มจธ. เดินหน้าผลักดันยกระดับศักยภาพคนพิการสู่สถานประกอบการ รุ่นที่ 4

พุธ ๐๘ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๖:๔๒
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 มาตรา 33 ที่กำหนดให้สถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าทางานในอัตรา 100:1 แต่เนื่องจากคนพิการขาดทักษะในการทำงานที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จึงเริ่มต้นโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนพิการรุ่นแรกในปี 2556 จนถึงปัจจุบันรุ่นที่ 4 มีคนพิการที่เข้าโครงการรวม 102 คน และได้งานทำงานแล้ว 36 คน

ล่าสุดจัดพิธีปิดโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าทำงานในสถานประกอบการ รุ่นที่ 4 มอบประกาศนียบัตร ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีกลุ่มคนพิการที่เข้าร่วม จำนวน 23 คน ซึ่งจะได้รับการฝึกอบรมทักษะด้านวิชาการ ความรู้พื้นฐานทั่วไป และความรู้ด้านวิชาชีพ "เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน" ระยะเวลา 4 เดือน รวมทั้งได้รับการเสริมสร้างประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ ระยะเวลา 2 เดือน ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ ทักษะในการสื่อสารเข้าสังคม การปรับตัว ความมั่นใจ การประยุกต์ความรู้ในการทำงานจริงให้กับคนพิการ โดยมีผู้ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายการฝึกอบรมรวม 5 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท ดานิลี่ จำกัด จำกัด บริษัท ศรีไทย มิยากาวา จำกัด บริษัท ไทยสมบูรณ์ การทอ จำกัด บริษัท เสถียรอุตสาหกรรม จำกัด และบริษัท มาราธอน (ประเทศไทย) จำกัด

อาจารย์สุเมธ ท่านเจริญ ประธานโครงการ กล่าวว่า การพัฒนาคน พัฒนาความรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมถือเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัย คนพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสม ส่วนผู้ประกอบการได้คนพิการที่สามารถทำงานได้ดี มหาวิทยาลัยมีความตั้งใจที่จะปรับปรุงและพัฒนาโครงการให้ดีขึ้นทุกปี ซึ่งหลักสูตรการฝึกอบรมต่างๆ ได้จัดตามความต้องการของผู้ประกอบการที่ต้องการรับคนพิการเข้าทำงานในส่วนสำนักงาน และการฝึกอาชีพเสริมที่เหมาะสม เช่น การทำขนม ปั้นดินดอกไม้ประดิษฐ์ รวมทั้งมีการฝึกงานจริงในสถานประกอบการ โดยมุ่งที่จะทำให้คนพิการที่ร่วมโครงการมีโอกาสพัฒนาศักยภาพ ใช้ความสามารถ พึ่งพาตนเองได้ และใช้ชีวิตการทำงานได้อย่างปกติร่วมกับสังคมได้อย่างดี ปัจจุบันมีคนพิการที่ผ่านการอบรมจากโครงการปฏิบัติงานที่ มจธ. 6 คน และมีความต้องการเพิ่มจากหน่วยงานในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง

มหาวิทยาลัยต้องการสร้างสังคมการทำงานร่วมกันเพื่อคนพิการในหลายด้าน เช่น โครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการ มีอาจารย์ และพนักงานร่วมเป็นวิทยากรในการฝึกอบรม บูรณาการในวิชาเรียน ด้านการพัฒนาทักษะทางสังคม วัฒนธรรมและการมีส่วนร่วม ด้านการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศ ด้านการพัฒนาทักษะความรู้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้นักศึกษาเข้าใจคนพิการ เป็นโอกาสที่จะทำให้อาจารย์ นักศึกษา สนใจทำงานวิจัยเพื่อคนพิการมากขึ้น มหาวิทยาลัยพร้อมที่จะสนับสนุนทุนวิจัยให้นักศึกษาที่ทำโครงงานเพื่อคนพิการ จัดกิจกรรมการประกวดนวัตกรรมเพื่อคนพิการ ในอนาคตมหาวิทยาลัยมองถึงการสร้างบรรยากาศในการฝึกอบรมที่คนใน มจธ. มีส่วนร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ ที่จะเป็นมากกว่าการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพคนพิการ

นายสาคร สำคัญควร (ป๊อก) อายุ 19 ปี คนจังหวัดบุรีรัมย์ เล่าว่า ประสบอุบัติเหตุเมื่อสองปีก่อนทำให้ต้องตัดแขนทั้งสองข้าง แต่เป็นคนที่อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และคิดว่าความพิการไม่เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตจึงเข้าฝึกอบรมที่โรงเรียนอาชีวะพระมหาไถ่ พัทยา และรู้จักโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการของ มจธ. จากรุ่นพี่ที่เคยเข้าฝึกอบรมและปัจจุบันทำงานอยู่ที่ มจธ. แนะนำให้สมัคร ผมอยากมีประสบการณ์ในการใช้ชีวิต จึงตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการ ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นในการทำงานด้านเอกสารสำนักงานต่างๆ และได้มีโอกาสฝึกงานที่แผนกบุคคล บริษัท ฮงเส็ง การทอ จำกัด มีหน้าที่จัดทำระบบฐานข้อมูลของพนักงาน ทำบัตรพนักงาน ด้วยความที่มีทักษะทางด้านการวาดรูป ทางบริษัทได้โอกาสได้ทดลองฝึกงานในด้านการออกแบบอีกด้วย สิ่งที่ได้รับจากโครงการ คือ ได้เรียนรู้ว่าสังคมในปัจจุบันเปิดโอกาสให้คนพิการมากขึ้น ทำให้เราเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนมุมมองในการใช้ชีวิต มีความมั่นใจในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น

นางสาวขนิษฐา ปานแดง (ขิม) อายุ 19 ปี เคยป่วยด้วยโรคมะเร็งกระดูกทำให้เธอต้องตัดขาสองข้าง กล่าวว่า ได้เข้าฝึกงานที่บริษัท เอสซอม จำกัด ทำหน้าที่ช่วยงานด้านบัญชี ได้ใช้ความรู้ที่ฝึกอบรมจากโครงการมาทำงานได้ดี โดยเฉพาะโปรแกรม Excel โครงการนี้ได้เปิดโอกาสให้ตัวเองได้พิสูจน์ว่าเราจะสามารถทำงานได้หรือไม่ ถ้าเรามีความสามารถผู้ประกอบการจะเห็น และให้โอกาสในการทำงาน จึงอยากชวนคนอื่นๆ ลองมาสมัครเข้าโครงการ

คุณกิ่งแก้ว เนียมศรี หัวหน้างานบริหาร บริษัท เอสซอม จำกัด เล่าว่า บริษัทได้มีโอกาสรับคนพิการมาฝึกงานเป็นครั้งแรก ซึ่งในการทำงานจะพิจารณาลักษณะงานที่คนพิการสามารถทำได้ เช่น จัดเรียงเอกสาร พิมพ์งาน งานด้านบัญชี มีการแนะนำการใช้ชีวิตในการทำงาน เช่น เมื่อทำงานเสร็จควรแจ้งให้หัวหน้างานทราบ แนะนำเรื่องการติดต่อประสานงานทางโทรศัพท์ และการทำงานในด้านอื่นๆ เพื่อให้เค้าเรียนรู้ให้มากที่สุด ซึ่งคนพิการก็สามารถปรับตัวได้ดี พยายามช่วยเหลือตนเอง นอกจากนี้ยังมีการเอาใจใส่ในเรื่องการทำงาน เช่น เมื่อมอบหมายงานแล้ว จะต้องสังเกตว่าเค้ามีปัญหา ติดขัด ไม่เข้าใจในงานหรือไม่ เพื่อให้เค้ามีความรู้สึกมั่นใจ ซึ่งความจริงแล้วคนพิการที่มาฝึกงาน เค้าก็เหมือนคนปกติทั่วไป ที่สามารถใช้ชีวิตได้โดยปกติ เพียงแค่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน เราจึงต้องเปิดโอกาสให้ได้ฝึกฝน ได้เรียนรู้ให้มากๆ สร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำงานของคนพิการ เพื่อให้การทำงานของคนพิการมีประสิทธิภาพให้มากที่สุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง