ฟูจิ ซีร็อกซ์ จับมือร่วมกับ ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ให้บริการศูนย์พิมพ์งานภายในองค์กรแบบครบวงจร ก้าวสู่งานพิมพ์ยุคดิจิทัล

พฤหัส ๐๘ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๒:๒๓
ฟูจิ ซีร็อกซ์ เปิดเผยได้รับความร่วมมือจากม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในการก่อตั้งศูนย์พิมพ์งานภายในองค์กรเพื่อให้บริการด้านการจัดการเอกสารครบวงจรในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการนำเทคโนโลยีการพิมพ์แบบดิจิทัลของฟูจิ ซีร็อกซ์ มาช่วยในการสนับสนุนการทำงานต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อบริหารงานพิมพ์ทุกประเภทของ ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงประโยชน์สูงสุด และก้าวไปสู่การพิมพ์ในยุคดิจิทัล

นายกิติกร นงค์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจบริการเอาท์ซอร์ส บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงความเป็นมาของความร่วมมือครั้งนี้ว่าทางบริษัทฯ ได้เข้าไปนำเสนอการให้บริการเครื่องถ่ายเอกสารและบริการ Print Room แบบครบวงจรกับทาง ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งมีการระดมความคิดเห็นทั้งปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการลดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ และความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์พิมพ์งานภายในองค์กรร่วมกัน และมีการเจรจามาได้ระยะหนึ่งประกอบกับวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของท่านอธิการบดี ที่ต้องการมีศูนย์พิมพ์งาน สำหรับการบริหารงานพิมพ์ต่าง ๆ ที่เป็นการลดค่าใช้จ่าย โดยมองว่าศูนย์พิมพ์งานที่จะจัดตั้งขึ้น ต้องสามารถตอบโจทย์ช่วยอำนวยความสะดวกในการพิมพ์เอกสารได้ในราคาที่เหมาะสม ประหยัดเวลาในการดำเนินการ มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการได้ และไม่จำเป็นต้องส่งงานพิมพ์ไปที่โรงพิมพ์ข้างนอก

อย่างไรก็ตามการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว ในขั้นตอนการดำเนินงานพบว่าต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง โดยเฉพาะปริมาณงานพิมพ์เพื่อประเมินการลงทุน ซึ่งในส่วนนี้ทางฟูจิ ซีร็อกซ์ได้เข้าไปช่วยทำ assessment ในการสำรวจปริมาณงาน เพื่อลงเครื่องพิมพ์ให้เหมาะสมกับปริมาณงาน ประเภทของงานพิมพ์ ขณะเดียวกันทางมหาวิทยาลัยได้มีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาประกอบด้วยหลายหน่วยงานเข้ามาร่วมพิจารณาในรายละเอียดโครงการ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของมหาวิทยาลัยมากที่สุด ทั้งประสิทธิภาพ ประสิทธิผลที่จะกลับคืนสู่มหาวิทยาลัย และเมื่อโครงการได้รับการอนุมัติจากทั้งคณะทำงานและท่านอธิการบดี จึงได้มีการจัดตั้งเป็นศูนย์พิมพ์งานภายในองค์กรเพื่อให้บริการจัดการเอกสารแบบครบวงจรเป็นผลสำเร็จในที่สุด

ทั้งนี้การให้บริการศูนย์พิมพ์งานภายในองค์กร ประกอบด้วยการให้บริการพิมพ์เอกสารภายในองค์กรมหาวิทยาลัย อาทิ เอกสารการประชุมต่าง ๆ ตำราเรียนแบบดิจิทัล รวมถึงการเข้าเล่ม บัณฑิตวิทยานิพนธ์ วารสารภายในองค์กร รวมถึงงานพิมพ์ที่ต้องการการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ข้อสอบ และงานพิมพ์ทั้งหมดที่เป็นงานพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัลสี/ขาวดำ โดยทางฟูจิ ซีร็อกซ์ ได้ดำเนินการในการติดตั้งเครื่องพิมพ์ รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญสำหรับให้บริการลูกค้า และลูกค้าสามารถกำหนดระยะเวลาที่ต้องการรับงานได้

ในโครงการนี้ทางฟูจิ ซีร็อกซ์ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ทั้งการมีส่วนร่วม ในการเสนอแนะ การจัดรูปแบบที่เหมาะสมกับความต้องการ รวมทั้งการให้ข้อมูล เพื่อช่วยตอบสนองกับเงื่อนไขที่ทางมหาวิทยาลัยต้องการ นั่นคือสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการพิมพ์งานต่าง ๆ เพื่อให้ศูนย์ฯ แห่งนี้เป็นศูนย์กลางในการจัดพิมพ์ โดยทางศูนย์ฯ จะจัดทำรายงานยอดพิมพ์ รวมทั้งสรุปค่าใช้จ่ายให้กับทางมหาวิทยาลัยได้รับทราบ ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยยังได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาอีก 1 ชุด เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงานพิมพ์ร่วมกับคณะทำงานของฟูจิ ซีร็อกซ์ อีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๔ ยันม่าร์ ประกาศอย่างเป็นทางการในการสนับสนุนสมาคมฟุตบอลอาเซียน
๑๗:๑๔ รู้ใจชวนทำความรู้จักเทเลเมติกส์ เทคโนโลยีลดอุบัติเหตุ ขับเคลื่อนท้องถนนปลอดภัย
๑๗:๐๙ The Food School Bangkok ผนึก 2 พันธมิตรยักษ์ใหญ่ มอบทุนกว่า 1.5 ล้านบาท เปิดตัว Future Chef of the World 2025
๑๗:๓๔ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง ทำงานอย่างไรให้มีความสุข
๑๗:๑๗ JGAB 2025 เปิดเวที The Next Gem Awards 2025 เฟ้นหาดีไซน์เนอร์เครื่องประดับรุ่นใหม่
๑๖:๐๙ ผถห. LEO ไฟเขียวปันผล 0.14 บาท/หุ้น รับทรัพย์ 14 พ.ค.นี้ เดินหน้ายุทธศาสตร์ LEO Go Green - รุกขยายธุรกิจใหม่ ดันกำไรขั้นต้นโตต่อเนื่อง
๑๖:๕๗ เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ เปิดตัวโซลูชันคลังสินค้าและโลจิสติกส์อัจฉริยะ ยกระดับการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB)
๑๖:๔๖ กระทรวง อว. โดย สวทช. - กรมควบคุมโรค กระทรวง สธ. ผนึกกำลังใช้ระบบ DDC-Care Platform เทคโนโลยีรับมือโรคระบาดข้ามพรมแดน
๑๖:๕๙ สจล. ร่วมมือมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการอย่างยั่งยืน
๑๖:๓๕ KOAN ในเครือ CPW บุกตลาด Smart Home เปิดตัวนวัตกรรมบ้านอัจฉริยะในงานสถาปนิก'68 ภายใต้แนวคิด Touch And