและบริษัทอุตสาหกรรมนิวเคลียร์มากกว่า 350 แห่ง เป็นบริษัทชั้นนำที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์และการก่อสร้างโรงฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ระดับโลก ตั้งแต่การเสริมสมรรถนะยูเรเนียมจนถึงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ด้วยการเอาใจใส่ด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม จากรายงานประจำปี บริษัท รอสอะตอม มีการลงทุนด้านโครงการวิจัยจะพัฒนาคิดเป็น 4.5% เทคโนโลยีนิวเคลียร์ของประเทศรัสเซียได้ถูกใช้ในการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์วิจัยมาแล้วมากกว่า 120 แห่งทั่วโลก

สำนักงานของรอสอะตอมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ โดยให้การช่วยสนับสนุนการทำงานของบริษัทรอสอะตอมในภูมิภาคนี้ให้ทำงานได้อย่างประสบผลสำเร็จ

บริษัทไคเนติคส์ คอร์ปอเรชั่นจำกัดจัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2529 โดยมีเป้าหมายเป็นผู้บริการโซลูชันครบวงจรในสาขาวิศวกรรมและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยมีประสบการ์ทำงานมากกว่า 30 ปี ในตลาดซึ่งได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งในภาครัฐและเอกชน การก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 4 ของบริษัทไคเนติคส์คอร์ปอเรชั่นจำกัดยังคงมุ่งมั่นเพื่อการพัฒนาที่ดีที่สุดในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ แคสเปอร์สกี้เผย บริษัทมากกว่าครึ่งในเอเชียแปซิฟิกใช้ AI และ IoT ในกระบวนการทางธุรกิจ
๑๗:๑๔ พร้อมจัดงาน สถาปนิก'67 ภายใต้ธีม Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
๑๗:๓๓ โรงแรมชามา เลควิว อโศก กรุงเทพฯ จัดโปรโมชั่นฉลองเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๓๘ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยชาวสระแก้ว มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝน ณ
๑๗:๔๙ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร พร้อมมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 ท่าน
๑๗:๑๘ แน็ก ชาลี - มุก วรนิษฐ์ ชวนเปิดประสบการณ์ความเฟรช ในงาน Space of Freshtival 30 มีนาคมนี้ ที่ สยามสแควร์วัน
๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ