5 สัญญาณเตือนภัยโรคหัวใจเกิดขึ้นกับเด็กได้

พุธ ๒๗ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๕:๐๙
มาร่วมรณรงค์ดูแลหัวใจกันเถอะเนื่องในวันหัวใจโลก 29 กันยายน นี้หลายคนคิดว่า การเกิดโรคหัวใจจะมีแต่ในผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วไม่มีเพียงแต่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ เด็กเล็กก็มีความเสี่ยงเรื่องโรคหัวใจได้เช่นกัน จากสถิติสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พบว่า โดยเฉลี่ยในเด็ก 1,000 คน จะพบเด็กเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 8 คน ซึ่งในกรณีนี้สามารถตรวจพบตั้งแต่ก่อนคลอด หลังคลอดภายใน 7 วัน หรือตรวจพบเมื่อเป็นผู้ใหญ่ เช่น ผนังกั้นหัวใจห้องบนหรือห้องล่างมีรูรั่ว ซึ่งในกรณีที่ตรวจพบ เมื่อเป็นผู้ใหญ่อาจจะมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถผ่าตัดได้ แต่โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดบางชนิดก็ใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยไม่ต้องรักษา เพียงแต่ต้องดูแล ระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่วเล็กน้อย รูในผนังหัวใจขนาดเล็ก

นพ.สุทัศน์ คันติโต แพทย์สถาบันหัวใจและหลอดเลือด รพ.พระรามเก้า บอกว่า การเกิดโรคหัวใจในภายหลังนั้นมีหลายสาเหตุ เช่น โรคหัวใจรูห์มาติก ที่เกิดจากไข้รูห์มาติก ทำให้ลิ้นหัวใจรั่ว หรือ ตีบได้ ส่วนใหญ่จะพบในช่วงวัยเรียน โรคคาวาซากิ พบมากในเด็กเล็ก อาจทำให้มีเส้นเลือดหัวใจโคโรนารีโป่งพอง โรคลิ้นหัวใจจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียเกือบทุกชนิดอาจเป็นสาเหตุของการอักเสบของลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจรั่วรุนแรงได้ นอกจากนี้ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่เด็กสามารถเป็นได้เช่นกัน อาจเกิดจากเชื้อไวรัสที่นำไปสู่การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งในบางรายมีภาวะหัวใจวายอย่างเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นช้า หรือเร็วเกินไป แต่ที่พบส่วนใหญ่ในเด็กจะเป็นชนิดเต้นเร็วผิดปกติ มักมีอาการเป็นๆ หายๆ และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายและอาจจะนำไปสู่การเสียชีวิตได้ในที่สุด

ดังนั้น สัญญาณเตือนภัยที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องหมั่นสังเกต ประกอบไปด้วย 5 อาการหลัก คือ 1. หายใจหอบเหนื่อย 2.เล็บและปากเขียว 3.ใจสั่น หน้ามืด หรือเป็นลมบ่อยครั้ง ซึ่งอาจจะเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ 4.อาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการเจ็บหน้าอก (ในเด็กจะพบลักษณะนี้ไม่มากเท่าผู้ใหญ่ อาการเจ็บหน้าอกในเด็กมีส่วนน้อยเท่านั้น ที่เกิดจากโรคหัวใจ) และ 5. แพทย์ตรวจพบว่า มีเสียงหัวใจผิดปกติ ซึ่งอาจจะแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการก็ได้ จะเห็นได้ว่า สัญญาณเตือนภัยและอาการข้างต้นที่กล่าวมาแล้วนั้น เด็กที่เป็นโรคหัวใจ จะส่งผลต่อการพัฒนาการของเด็ก การเจริญเติบโตช้าไม่ทันในช่วงเด็กในวัยเดียวกัน เหนื่อยง่าย ส่วนสูงและน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครอง จึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญที่จะสามารถช่วยลูกน้อย ห่างไกลจากโรคหัวใจในเด็กได้ ซึ่งหากมีลักษณะอาการแสดงข้างต้นนั้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจเช็คสุขภาพร่างกาย หรือ ควรตรวจสุขภาพกับกุมารแพทย์เป็นประจำทุกปี เพื่อให้ลูกน้อยห่างไกลจากภัยเงียบของโรคหัวใจนั้นได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๘ Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง