จากผู้ริเริ่มการกระจายการศึกษาไทยสู่การเปิด “ทุนบุญชู ตรีทอง” เพื่อการเป็น “ผู้ให้” ทางการศึกษาด้วยความหวังเดียวคือเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

จันทร์ ๐๘ มกราคม ๒๐๑๘ ๑๐:๕๓
"ฐานรากการศึกษา ถือเป็นประเด็นสำคัญที่สังคมต่างให้ความสนใจและจับตามองในทุกยุคสมัย เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งในการช่วยส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในประเทศ ให้พร้อมด้วยทักษะความรู้ในการประกอบอาชีพ รวมถึงการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็มีนโยบายในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อให้บุคลากรมีความรู้เท่าทันต่อสถานการณ์ ซึ่งในอดีตจะเห็นได้ว่ามีนโยบายการศึกษา ที่เน้นผู้เรียนเป็นสูญกลาง และล่าสุดกับการปลูกฝังให้มีทักษะความคิดเชิงวิพากษ์ มีพื้นฐานความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถคิดและพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์สังคม ตามกรอบนโยบายไทยแลนด์ 4.0 แต่ทว่ามีหลากหลายความเห็นสะท้อนมาว่า เป้าหมายที่ต้องการกับความเป็นจริงนั้น สวนทางกันโดยสิ้นเชิง ฉะนั้นแล้ว แก่นแท้ของระบบการศึกษาไทยที่ดีและมีคุณภาพ ควรพัฒนาไปในทิศทางไหน และอะไรคือสิ่งที่สังคมต้องการ"

นายบุญชู ตรีทอง อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำปาง กล่าวว่า ในอดีตระบบการศึกษาไทย มหาวิทยาลัยคุณภาพในพื้นที่ภาคเหนือมีเพียง 3 แห่ง และสามารถรองรับนักศึกษาได้ประมาณ 1.2 แสนราย แต่กลับสวนทางกับจำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในพื้นที่ ที่มีจำนวนสูงถึง 1.7 แสนราย ขณะที่มหาวิทยาลัยของรัฐมีอยู่ 23 แห่ง (ไม่นับมหาวิทยาลัยราชภัฎ เนื่องจากขณะนั้นยังไม่ได้เป็นมหาวิทยาลัย) ดังนั้น สถาบันการศึกษาในพื้นที่ จึงจำเป็นต้องอาศัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง ระบบวีดิทัศน์ทางไกล (Video Conference) มาเป็นผู้ช่วยในการจัดการเรียนการสอน ประกอบกับองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และนวัตกรรมต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในแง่มุมต่างๆ ทั้งการมีส่วนช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิพากษ์ (Critical Thinking) การคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่สามารถต่อยอดได้เชิงพาณิชย์ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

ฉะนั้น ขณะที่ยังดำรงตำแหน่ง รมต.ทบวงมหาวิทยาลัย จึงได้เร่งเสนอนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาคุณภาพสู่ภูมิภาคต่อคณะรัฐมนตรี โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่แข็งแกร่งทางวิชาการ 6 มหาวิทยาลัย ขยายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาคจำนวน 36 จังหวัด ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติจำนวนทั้งสิ้น 31 จังหวัด "เพราะการลงทุนกับตัวบุคคลนั้นเป็นสิ่งยั่งยืนยิ่งกว่า เป็นเพราะการกระจายความรู้สู่เมล็ดพันธุ์ที่ในพื้นที่ที่ห่างไกล ย่อมได้ผลผลิตคุณภาพที่ทวีคูณ ตนในฐานะเด็กนักเรียนต่างจังหวัด (แม่ฮ่องสอน) ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ได้รับโอกาสที่ดีด้านการศึกษา จึงทำให้สามารถสอบชิงทุนเข้าศึกษาต่อในกรุงเทพฯ และมีคุณภาพชีวิต รวมถึงหน้าที่การงานที่มั่นคงอย่างในปัจจุบัน"

นายบุญชู กล่าวต่อว่า นับตั้งแต่ปี 2535 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการขยายการศึกษาสู่ภูมิภาค ณ จังหวัดลำปาง ด้วยเล็งเห็นถึงศักยภาพและการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาการศึกษาในเขตภาคเหนือ ซึ่งในระยะแรกได้เปิดสอนในหลักสูตรด้านสังคมศาสตร์ ระดับปริญญาโท ที่ศาลากลาง จังหวัดลำปาง (หลังเดิม) แต่ต่อมา มธ. มีความจำเป็นในการจัดหาพื้นที่ก่อสร้างอาคารเรียนถาวรเพื่อรองรับการเรียนการสอน ตนในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำปางในสมัยนั้น จึงร่วมอนุเคราะห์ที่ดินกว่า 364 ไร่ อีกทั้งบริจาคทุนทรัพย์รวมกว่า 62 ล้านบาท เพื่อจัดสร้างเป็นอาคาร 'สิรินธรารัตน์' อาคารเรียนรวมหลังแรก สำหรับเป็นสำนักงานในการบริหารจัดการ และจัดการเรียนการสอน

แต่ทั้งนี้ ในระยะแรกของการจัดการเรียนการสอนเพียงหลักสูตรสังคมศาสตร์ ตนพิจารณาว่าไม่สามารถกระตุ้นความตื่นตัวของคนในท้องถิ่นได้ อีกทั้งเล็งเห็นถึงความสำคัญของพื้นฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่มีส่วนสนับสนุนให้คนท้องถิ่นมีความรู้ที่เท่าทันเทคโนโลยี ตลอดจนการติดต่อซื้อขายระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT) การสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง (Internet Banking) ที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนในธุรกิจการเงินได้อย่างแนบเนียน ฯลฯ จึงนำไปสู่การขยายหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์ ณ มธ.ศูนย์ลำปาง ผ่านการจัดตั้ง 'คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี' ในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้ เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย ควบคู่ไปกับความสามารถในการผลิตนวัตกรรมตอบโจทย์ท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม

นายบุญชู กล่าว

อย่างไรก็ดี เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เชี่ยวชาญขั้นสูงสุด จึงได้มอบ "ทุนบุญชู ตรีทอง" ทุนสนับสนุนการศึกษาแบบให้เปล่าแก่นักเรียนในพื้นที่ 17 จังหวัด ที่สนใจที่ศึกษาต่อในหลักสูตรดังกล่าว ทันทีเมื่อแรกเข้า และพร้อมสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษา กรณีที่นักศึกษาสามารถรักษามาตรฐานผลการศึกษาได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด นอกจากนี้ ยังสนับสนุนต่อเนื่องหากนักศึกษาสนใจศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสโลกแห่งการเรียนรู้ที่กว้างขึ้น และเก็บเกี่ยวทุกองค์ความรู้ที่ได้กลับมาต่อยอดและพัฒนาประเทศในแง่มุมต่างๆ ตลอดจนสามารถกระจายความรู้สู่บุคคลอื่นได้อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ได้ให้การส่งเสริมบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญการศึกษาขั้นสูงสุด จำนวนรวมทั้งสิ้น 23 คน นายบุญชู กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับผู้สนใจสามารถตรวจสอบคุณสมบัติและสมัครออนไลน์ได้ที่ www.reg.tu.ac.th ในรอบโควต้าพื้นที่ ระหว่างวันที่ 15-31 มกราคม 2561 และรอบแอดมิชชั่นกลาง ระหว่างวันที่ 6-10 มิถุนายน 2560 สอบถามเพิ่มเติม ฝ่ายรับเข้าศึกษา 02-564-4441-79 ต่อ 1634-1638 เว็บไซต์ www.lampang.tu.ac.th, www.tuadmissions.in.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง