กรมสุขภาพจิต เผย สังคมไทย ยังเข้าใจ “โรคจิต” คลาดเคลื่อน

จันทร์ ๑๘ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๓๐
นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึง การเรียกบุคคลที่มีพฤติกรรมผิดแปลกแตกต่างจากคนทั่วไป ว่า "โรคจิต"ยังเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่ของหลายคนในสังคม เป็นการใช้เรียกตามความเคยชิน และติดปากมากกว่า ผลของการเรียกเช่นนี้ทำให้เกิดการตีตราผู้ป่วยจิตเวชให้ดูน่าเกลียด น่ากลัว ถูกแปลกแยกมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าถึงบริการบำบัดรักษา ทั้งนี้ ในความเป็นจริง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น "โรคจิต" หรือ"Psychosis" นั้น จะเสียการรับรู้ต่อสภาพความเป็นจริง และมีความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและบุคลิกภาพ บางครั้งรุนแรงจนไม่สามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติเหมือนคนธรรมดาทั่วไป การแสดงออกทางอาการจะแตกต่างกันไป ซึ่งโดยหลักการแพทย์ ผู้ทำการตรวจและรักษาจะพิจารณา ลักษณะอาการของผู้ป่วยจากหลักการ 3 ข้อ เบื้องต้น ได้แก่ 1. ผู้ป่วยมีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ เช่น จากที่เคยเป็นคนคุยน้อยก็คุยมากขึ้น หรือจากคนที่เคยเป็นคนร่าเริงก็เปลี่ยนเป็นอยู่คนเดียวเงียบๆ หรืออารมณ์ร้อนผิดปกติจากเดิม 2. ผู้ป่วยมีการรับรู้ที่ผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ เช่น ผู้ป่วยมักบ่นว่าได้ยินเสียงในหูแว่วๆ เพียงคนเดียว เห็นภาพหลอน หรือมีอาการพูดคนเดียวเพียงลำพังเป็นเรื่องเป็นราว และ 3. ผู้ป่วยไม่สามารถรับรู้อาการป่วยของตนเองใช่หรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการในข้อแรกและข้อที่สองประกอบ โดยคนรอบข้างสามารถรับรู้ได้ ในขณะที่ผู้ป่วยเองไม่สามารถรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ถ้าแพทย์พิจารณาแล้วว่าเข้าข่ายหลักเกณฑ์ใน 3 ข้อนี้ มีปัญหาข้อใดข้อหนึ่ง จึงจะตรวจอย่างละเอียดต่อไป ในบางรายอาจต้องรับการตรวจประเมินทดสอบทางจิตวิทยาจากนักจิตวิทยาที่ชำนาญการ เนื่องจากบางรายอาการแสดงออกไม่ชัดเจน

ด้าน นายแพทย์บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์ ผอ.สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กล่าวเสริมว่า การจะบ่งชี้ว่าบุคคลนั้นๆ ปกติ หรือผิดปกติทางจิตหรือไม่ ควรมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านสุขภาพจิต อาจเป็นแพทย์ที่ชำนาญการด้านนี้ หรือจิตแพทย์ในการตรวจสอบ ร่วมกับการทดสอบสภาพจิต จึงจะสรุปว่าผิดปกติทางจิตหรือไม่ บางรายนั้น หากไม่มีการทำการทดสอบ ก็จะพบว่าอาจมีอาการแสดงออกมาไม่ชัดเจน สำหรับกรณีพบบุคคลมีพฤติกรรมทางเพศผิดปกติหรือสังคมไม่ยอมรับ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ กับ เด็กที่ไม่บรรลุวัยหนุ่มสาว สิ่งของหรือพฤติกรรมการแสดงอนาจาร ชอบโชว์อวัยวะเพศในที่สาธารณะเพื่อสำเร็จความใคร่นั้น จัดเป็นกลุ่มกามวิปริต (Sexual deviation) เป็นความผิดปกติด้านสุขภาพจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่ามีสาเหตุหลากหลาย เช่น พื้นฐานครอบครัวที่อาจเคยเห็นหรือเคยถูกกระทำมาก่อน รวมไปถึงระดับสติปัญญาที่ส่งผลให้เกิดการตัดสินใจได้ไม่ดี ตลอดจนการเข้าถึงสื่อลามกได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม กามวิปริตที่มีผู้ได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะเด็กนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อจิตใจเด็กอย่างมาก ทำให้เกิดความหวาดกลัว นอนไม่หลับ วิตกกังวลและอาจมีอาการซึม เฉย หรือ มีพฤติกรรมก้าวร้าวขึ้นได้ ดังนั้น จึงควรตระหนักและนำเข้าสู่กระบวนการดูแลเพื่อคุ้มครองจิตใจ ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 รวมถึงระมัดระวังห้ามการนำคลิปออกมาเผยแพร่ ที่ถือเป็นการกระทำซ้ำ ตอกย้ำ ประทับตราบาปให้เด็กมากยิ่งขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๙ ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๑๗:๕๑ GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๑๗:๒๗ กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๑๗:๑๔ กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๑๗:๒๕ First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๑๗:๐๒ CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๑๗:๑๑ บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๑๗:๕๒ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๑๗:๐๑ รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๑๗:๔๓ กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว