บอร์ดบีโอไอส่งเสริม “การเกษตรสมัยใหม่” พร้อมส่งเสริมให้เพิ่มขีดแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม - การเกษตร

อังคาร ๒๖ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๓:๒๖
บอร์ดบีโอไอสนับสนุนอุตสาหกรรมการเกษตรก้าวสู่ "อุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่" โดยเปิดประเภทกิจการให้ส่งเสริม คือ "กิจการผลิตหรือให้บริการระบบเกษตรสมัยใหม่" พร้อมส่งเสริมให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่ภาคอุตสาหกรรมและการเกษตร

นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุมเห็นชอบนโยบายสำคัญหลายเรื่องภายใต้นโยบาย "ประเทศไทย 4.0" ได้แก่

1. นโยบายยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไปสู่อุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่ ที่ประชุมเห็นชอบให้เปิดให้การส่งเสริมกิจการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยคือ ธุรกิจที่นำเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือการออกแบบทางวิศวกรรมมาปรับเปลี่ยนการผลิตภาคเกษตรดั้งเดิมให้ทันสมัยขึ้น เช่น ระบบโรงเรือนอัจฉริยะ ระบบการควบคุมการใช้ทรัพยากร เช่น น้ำ ปุ๋ย และระบบตรวจจับหรือติดตามสภาพต่างๆโดยผู้ให้บริการด้านนี้จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5ปี

นอกจากนี้ยังมีมาตรการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการภาคการเกษตรรายเดิมยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไปสู่มาตรฐานสากลที่ประเทศไทยมีผู้ได้รับการรับรองน้อย เช่น มาตรฐานการปฎิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร (ISO22000) เป็นต้น เพื่อให้สินค้าเกษตรของไทยได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลและสามารถขยายตลาดได้มากยิ่งขึ้น โดยจะให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินไม่เกินร้อยละ 50 ของเงินลงทุนที่ใช้ในการยกระดับมาตรฐาน โดยกำหนดให้ยื่นคำขอรับส่งเสริมภายในสิ้นปี 2563

2. นโยบายสนับสนุนการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์อัตโนมัติ สำหรับผู้ประกอบการรายเดิมหรือผู้ลงทุนใหม่ที่มีการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์อัตโนมัติจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ในวงเงินไม่เกินร้อยละ 50 ของเงินลงทุนและเพื่อให้เป็นการสนับสนุนการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ในประเทศหากมีการใช้ของในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าเครื่องจักรทั้งหมดก็จะได้รับสิทธิเพิ่มจากเดิมจำกัดไม่เกินร้อยละ 50 มาเป็นไม่เกินร้อยละ 100

ทั้งนี้ มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพข้างต้น รวมถึงมาตรการปรับปรุงประสิทธิ ภาพโดยการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานทดแทน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การวิจัยพัฒนา กำหนดให้ยื่นคำขอรับส่งเสริมภายในสิ้นปี 2563

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบมาตรการเพิ่มขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และทรัพยากรมนุษย์ เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนเพิ่มเติม โดยให้กิจการในกลุ่มA1 และ A2ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สูงสุด 8 ปี สามารถขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการหากมีการลงทุนเพิ่มในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งขยายขอบเขตกิจการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันใช้ชื่อกิจการ "สถานฝึกฝนวิชาชีพ" ให้เปลี่ยนเป็น "กิจการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์" ซึ่งจะครอบคลุมเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ และสถาบันการศึกษาภาคเอกชนด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest