นวัตกรจากงาน Smart Energy Hackathon คิดค้นทางออกด้านพลังงานกว่า 16 ผลงาน 79 แฮกเกอร์ 16 ทีม 33 ผู้ให้คำแนะนำเพื่อ 1 ภารกิจ

ศุกร์ ๑๕ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๓:๓๓
หลังทุ่มเทเขียนโค้ดโปรแกรมกันต่อเนื่องกว่า 29 ชั่วโมง แต่ละทีมก็ได้คิดค้นทางออกด้าน Smart Energy ในรูปแบบดิจิตอลที่สร้างสรรค์ซึ่งจะมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทีมที่คว้ารางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม SolarPi ที่ได้พัฒนาระบบการบันทึกข้อมูลการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ เขียนลงใน blockchain แล้วใช้ข้อมูลนี้ในการรับเหรียญ solarcoins ซึ่งเป็นเงินตราดิจิตอลชนิดหนึ่งที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อส่งเสริมการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ สมาชิกทีม SolarPi เจอกันครั้งแรกและรวมทีมกันในช่วงกิจกรรมการหาทีมในคืนพิธีเปิด นายโรบิน คลาร์ท ประธานด้านเทคโนโลยี (CTO) ของ OmiseGO ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนในประเทศไทยและเป็นกรรมการในงานกล่าวว่า "น่าทึ่งมากที่ทีม SolarPi ซึ่งเพิ่งรวมตัวกันเมื่อคืนวันศุกร์แล้วสามารถนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่แปลกใหม่และโดดเด่นในเชิงนวัตกรรมที่สุด"

ทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งได้แก่ ทีม Hive ซึ่งได้พัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า Solar Monkey ซึ่งช่วยส่งเสริมให้มีการเลือกใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผ่านการออกแบบระบบ การคัดเลือกผู้ติดตั้งรวมถึงทางเลือกในการลงทุนที่มีอยู่ในประเทศไทย ในลักษณะเดียวกันกับทีมอื่น ๆ ทีมนี้ประสบความสำเร็จในการสร้างกรอบความคิด ออกแบบและผลิตชุดสาธิตการทำงานโดยได้รับการสนับสนุนจากเหล่าผู้ให้คำแนะนำซึ่งเปรียบเสมือนพี่เลี้ยง ผู้ให้คำปรึกษาเหล่านี้หลายคนได้เดินทางมาจากภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมนี้และมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของงาน "เราอยากมาช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการให้ได้นำแนวคิดและทางออกมาใช้ในตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และต่างประเทศ การผสมผสานที่ลงตัวของความคิด การสนับสนุนและทุนจะช่วยให้เราสามารถเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่ทางเลือกด้านพลังงานที่ชาญฉลาดและสะอาดมากยิ่งขึ้น" นายยัน-ยุสตุส ชมิดท์ ผู้ก่อตั้ง BluGreen Energy ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ให้คำแนะนำได้กล่าวไว้

งาน Smart Energy Hackathon เป็นพาหนะทางนวัตกรรมที่ค่อย ๆ พัฒนาต่อยอดทีมที่มีความสามารถและมีแนวคิดที่ใช้ได้จริงไปสู่การจัดตั้งบริษัท ในงานได้มีตัวแทนจากโครงการผู้บ่มเพาะและเร่งรัดธุรกิจเทคโนโลยีอย่าง KX, Techgrind และ Startup Bootcamp ที่มาเฟ้นหาทีมที่มีศักยภาพ ผู้บ่มเพาะและเร่งรัดธุรกิจเทคโนโลยีสามารถให้การสนับสนุนด้านการให้คำปรึกษา ทุนและการฝึกอบรมสำหรับสตาร์ทอัพ และนับเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาระบบนิเวศด้านพลังงานในภูมิภาค นอกจากนั้นในงานยังมีบริษัทที่ลงทุนในสตาร์ทอัพซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเข้าร่วมด้วย นายนิโอ ลิยานาจ ผู้อำนวยการบริษัท Nest Venture Capital และหนึ่งในกรรมการของงานซึ่งเคยร่วมงาน Hackathon มาหลายครั้งได้กล่าวว่า "รู้สึกประทับใจเป็นอย่างมากกับคุณภาพและความหลากหลายของงานที่ส่งเข้าแข่งขันในครั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นขึ้นมารวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ การนำไปต่อยอดในทางธุรกิจและการนำเสนอนั้นอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่สูง ซึ่งสร้างความลำบากใจอย่างมากในการคัดเลือกผู้ชนะ" หนึ่งในทีมที่ได้รับรางวัลซึ่งมีแนวทางที่ชัดเจนแล้วยังได้บอกว่า "พวกเราตื่นเต้นกับชัยชนะนี้และจะนำไปพัฒนาต่อยอดอย่างแน่นอน ขั้นตอนต่อไปคือจะต้องหาเงินทุนประมาณหนึ่งล้านบาท (30,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพื่อใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไปให้ได้"

งาน Smart Energy Hackathon นับเป็นการเปิดโครงการ New Energy Nexus Southeast Asia (Nexus SEA) อย่างเป็นทางการซึ่งมีเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบนิเวศด้านพลังงานที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย Nexus SEA จะช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการด้านพลังงาน การสร้างนวัตกรรมภายในองค์กร และการสนับสนุนการลงทุนด้าน Smart energy ด้วยแนวทางจากล่างขึ้นบน โครงการนี้มุ่งเชื่อมโยงนิสิตนักศึกษา เหล่า co-working space ศูนย์บ่มเพาะและเร่งรัดธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสร้างความตระหนักถึงการหาทางออกให้กับพลังงานในรูปแบบดิจิตอลพร้อมทั้งเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ Nexus SEA จะเน้นดำเนินโครงการใน 3-4 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเบื้องต้น หลังจากนั้นจึงจะขยายผลไปสู่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนกลายเป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยีดิจิตอลด้าน Smart Energy

งาน Smart Energy Hackathon ครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรที่มีวิสัยทัศน์อย่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท Engie, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.), บริษัท Lykke, บริษัท Whapow บริษัท Blue Solar และ Mint Coworking Space ในส่วนของผู้จัดงานประกอบด้วย องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ), TechGrind, CalCEF/New Energy Nexus, ศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) และ เคเอ็กซ์แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (Knowledge Xchange for Innovation: KX)

เว็บไซต์: www.smartenergyhackathon.com

ผลงานประกวดทั้งหมด: https://smartenergyhackathon.devpost.com/submissions

Facebook: www.facebook.com/smartenergyhack

Twitter: www.twitter.com/smartenergyhack

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง