รมต.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ระดมพลังประชุมยุทธศาสตร์การพัฒนาและการลงทุนภาคกลาง พร้อมตรวจเยี่ยมธนาคารข้าวสาร กองทุนหมู่บ้านย่านยาว สุพรรณบุรี

อังคาร ๒๖ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๔:๐๐
ในการผนึกพลังร่วมขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ระดมพลังประชารัฐ จัดประชุมยุทธศาสตร์การพัฒนาและการลงทุนภาคกลาง16 จังหวัด ตรวจเยี่ยมกองทุนหมู่บ้านย่านยาวและติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระหว่างวันที่ 10-11 กันยายน 2560 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ณ โรงแรมสองพันบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี ผู้ว่าราชการ 16 จังหวัด, สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), สนง.คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI), สนง.คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.), สนง.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ, หอการค้าไทย,สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สมาคมธนาคารไทย, เครือข่าย BIZ CLUB, ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ YEC และบริษัท ประชารัฐสามัคคี ร่วมประชุม เพื่อขับเคลื่อนภาคกลางพัฒนาประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 ผุดแนวคิดสร้างฐานข้อมูลน้ำภาคอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยี, พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ, เกษตรปลอดภัยด้วย Bio-Tech และโครงข่ายถนนระบายการจราจรจากภาคเหนือ

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พื้นที่ภาคกลางมี 40.5 ล้านไร่ คิดเป็น 21.6% ของประเทศ ประกอบด้วย 16 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ชัยนาท นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรสงคราม นนทบุรี สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร และ อ่างทอง ในฐานะเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ มีประชากร 10.6 ล้านคน ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาภาคกลาง เป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าเกษตรของประเทศ เป็นฐานอุตสาหกรรมส่งออกและแหล่งจ้างงานหลักของประเทศ มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย และมีแรงงานนอกภาคเกษตรมีระดับการศึกษาและประสิทธิภาพแรงงานสูงกว่าภาคอื่นๆ อีกทั้งกรุงเทพฯเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีผู้มาเยือนมากที่สุดในโลก เป็นศูนย์กลางคมนาคมและเศรษฐกิจ ธุรกิจและการศึกษาที่สำคัญของประเทศ มีความพร้อมด้านเครื่องมืออุปกรณ์ และบุคลากรการวิจัย เป็นที่ตั้งของสถานพยาบาลที่ดีที่สุดและมากที่สุดของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 28.10 ของประเทศ

ทิศทางการพัฒนาภาคกลาง

ภาคกลางมี 16 จังหวัด (ไม่นับรวม กทม.) มีความโดดเด่นด้านคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงทั้งในภาคและกับภาคอื่นๆ โดยในปีพ.ศ.2558 มี GDP รวม 2.5 ล้านล้านบาท คิดเป็น 18.6% ของ GDP ประเทศ (ถ้านับรวม กทม. จะคิดเป็น 51.1% ของ GDPประเทศ), ภาคกลางมีรายได้ต่อหัวที่ 278,782 บาท สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ (203,350 บาท) โดยเศรษฐกิจกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ปริมณฑลและจังหวัดอุตสาหกรรม เช่น อยุธยา สมุทรสาคร และปทุมธานี, เป้าหมายของการพัฒนาภาคกลาง คือ "พัฒนาสู่การเป็นมหานครที่ทันสมัยและเป็นฐานการเชื่อมโยงประเทศไทยสู่เส้นทางขนส่งสองฝั่งทะเล" โดยมียุทธศาสตร์สำคัญ เช่น พัฒนากรุงเทพฯ เป็นมหานครทันสมัยระดับโลก, พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ, ยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมโดยใช้นวัตกรรม, บริหารจัดการน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน, เปิดประตูการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว เชื่อมโยงทวายและ EEC และพัฒนาเชื่อมโยงกับทุกภาคเพื่อลดความเหลื่อมล้ำภายในประเทศ

สถานการณ์การลงทุนในภาคกลาง

ตั้งแต่ปีพ.ศ.2557 – ก.ค.2560 มีการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในภาคกลางทั้งสิ้น 1,246 โครงการ มีมูลค่าเงินลงทุน 421,169 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16 ของมูลค่าโครงการที่ได้รับการอนุมัติทั้งหมด, ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการลงทุน ส่วนใหญ่คือกิจการบริการและสาธารณูปโภค ซึ่งมีมูลค่า 1.5 แสนล้านบาท (33% ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด) รองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตร (1.1 แสนล้านบาท) และเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ 0.81 แสนล้านบาท ตามลำดับ และการลงทุนใน จ.สุพรรณบุรี มีกิจการที่ได้รับการอนุมัติ 24 โครงการ มีมูลค่า 10,091 ล้านบาท เป็นกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและขยะ กิจการเกษตรแปรรูป และกิจการผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์ และชิ้นส่วน

การวิจัยและนวัตกรรมในภาคกลาง

ในปีพ.ศ.2559 ภาคกลางมีผลงานวิจัย 1,468 เรื่อง มีนักวิจัย 3,239 คน โดยเป็นการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ อาทิ การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนและวัฒนธรรม การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม การส่งเสริม SMEs และการใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของพื้นที่ชายแดน

3.2 ตัวอย่างงานวิจัยที่นำไปใช้ได้จริงในพื้นที่ เช่น แอปพลิเคชั่น WaterSmart สำหรับแสดงปริมาณน้ำต้นทุนคาดการณ์ และiFarmer แสดงการคำนวณปริมาณการใช้น้ำและพื้นที่เหมาะสมเกษตรกรรม ซึ่งเป็นผลงานของ ม.พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งเป็นการจัดทำแผนที่เกษตร (Agri-Map) ที่เหมาะสมเพื่อใช้ประโยชน์ในทางเกษตรกรรมได้จริง

ภาพรวมการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในภาคกลาง

กองทุนหมู่บ้านฯ ภาคกลาง มีจำนวน 18,017 กองทุน มีสมาชิก 3.1 ล้านคน และคณะกรรมการ 2.1 แสนคน โดยมีเงินทุนหมุนเวียนซึ่งได้รับการจัดสรรจากรัฐบาล 36,425 ล้านบาท, ผลการประเมินของกองทุนหมู่บ้านภาคกลาง มีกองทุนระดับดีเด่น (A) 31.4% ระดับดีมาก (B) 39.9% ระดับดี (C) 18.0% และระดับที่ต้องปรับปรุง (D) 10.7%, โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวประชารัฐ (วงเงิน 35,000 ล้านบาท) มีการอนุมัติโครงการและงบประมาณในภาคกลางแล้ว 12,620 กองทุน 14,307 โครงการ วงเงิน 6.3 พันล้านบาท โดยส่วนมากจะใช้เป็นร้านค้าชุมชน (3,113 โครงการ งบประมาณ 1.5 พันล้านบาท) รองลงมา ได้แก่ น้ำดื่มชุมชน ปุ๋ม/ยา/เมล็ดพันธุ์ บริการประปาชุมชน และบริการเครื่องจักรกลทางการเกษตร, ในขณะที่โครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวประชารัฐ (วงเงิน 15,000 ล้านบาท) กองทุนในภาคกลางที่ได้รับอนุมัติโครงการและงบประมาณแล้ว 6,695 กองทุน 7,059 โครงการ วงเงิน 1.3 พันล้านบาท จำแนกเป็นโครงการร้านค้าชุมชน น้ำดื่มชุมชน ปุ๋ย/ยา/เมล็ดพันธุ์ บริการงานชุมชน และบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ตามลำดับ, เป้าหมายการดำเนินการกองทุนหมู่บ้านฯ ในระยะต่อไป จะติดอาวุธทางปัญญาให้กับสมาชิกองทุนหมู่บ้านทั้งหมด โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาคี อาทิ สนง.อัยการสูงสุด กองทุนการออมแห่งชาติ และหน่วยงานราชการ/เอกชน โดยมีโครงการ อาทิ การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ การส่งเสริมการออมในหมู่บ้าน การจัดสวัสดิการชุมชน การบ่มเพาะโฆษกหมู่บ้าน และการสร้างหมู่บ้านเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนว SDGs และเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านภาคกลาง เสนอขอรับการสนับสนุน 5 โครงการตามความต้องการของเครือข่ายฯ ได้แก่ (1) ศูนย์กระจายสินค้าเกษตรภาคกลาง (2) แหล่งท่องเที่ยวชุมชน (3) ธนาคารข้าว (4) โรงงานพลังงานไฟฟ้าทดแทนจากขยะ และ (5) โรงงานปุ๋ยอินทรีย์และเคมีเพื่อ supply เกษตรภาคกลาง

ข้อเสนอของภาคเอกชน

ภาคเอกชนโดยสภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ และสมาคมธนาคารไทย (สำนักงาน กกร.) เสนอประเด็นเพื่อให้ภาครัฐพิจารณาสนับสนุน อาทิ การสร้างความมั่นคงทางทรัพยากรน้ำ โดยเสนอให้สร้างฐานข้อมูลน้ำภาคอุตสาหกรรม เพื่อการบริหารจัดการน้ำด้วยวิธีบินสำรวจทางธรณีฟิสิกส์และไลดาร์ (ดูทิศทางการไหลของน้ำ-แหล่งน้ำใต้ดิน-แหล่งน้ำผิวดิน) และเพิ่มพื้นที่สำรองน้ำหลากในพื้นที่ภาคกลางให้เป็น 3 พันล้านลูกบาศก์เมตร รวมทั้งสนับสนุนให้มีคลองขวาง, การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเสนอให้เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์ในภาคการผลิต พัฒนาสังคมผู้ประกอบการแบบบูรณาการ และเร่งรัดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดกาญจนบุรี, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเสนอให้พัฒนาอาชีวะศึกษาเพื่อเตรียมแรงงานที่มีทักษะรองรับ Thailand 4.0, การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) ในภาคกลาง โดยเสนอให้ (1) ส่งเสริมโรงงานเชิงนิเวศ Eco Factory/Green Industry (2) สนับสนุนท้องถิ่นบำบัดน้ำเสียชุมชน/ขยะชุมชน (3) ปรับปรุงภูมิทัศน์ (4) เพิ่มเติมระบบ Logistics และ (5) สร้างความเชื่อมโยงธุรกิจกับชุมชน /ประชารัฐ, การส่งเสริมเกษตรปลอดภัย โดยเสนอให้ (1) ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพและสารกำจัดศัตรูพืช Bio-Tech (2) ส่งเสริมเกษตรกรที่ดอน/น้ำน้อยปลูกพืชสมุนไพร วัตถุดิบสำหรับปุ๋ยชีวภาพ และสารกำจัดศัตรูพืช Bio-Tech และ (3) ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยชีวภาพและสารกำจัดศัตรูพืช Bio-Tech เพื่อลดต้นทุนการผลิต และการสร้างโครงข่ายถนนเพิ่มเติมเพื่อลดความแออัดทางการจราจรจากภาคเหนือ โดยเสนอขอให้สร้างเส้นทางคู่ขนานกับทางหลวงหมายเลข 32 ซึ่งมีปริมาณการจราจรหนาแน่น โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล ซึ่งอาจพิจารณาสร้างความเชื่อมโยงกับเส้นทางหลวงหมายเลข 311 และ 3196 เพื่อลดเวลาในการเดินทางสัญจร

เยี่ยมธนาคารข้าวสาร กองทุนหมู่บ้านย่านยาว

นอกจากนี้ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ตรวจเยี่ยมกองทุนหมู่บ้านย่านยาว หมู่ที่ 3 ตำบลย่านยาว อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ก่อตั้งมา 17 ปี มีนางบุญลือ พินิจผล เป็นประธานคณะกรรมการ ปัจจุบันมีสมาชิก 431 คน และมีเงินหมุนเวียน 17.99 ล้านบาท ปัจจุบันได้ยกระดับเป็นสถาบันการเงินชุมชนฯ โดยให้บริการฝากออมเงิน เงินทุนสินเชื่อ จากโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (ครั้งที่ 1) ทางกองทุนได้ดำเนินโครงการธนาคารข้าวสารเพื่อชุมชน ซึ่งสร้างรายได้ต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้ดำเนินโครงการตู้น้ำแร่หยอดเหรียญ และร้านค้าชุมชนประชารัฐ จากงบประมาณ 200,000 บาท ในโครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (ครั้งที่ 2) ซึ่งทำให้ผู้เป็นสมาชิกและประชาชนสามารถซื้อหาสินค้าคุณภาพจากร้านค้าประชารัฐและซื้อข้าวสารในราคาถูกจากธนาคารข้าวสารเพื่อชุมชน ลดภาระค่าครองชีพ ประหยัดเวลาและการเดินทาง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๑ พ.ค. เฮลท์สเคป (Healthscape)' นำร่องส่ง 'MADE BY SILVER' ชวนสัมผัสผลิตภัณฑ์เพื่อไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มซิลเวอร์เจน 20 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็ม
๒๑ พ.ค. HENG เสนอขายหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2567 จำนวน 2 ชุด อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.25% และ 5.50% เปิดจองซื้อ 23-24 และ 27 พ.ค. 67 เดินหน้าเสริมแกร่งธุรกิจ
๒๑ พ.ค. กลุ่มบริษัทศรีตรัง ลุยติดตั้ง EV Charger ในโรงงานทั่วประเทศ สนับสนุนพนักงานใช้พลังงานสะอาด ร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอกย้ำจุดยืน Green Rubber
๒๑ พ.ค. Bitkub Chain และ The Sandbox ร่วมยกระดับวงการ Metaverse ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๒๑ พ.ค. AJA โชว์แกร่ง!! งบโค้งแรกพลิกมีกำไรพุ่งเกือบ 452% ชูกลยุทธ์ปี 67 กระจายลงทุนในธุรกิจหลากหลาย-สร้างฐานการเติบโตยั่งยืน
๒๑ พ.ค. KJL โชว์นวัตกรรมในงาน SUBCON Thailand 2024 เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า
๒๑ พ.ค. ITEL อวดกำไร Q1/67 โต 113% กำไรสุทธิ 123 ล้านบาท ล่าสุด ก.ล.ต. ไฟเขียวนับหนึ่งไฟลิ่ง บ.ย่อย BLUE เรียบร้อยแล้ว
๒๑ พ.ค. โอยิกะ ผู้นำด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีแบตเตอรี่จากสิงคโปร์ ชูนวัตกรรมพลังงานสะอาด มุ่งขยายธุรกิจตู้สลับแบตเตอรี่สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
๒๑ พ.ค. ดื่มด่ำกับรสชาติของเนื้อโกเบจากโอซาก้า ที่ห้องอาหารฮากิ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
๒๑ พ.ค. W9 เผยไทยเผชิญฝุ่นพิษล้อมเมืองติดอันดับโลก เปิด 5 กลุ่มเสี่ยงรับฝุ่นพิษ ภัยเงียบสะสม แนะวิธีรับมือเชิงเวลเนส